Lord of the Rings (Board Game) … พระบิดาแห่งเกม Co-Op

ทุกวันนี้เกมแนว Co-Op พบเห็นได้ทั่วไป แต่เกมที่ถือได้ว่าจุดกระแสแนวเกม Co-Op ให้เป็นที่นิยมคือ เกม Lord of the Rings ที่ออกแบบโดย Reiner Knizia เกมนี้ได้ Spiel des Jahres รางวัลพิเศษ best use of literature in a game ปี 2004 เลยนะ เกมนี้จะเรียกว่า พระบิดาแห่งเกม Co-Op ก็ได้ เพราะ เกมนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเกม Pandemic หรือ Shadow Over Camelot ที่โด่งดังในยุคถัดมา กติกาคร่าว ๆ ทีมเราจะเล่นเป็น Hobbit ช่วยกันเอาแหวนไปทิ้ง ขณะเดียวกันก็จะมีเซารอนมาไล่จับเรา ฉากต่าง ๆ ในเกมจะเหมือนในนิยาย ทีมชนะเมื่อทิ้งแหวนได้ ทีมแพ้ถ้าโดนเซารอนจับหมด เกมนี้ mechanic เด่นมากตามสไตล์Continue reading “Lord of the Rings (Board Game) … พระบิดาแห่งเกม Co-Op”

King of Siam

เป็นอีกเกมนึงที่ผมเปิดประมูลช่วย COVID-19 ไปซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่พอผมรู้จักปุ๊ป ก็ตั้งเป้าว่าจะต้องหาซื้อมาให้ได้ แล้วพอเล่นก็ยิ่งชอบ ไม่ได้ชอบกลไกเกมนะ แต่ชอบการเล่าเรื่องของเกมก็ไม่ใช่เกมที่เล่าได้ดีที่สุด แต่เป็นเกมแรกที่ทำให้ผมได้เข้าใจเรื่องการเล่าเรื่องผ่านเกม … คืองี้ ที่มาของเกมนี้คือ มีฝรั่งคนนึงมาทำงานในไทย แล้วสงสัยว่าทำไมไทยถึงไม่เสียเอกราชให้ตะวันตก เค้าเลยพยายามทำเกมจำลองสถานการณ์ตอนนั้นขึ้นมา ให้ผู้เล่นเป็นคนไทย ที่จะพยายามตีกันเองแย่งดินแดน แต่ถ้าไม่มีคนชนะก็จะเสียดินแดนให้อังกฤษ เสียดินแดนมากๆเข้าก็โดนยึดประเทศ … อารมณ์ก็ ตีกันไปแต่ไม่ให้เสียเอกราช ถามว่าสนุกมั้ย ก็สนุกดี แต่ไม่สุด …ประมาณว่าไพ่จำกัด ทำให้เล่นแล้วผลัดแพ้ผลัดชนะ ตามดินแดนต่างๆ จนผมได้มาค้นเจอแนวคิดตอนออกแบบ คืองี้ ฝรั่งคนนี้จากการศึกษาของเค้า เค้าได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า ที่คนไทยรอดมาได้นี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิสัยของคนไทย โดยเฉพาะคำว่า “ไม่เป็นไร” นี่คือแก่นของแนวคิดคนไทย ที่ทำให้ยอมเสียดินแดนบ้างก็ได้ “ไม่เป็นไร” แต่ฝรั่งไม่รู้จักคำว่า “ไม่เป็นไร” เขาเลยพยายามทำเกมที่จะสอนฝรั่งเรื่องคำว่า “ไม่เป็นไร” ทำอย่างไรให้คนเล่นรู้สึกว่า ชนะหมดไม่ได้หรอก ต้องมีแพ้บ้าง “มันไม่เป็นไร” คือมันว้าวมาก … คือแบบว่าพอได้เข้าใจการออกแบบเกมทั้งหมดของเค้า และ เข้าใจเรื่องที่เขาอยากจะสื่อแล้ว พบว่า เกมมันโอเค เมกเซ้นต์มากขึ้นเลย ก็เลยชอบเกมนี้เป็นพิเศษContinue reading “King of Siam”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 3: ข้อคิดจากบอร์ดเกม

  เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “The measure of intelligence is the ability to change” – Albert Einstein ผมชอบเล่นหมากรุกมาตั้งแต่เด็กๆ ครับ มีความเซ็งที่เกิดกับผมเป็นประจำคือหมากรุกไทยจะโดนมองว่าเป็นของเล่นวินมอไซด์ ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นกีฬาด้วยซ้ำไป ที่หนักคือผมเคยโดนอาจารย์ท่านนึงบอกว่าหมากรุกเป็นกีฬาชั้นต่ำ … อันนี้ก็ว่าอาจารย์ท่านไม่ได้นะ เพราะบ้านเราคงมองหมากรุกแบบนี้จริงๆ ผมก็เกิดสงสัยว่า ทำไมหมากกระดานต่างประเทศถึงได้เป็นที่ยอมรับในของคนในประเทศเค้า เช่นว่า นักเล่นหมากรุกสากลจะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่สุดยอดเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ หรือว่าที่ญี่ปุ่นเกมหมากล้อมถูกมองไปเป็นถึงขึ้นปรัชญาการใช้ชีวิต ปรัชญาการทำธุรกิจ มันน่าสนใจนะครับ ที่ทำไมคนไทยเราไม่ได้มอง หมากรุกไทยในแง่ปรัชญาการใช้ชีวิตบ้าง ทั้งๆ ที่มันไม่ได้แตกต่างกันเลย ผมเชื่อว่าหมากกระดานในไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะขาด Value Added ในแง่ปรัชญาหรือในแง่ภาพลักษณ์นี่ล่ะครับ จนกระทั่งผมได้มาเล่นหมากรุกอย่างจริงๆ จังๆ ได้รู้จักได้เป็นศิษย์ของเซียนหมากรุกไทย ซึ่งก็คือ อ. ไพศาล (เซียนบัง) เจ้าของฉายาจอมยุทธ์พันรูป ซึ่งผมเรียกท่านว่า ”จารย์บัง” ครับ สิ่งที่จารย์บังสอนผม ไม่ได้สอนแค่วิธีเล่นหมากรุก แต่สอนกระทั่งแนวคิด วิธีการใช้ชีวิต มุมมองชีวิตจากหมากรุก (ปล. ผมไม่ได้ติดต่อจารย์บังหลังจากผมไปทำงานต่างประเทศ ทีนี้พอผมแข่งจนได้แชมป์คาทาน (The SettlersContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 3: ข้อคิดจากบอร์ดเกม”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 2: โรคกลัวแพ้

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “The goal is to win, but it is the goal that is important, not the winning.” Reiner Knizia (Famous Board Game Designer) ตอนที่ 2 แล้วนะครับ เกี่ยวกับ ข้อคิดที่ได้จากการเล่นบอร์ดเกม ความน่าสนใจอย่างหนึ่งของบอร์ดเกมนะครับ คือ มันคล้ายกับหมากรุก แต่เป็นหมากรุกที่มี Theme มีเรื่องราวสนุกสนาน และ ไม่เครียดเท่าหมากรุก แต่พอมันคล้ายหมากรุก มันก็จะมีภาพว่ามันเป็น Brain Game ที่คนเล่นเก่งจะดูเป็นคนฉลาด และมันก็ทำให้เกิดมุมมองผิด ๆ ว่า คนที่เล่นแพ้คือคนโง่ หลาย ๆ คนที่เล่นบอร์ดเกมเลยมีโรคอย่างหนึ่งครับ ผมเรียกว่า “โรคกลัวแพ้” โรคกลัวแพ้นี้มักจะเกิดกับคนที่เริ่มหัดเล่นใหม่ ๆ ครับ บางคนกลัวแพ้จนทะเลาะกับเพื่อนจนร้องไห้ไปเลยก็มีContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 2: โรคกลัวแพ้”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 1: บอร์ดเกม คืออะไร?

“บางที เราควรหยุดคิด เพื่อมาคิดว่า ตอนนี้เราควรจะคิดอะไร” ผมว่า บางทีเราก็ต้องหยุดคิดบ้างนะ เพื่อหันมาทบทวนดูว่า ตอนนี้เราควรคิดอะไรกันแน่ หลาย ๆ ครั้งผมเจอว่า สิ่งที่เราควรคิดไม่ใช่สิ่งที่เรากำลังคิด ประโยคนี้มันผุดขึ้นมาในหัวผม ตอนที่ผมกำลังนั่งเล่นบอร์ดเกมที่ชื่อว่า Caylus ครับ (http://boardgamegeek.com/boardgame/18602/caylus) แต่ว่า Caylus คืออะไร … Caylus คือหนึ่งในบอร์ดเกมยุคใหม่ ถ้าให้เทียบก็เหมือนกับเกมเศรษฐีที่เราคุ้น ๆ กันน่ะครับ แต่มันพัฒนาไปไกลกว่ามากครับ บอร์ดเกมยุคใหม่คืออะไร? บอร์ดเกมยุคใหม่เป็นที่นิยมในยุโรปครับ โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน จนมีคำเรียกบอร์ดเกมประเภทนี้ว่า German-style Board Game เกมเหล่านี้จะไม่มีผู้เล่นถูกกำจัดออกจากเกม ไม่มีใครต้องนั่งเบื่อรอเกมจบ เป็นเกมที่ต้องใช้ทักษะการวางแผนมากกว่าใช้ดวง ที่สำคัญคือจะเล่นให้ฮาหรือจริงจังก็ได้ในเวลาเดียวกัน! คุณ “สฤณี อาชวานันทกุล” เคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดเกมยุคใหม่ไว้ครับ ชื่อว่า “ลาก่อนเกมเศรษฐี” ลงนิตยสารสารคดี http://www.sarakadee.com/2011/09/29/goodbye-monopoly/ คุณสฤณี ได้สรุปข้อดีของบอร์ดเกมไว้อย่างเข้าใจง่ายและเห็นภาพมาก ๆ ผมถือว่าเป็นบทความที่ดีที่สุดบทความหนึ่งของไทยเกี่ยวกับบอร์ดเกมเลย ผมคงไม่มีปัญญาไปบรรรยายได้เทียบเท่าคุณสฤณีหรอกครับ ดังนั้น เชิญเข้าไปอ่านเลยครับผม 😀 ผมมาเจอกับบอร์ดเกมนี้ได้อย่างไร?Continue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 1: บอร์ดเกม คืออะไร?”

Game Theory ในการเล่นบอร์ดเกม

Game Theory เป็นคอนเซปที่โด่งดังที่ทุกคนคงรู้จักนะครับ บอร์ดเกมที่พวกเราเล่นๆกัน ก็มันจะมีหลักการของ Game Theory แทรกอยู่เสมอๆ ทำให้ผู้เล่นให้สับสนเล่นว่าควรจะตัดสินใจวางแผนยังไงดี ที่เราจะเจอบ่อยคือ Prisoner’s dilemma ครับ เช่นในเกม Carcassonne ที่เวลาเรากับเพื่อนกำลังร่วมกันสร้าง City ถ้า 2 คนช่วยกันจั่วและก็แบ่งๆแต้มกันไป แต่ถ้าเราวาง Meeple เพิ่มเพื่อเอา Majority โดยกะจะเอาแต้มคนเดียว (Take All) ซึ่งก็มีความเสี่ยงว่า เพื่อนจะไม่ช่วยเรา เราต้องลุ้นจั่ว tile คนเดียว แถมอาจจะเพื่อนโดนกันจนปิดเมืองไม่ลง และ ตัว Meeple เราจะไม่ได้กลับขึ้นมือ ซื่งถือว่าสาหัสมาก ดังนั้น การตัดสินใจที่ฉลาดอาจจะเป็นร่วมมือกัน (แต่ก็นั่นหล่ะครับ หลายๆครั้งกระทั่งตัวผมเองก็เลือกที่จะ Take All แล้วก็เจ๊งไป) หรือกรณีที่สนุกมากคือการร่วมมือและหักหลังกันครับ เช่นในเวลาเล่นเกม 3 คน ปรกติถ้า 3 คนฝีมือพอๆกัน โอกาสชนะของแต่ละคนก็ 1/3 แต่ถ้ามีสองคนจับมือกันรุมอีกคนContinue reading “Game Theory ในการเล่นบอร์ดเกม”