ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 3: ข้อคิดจากบอร์ดเกม

 

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ

“The measure of intelligence is the ability to change” – Albert Einstein

ผมชอบเล่นหมากรุกมาตั้งแต่เด็กๆ ครับ มีความเซ็งที่เกิดกับผมเป็นประจำคือหมากรุกไทยจะโดนมองว่าเป็นของเล่นวินมอไซด์ ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นกีฬาด้วยซ้ำไป

ที่หนักคือผมเคยโดนอาจารย์ท่านนึงบอกว่าหมากรุกเป็นกีฬาชั้นต่ำ …

อันนี้ก็ว่าอาจารย์ท่านไม่ได้นะ เพราะบ้านเราคงมองหมากรุกแบบนี้จริงๆ ผมก็เกิดสงสัยว่า ทำไมหมากกระดานต่างประเทศถึงได้เป็นที่ยอมรับในของคนในประเทศเค้า เช่นว่า นักเล่นหมากรุกสากลจะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่สุดยอดเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ หรือว่าที่ญี่ปุ่นเกมหมากล้อมถูกมองไปเป็นถึงขึ้นปรัชญาการใช้ชีวิต ปรัชญาการทำธุรกิจ

มันน่าสนใจนะครับ ที่ทำไมคนไทยเราไม่ได้มอง หมากรุกไทยในแง่ปรัชญาการใช้ชีวิตบ้าง ทั้งๆ ที่มันไม่ได้แตกต่างกันเลย

ผมเชื่อว่าหมากกระดานในไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะขาด Value Added ในแง่ปรัชญาหรือในแง่ภาพลักษณ์นี่ล่ะครับ

จนกระทั่งผมได้มาเล่นหมากรุกอย่างจริงๆ จังๆ ได้รู้จักได้เป็นศิษย์ของเซียนหมากรุกไทย ซึ่งก็คือ อ. ไพศาล (เซียนบัง) เจ้าของฉายาจอมยุทธ์พันรูป ซึ่งผมเรียกท่านว่า ”จารย์บัง” ครับ สิ่งที่จารย์บังสอนผม ไม่ได้สอนแค่วิธีเล่นหมากรุก แต่สอนกระทั่งแนวคิด วิธีการใช้ชีวิต มุมมองชีวิตจากหมากรุก

(ปล. ผมไม่ได้ติดต่อจารย์บังหลังจากผมไปทำงานต่างประเทศ ทีนี้พอผมแข่งจนได้แชมป์คาทาน (The Settlers of Catan)  และ กำลังจะไปชิงแชมป์โลก ผมก็พยายามติดต่ออาจารย์อีกครั้งแต่พบว่าอาจารย์เปลี่ยนเบอร์มือถือไปละ ก็น่าเสียดายครับ ผมอยากจะไปรายงานความสำเร็จให้อาจารย์ท่านทราบ อยากจะบอกท่านว่า ผมได้แชมป์ประเทศไทยเพราะแนวคิดที่อาจารย์ทุ่มเทสอนผมเมื่อหลายสิบปีก่อน)

แนวคิดหนึ่งที่ผมปรับเอามาใช้ถึงทุกวันนี้ ผมเรียกมันว่า “สูตรเดียวสู้โลก” ….

คือว่า หมากรุกมันซับซ้อน หลากหลาย และ พลิกแพลง ทางหนึ่งที่เราจะช่วยให้เราเล่นหมากรุกได้ดีคือ มีหลักการที่ชัดเจนที่เรายึดถือไว้ ไม่ว่าใครจะมาอย่างไรเราก็ยึดหลักนี้ไว้แล้วเอามารับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลง

อันนี้จะว่าไปก็คล้ายๆ กับ เคล็ดวิชา “เก้ากระบี่เดียวดาย” ในกระบี่เย้ยยุทธจักร 555

หลักการนี้ผมก็ลองปรับเอามาใช้กับการเรียน จากเด็กเรียนงั้นๆ มาเป็นได้ 4 ทุกวิชาและเอ็นท์ติดวิศวฯ จุฬาฯ แล้วก็ยังใช้หลักการนี้มาปรับใช้ในการเรียนวิศวฯ จนถึงการทำงานเป็นวิศวกรทุกวันนี้

คือ ผมจะไม่เป็นคนที่จำทุกอย่าง แต่ชอบที่จะเสียเวลามาหาหลักการใจความของเรื่องที่กำลังทำ แล้วยึดมันไว้เป็นแก่น พอมีเรื่องราวปัญหาอะไรเกิดขึ้น เราก็ไม่ต้องไปสนใจในความซับซ้อนสับสน และหันมาดูที่หลักการ แล้วหาวิธีแก้ไขปรับปรุงให้ตรงจุด

ฟังดูง่ายใช่มั้ยครับ แต่ผมกลับเห็นว่า หลายๆ คนลืมประเด็นนี้ไป เวลาทำงานจริงๆ แต่จะว่าไปแล้วสิ่งที่สำคัญมากที่ผมได้มาจากจารย์บัง ไม่ใช่แค่แนวคิดจากหมากรุก แต่คือ การสร้างแนวคิดให้ตัวเอง เราสามารถจะหาข้อคิดและมุมมองได้จากสิ่งที่เราเข้าไปทำ

แต่ก็แปลกนะครับเพราะมันได้กลายเป็นนิสัยของผมไปแล้ว กับการเก็บเรื่องต่างๆ ที่ทำมาเป็นข้อคิดส่วนตัว ซึ่งปรกติก็ไม่พูดให้ใครฟังหรอกครับ ผมชอบเก็บมันเงียบๆ ไว้ในใจ อย่างมากก็เล่าแลกเปลี่ยนให้คุณภรรยาฟัง

จนไม่นานมานี้ เมื่อผมมาได้เล่นเกมคาทาน (The Settlers of Catan) ครับ …แนวคิดมุมมองมันพรั่งพรูออกมา แต่ละเกมที่ผมเล่น เหมือนผมได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลาและได้ข้อคิดอะไรออกมาเรื่อยๆ ซึ่งมันแปลกและมันน่าสนใจมากครับ

แนวคิดที่สำคัญมากที่ผมได้จากการเล่นคาทานคือ Flexibility คือ ผมพึ่งมาตระหนักว่าการวางแผนที่ชัดเจนนั้นคือการวางแผนที่มี Flexibility

คือพอผมโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ผมเริ่มเข้าใจว่าจริงๆ แล้วชีวิตเรามันไม่ Solid แต่มัน Dynamic มันมีหลายๆ อย่างที่เราไม่รู้ เราไม่เห็น เราคาดเดาไม่ได้ ดังนั้นเราต้องวางแผนให้ชัดเจนมากพอแต่ก็ต้องยืดหยุ่นมากพอเช่นกัน …

ถามว่า เท่าไรถึงจะเรียกว่าพอดี อันนี้มันเป็นศิลปะแล้วครับ มันบอกเป็นสูตรสำเร็จไม่ได้ … ถ้าอยากจะฝึกตรงนี้ แนะนำให้เล่นคาทานเลยครับ เกมนี้จะฝึกให้คุณได้หัดการวางแผนแบบมี Flexibility ได้อย่างถึงกึ๋น 😀

แนะนำบอร์ดเกม ผมเคยทำคลิปสอนเล่นเกมคาทานไว้ ลองเข้าไปดูได้ครับ เพื่อจะได้ไอเดียว่าเกมนี้มันเป็นยังไง ทำไมมันถึงได้เป็นเกมที่ดีและโด่งดัง

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: