Book Review: i never metaphor i didn’t like

i never metaphor i didn’t like หนังสือว่าด้วยคำเปรียบเปรย อุปมาอุปมัยต่างๆ (สำนวนฝรั่งนะ) อ่านเพลินมาก สนุกดีหนังสือเริ่มจากสอนก่อนว่าคำเปรียบเปรยนี่มีไว้เพื่อทำให้ช่วยเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น แถมยังกระชับและสละสลวย หากเลือกการเปรียบเปรยดีๆ ซึ่งการเปรียบเปรยนี้มี 3 ลักษณะคือ 1 Analogy คือการเปรียบเทียบ ว่า 2 สิ่งที่ไม่เหมือนกัน มีอะไรที่เทียบเคียงกันได้ มักใช้ใช้เพื่อบรรยาย เช่น “Reading is to the mind, what exercise is to the body” หรือ “As soap is to the body, tears are to the soul.” โครงสร้างก็ A is to B as CContinue reading “Book Review: i never metaphor i didn’t like”

เทคนิคพื้นฐาน Gamification

#Gamification ตอนที่15 เกมมิฟิเคชั่นคือ การเอาเทคนิคของเกมมาปรับใช้ แต่ถ้าอ่านบทความที่ผมเขียนย้อนหลัง มันจะดูอ้อมๆไม่เข้าเทคนิคซักที คืออยากจะให้เข้าใจภาพรวมกันก่อน แต่คิดไปคิดมาเข้าประเด็นเลยก็ดี แล้วรายละเอียดย่อยๆ ค่อยทยอยเขียนเสริม เช่นพวก Reward คืออะไร มีกี่แบบ หรือ ผู้เล่นแบ่งได้กี่แบบ คนเวลาเล่นเกมมีกี่นิสัย เป็นต้น เพราะถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็จะรู้ว่าควรใช้เทคนิคไหนเมื่อไหร่ดี เทคนิคของเกมมิฟิเคชั่นนี่ ถ้าเอาหลักๆ มันคือการเอาเทคนิคการ Feedback ของเกมมาใช้ครับ Feedback คืออะไร มันคือการบอกผู้เล่นว่าที่เพิ่งทำไปมันดีหรือไม่ดีอย่างไร ผู้เล่นอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น เพื่อจูงใจให้ผู้เล่นอยากทำต่อ Feedback ไม่ใช่การให้รางวัลนะ แต่คือการทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ และ ยังเป็นบอกผู้เล่นด้วยว่า พฤติกรรมให้เราส่งเสริม เทคนิคพื้นฐานของเกมมิฟิเคชั่นเรียกสั้นว่าๆ PBL ย่อมากจาก Point, Badge and Leader Board Point (แต้ม) จริงๆแล้ว Point ไม่ได้มีไว้แข่งกัน แต่มีไว้บอกว่า พฤติกรรมของผู้เล่นมีค่าเท่าไหร่ คนออกแบบเกมให้ค่ากับพฤติกรรมนั้นแค่ไหน นั่นคือ Point จะทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ครับ เราอยากให้ผู้เล่นทำอะไรContinue reading “เทคนิคพื้นฐาน Gamification”

Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer

#Gamification ตอนที่14 อย่างที่ทุกท่านคงทราบกับอยู่แล้วว่าเกมมิฟิเคชั่น คือการเอาเทคนิค หรือ แนวคิดของเกม มาปรับใช้ในงานอื่นที่ไม่ใช่เกม ซึ่งถ้าจะให้พูดอีกอย่าง เกมมิฟิเคชั่นก็คือการคิดแบบนักออกแบบเกม (Game Designer) นั่นเองครับ แล้วการคิดแบบ Game Designer คืออะไร? แน่นอนมันเป็น mindset ไม่ใช่หมายความว่าคุณต้องเคยเป็นนักออกแบบเกม จริงๆ มากก่อน และ การคิดแบบนี้นักออกแบบเกม มันต่างจากการคิดของการเป็นนักเล่นเกม (Gamer) จะว่าไปก็เหมือนๆกับ Design Thinking ครับ ที่เราไม่จำเป็นต้องเคยเป็นนักออกแบบ เราก็สามารถเอาแนวคิดไปปรับใช้ได้ แล้วมุมมองแบบนักออกแบบเกมคืออะไร มันก็มีหลักๆอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆคือ ทำอย่างไรให้คนอยากเล่นเกมของเรา? และ ทำอย่างไรให้คนเล่นเกมเราอย่างต่อเนื่อง? อันนี้ก็เป็นเหมือนกันทั้งการออกแบบเกมต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่บอร์ดเกม นั่นคือ พอเราจะเริ่มลองคิดแบบนักออกแบบเกม สิ่งแรกที่เราจะต้องคิดคือ มองคนที่เข้าร่วมกิจกรรมของเรา เป็น “Player” คิดว่าคนที่มาเข้าร่วมเป็นผู้เล่นเกม ที่เราบังคับไม่ได้ แต่เราต้องจูงใจให้เค้าอยากมาเล่น และ ทำให้เค้าอยากเล่นอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องให้ Autonomy กับผู้เล่น ให้อิสระให้การเลือกContinue reading “Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer”