รางวัลมีกี่ประเภท?

#Gamification ตอนที่17 ในการเล่นเกมต่างๆ และ ในเกมมิฟิเคช่ัน สิ่งนึงที่สำคัญมากคือ การให้รางวัล เพราะรางวัลนี้ถือว่าเป็น Motivator ที่ดีอย่างนึง ซึ่งโดยปรกติเราจะคิดถึงรางวัลที่เป็นสิ่งของ หรือ เงิน แต่ว่าจริงๆแล้วรางวับที่คนชอบมีมากกว่านั้นครับ จากหนังสือ Gamification by Design ได้บอกว่า รางวัลนี้มี 4 อย่างเลยทีเดียวครับ เรียกย่อๆว่า SAPS Status (สถานะ) สถานะคือสิ่งแสดงความแตกต่างกันของเรากับคนอื่น ซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อตำแหน่ง ยศ หรือ ฉายาบางอย่างก็ได้ Access (การเข้าถึง) คือการให้สิทธิ์ผู้เล่นเข้าถึงอะไรบางอย่างที่พิเศษกว่าคนอื่น ประมาณว่าคนอื่นเข้าไม่ได้ ตัวอย่างนึงคือคือ เลาจ์ของสายการบินต่างๆ ที่คนจะเข้าได้ต้องเป็นสมาชิกก่อน แถมเข้าไปแล้วยังมีห้องสำหรับคนที่ถือบัตรพิเศษแยกเข้าไปอีก หรือ กระทั่งการมีแถว check in พิเศษไม่ต้องไปต่อแถวยาวๆ กับลูกค้าทั่วไป Power (อำนาจ) คือการให้อำนาจเพิ่มเติมแก่ผู้เล่น ต้องยอมรับครับ ว่าคนเรานี่ชอบที่จะได้รับอำนาจเหนือคนอื่น ตัวอย่างเช่นในระบบเว็บบอร์ดสมัยก่อน ที่พอใครมีอันดับสูงๆ ก็จะสามารถเข้าไปแก้ไขโพสต์ของคนอื่นได้ Stuff (สิ่งของ)Continue reading “รางวัลมีกี่ประเภท?”

Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse

#Gamification ตอนที่16 ช่วงนี้มีแอฟใหม่กำลังดัง คือ Clubhouse ที่ทุกท่านคงรู้จักกันดีแล้ว ที่นี้พอผมได้เล่นแล้วก็พบว่าสนุกกว่าที่คิด แต่ว่า สิ่งนึงที่ผมรู้สึกว่า Clubhouse ทำออกมาได้ดีมากคือ การสร้างความรู้สึก “อยาก” เล่น ไม่ว่าทำให้คนที่ไม่เคยเล่นได้อยากเล่น หรือ ทำให้รู้สึกอยากกลับเข้ามาเล่นซ้ำอีก ก็พบว่ามันมีหลักการของ Gamification ซ่อนอยู่ ซึ่งตัวเด่นๆที่พบเห็นก็ตามนี้ครับ Access & Power ขอเท้าความก่อน ว่าการให้รางวัลในเกมนั้นจริงแล้วไม่มีแต่การให้สิ่งของ แต่ว่าจริงแล้วมีถึง 4 รูปแบบ เรียกว่า SAPS ย่อมาจาก Status (สถานะ), Access (การเข้าถึง), Power (อำนาจ) and Stuff (สิ่งของ) ซึ่ง SAPS นี้บางคนก็เรียกว่า framework of motivators ที่เป็น 4 สิ่งหลักที่จูงใจคนได้ สิ่งนี้แปลว่าอะไร แปลแบบง่ายๆได้ว่า จริงแล้วคนเราไม่ได้อยากได้สิ่งของเสมอไป การได้เข้าถึง (Access)Continue reading “Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse”

เทคนิคพื้นฐาน Gamification

#Gamification ตอนที่15 เกมมิฟิเคชั่นคือ การเอาเทคนิคของเกมมาปรับใช้ แต่ถ้าอ่านบทความที่ผมเขียนย้อนหลัง มันจะดูอ้อมๆไม่เข้าเทคนิคซักที คืออยากจะให้เข้าใจภาพรวมกันก่อน แต่คิดไปคิดมาเข้าประเด็นเลยก็ดี แล้วรายละเอียดย่อยๆ ค่อยทยอยเขียนเสริม เช่นพวก Reward คืออะไร มีกี่แบบ หรือ ผู้เล่นแบ่งได้กี่แบบ คนเวลาเล่นเกมมีกี่นิสัย เป็นต้น เพราะถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็จะรู้ว่าควรใช้เทคนิคไหนเมื่อไหร่ดี เทคนิคของเกมมิฟิเคชั่นนี่ ถ้าเอาหลักๆ มันคือการเอาเทคนิคการ Feedback ของเกมมาใช้ครับ Feedback คืออะไร มันคือการบอกผู้เล่นว่าที่เพิ่งทำไปมันดีหรือไม่ดีอย่างไร ผู้เล่นอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น เพื่อจูงใจให้ผู้เล่นอยากทำต่อ Feedback ไม่ใช่การให้รางวัลนะ แต่คือการทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ และ ยังเป็นบอกผู้เล่นด้วยว่า พฤติกรรมให้เราส่งเสริม เทคนิคพื้นฐานของเกมมิฟิเคชั่นเรียกสั้นว่าๆ PBL ย่อมากจาก Point, Badge and Leader Board Point (แต้ม) จริงๆแล้ว Point ไม่ได้มีไว้แข่งกัน แต่มีไว้บอกว่า พฤติกรรมของผู้เล่นมีค่าเท่าไหร่ คนออกแบบเกมให้ค่ากับพฤติกรรมนั้นแค่ไหน นั่นคือ Point จะทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ครับ เราอยากให้ผู้เล่นทำอะไรContinue reading “เทคนิคพื้นฐาน Gamification”

Action Loop ในการออกแบบ Gamification

#Gamification ตอนที่13 เวลาเล่นเกม เคยสังเกตกันมั้ยครับว่า จริงๆแล้วเราทำ Action ซ้ำๆ วนไปเป็นรอบๆไม่รู้จบ ตัวอย่างง่ายๆคือเกม Pac Man ที่แต่ละด่านเราจะต้องไล่กินจุด วิ่งหนีผี แต่ถ้ากินจุดอันใหญ่ๆได้ เราจะได้เป็นฝ่ายไล่กินผี และ ผีจะหนีเรา เล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะกินเม็ดเล็กๆหมด หรือเราโดนผีกินจนตายหมดทุกชีวิต เป็นแบบนี้ทุกเกมครับ ทุกเกมมี Action ที่เป็น Loop หมด ซึ่งเค้าเรียกกว่า Core Gameplay Loop ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกม หรือบอร์ดเกม ซึ่ง Loop นี้เมื่อได้เล่นซ้ำๆ เกมก็จะเพิ่มความท้าทาย ซับซ้อนขึ้น แต่ Core Gameplay Loop ก็ยังเหมือนเดิม ถามว่า Core Gameplay Loop นี้สำคัญอย่างไรในการออกแบบเกม? ความสำคัญเพราะ นอกจากไว้ออกแบบผู้เล่นต้องทำอะไรบ้างแล้ว ยังไว้ช่วยให้นักออกแบบได้ประเมินว่า Action ตรงไหนของเกมที่ยังไม่สนุก จะได้หาทางปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือก เพิ่มการตัดสินใจContinue reading “Action Loop ในการออกแบบ Gamification”

3 ปัจจัยที่ทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ

#Gamification ตอนที่12 ไปเจอคลิป YouTube มาอันนึงครับ น่าสนใจดีเกี่ยวกับการวิจัยเรื่อง Gamification คือได้มีนักวิจัย พยายามศึกษาว่า การใช้ Gamification เมื่อเทียบกับวิธีปรกติ นี่จะให้ผลต่างกันมั้ย ผลคือจากงานวิจัยหลายสิบชิ้นพบว่า มีทั้งที่ช่วยให้ได้ผลดีขึ้น แต่ก็มีบางงานวิจัยบอกว่ากลางๆไม่ช่วย และ บางงานบอกให้ผลแย่ลง นั้นทำให้นักวิจัยได้กลับมาทบทวน ว่าจริงๆแล้วอาจจะตั้งคำถามผิด เลยตั้งคำถามใหม่ว่า “อะไรคือปัจจัยที่ช่วยทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ” ซึ่งเขาได้พบว่ามี 3 ข้อ … ดังนี้ 1) System Quality – ระบบต้องทำออกมาให้เสถียร ดึงดูดและเหมาะสมกับคนเล่น เช่น ถ้าผู้เล่นเป็นวิศวกร ระบบมันก็ต้องแตกต่างจาก ระบบที่มีผู้เล่นเป็นศิลปิน 2) Learner Attributes – คือ ผู้เล่นหรือนักเรียนคนไหนมีประสบการณ์การเล่นเกมมาก่อนหรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็จะทำให้ Gamification มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) Embedding Gamification into the rightContinue reading “3 ปัจจัยที่ทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ”

ประโยชน์ที่แท้จริงของ Gamification

#Gamification ตอนที่11 เวลาพูดถึงประโยชน์เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) นั้น ปรกติเราจะมองกันว่า ก็เพื่อความสนุก หรือ เพื่อจูงใจให้คนอยากมาทำกิจกรรมของเรา ไม่ว่าจะมาสนุกกับการอบรมเรียนรู้ หรือ ในการทำงานบางอย่าง แต่จริงแล้วอยากจะบอกว่า ความสนุก นี้ไม่ใช่เจตนาหลักของการใช้เกมมิฟิเคชั่นครับ เพราะถ้าเราอยากให้กิจกรรมเราสนุก หรือ น่าสนใจ เราอาจใช้วิธีอื่นได้อีกมากมาย เช่น จ้างดารามาร่วมโปรโมทกิจกรรม ทำประชาสัมพันธ์ จัดอีเวนท์พิเศษ หรือกระทั่งแจกรางวัลผู้เข้าร่วม นอกจากถ้าเราได้ถามตัวเองย้อนขึ้นไปอีกขั้นว่า ถ้ากิจกรรมมันดีอยู่แล้ว ทำไมเราต้องใส่เทคนิคของเกม (Gamify) เข้าไปเพื่อสร้างความสนุกด้วย ดังนั้นเราต้องตอบตัวเองและเข้าใจก่อนว่า เกมมิฟิเคชั่นต่างจากวิธีอื่นตรงไหน เกมมิฟิเคชั่นช่วยด้านไหนกันแน่ และ เมื่อไหร่เราถึงควรจะใช้เกมมิฟิเคชั่น ………………………………… เกมมิฟิเคชั่น ดียังไงกันแน่? จุดเด่นของการออกแบบเกมต่างๆ คือ จิตวิทยาของการจูงใจให้คนเต็มใจมาเล่น (เพราะ เราไม่สามารถบังคับให้คนมาเล่นเกมเราได้) เล่นแล้วรู้สึกติด รู้สึกหงุดหงิดเวลาไม่ได้เล่น อยากกลับมาเล่นซ้ำๆ จนกระทั่งยอมเสียเงินและเสียเวลาเพื่อเล่นเกมเรา แปลง่ายๆคือ เกมสามารถจูงใจให้เราเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างได้ครับ เช่น เต็มใจยอมเสียเงินเติมเกม เต็มใจกลับมาเล่นเกมซ้ำๆ เต็มใจที่จะกลับเข้าในเกม เพื่อรูดนิ้วบนจอไปมาเป็นร้อยๆพันๆรอบContinue reading “ประโยชน์ที่แท้จริงของ Gamification”

ตัวอย่าง Gamificaion: Microsoft

#Gamification ตอนที่10 มาดูตัวอย่างของเกมมิฟิเคชั่นที่ช่วยให้งานที่น่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำ กลายเป็นงานที่สนุก แถมคนร่วมแรงร่วมใจกันได้ครับ ตัวอย่างนี้มาจาก Micorsoft ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างดังเวลาพูดถึงเกมมิฟิเคชั่น ทุกท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Microsoft มี Software ที่มีคนใช้กันทั่วโลก ซึ่งทาง Microsoft ก็ได้จ้างนักแปลมืออาชีพ คอยแปลภาษาอังกฤษให้เป็นทุกภาษาในโลกซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ทีนี้ความยากอยู่ตรงที่ ต่อให้แปลดียังไง มันก็ยากมากที่จะทำให้ภาษาออกมาอ่านแล้วลื่นหูเหมือนเจ้าของภาษา ทาง Microsoft เลยตัดสินใจแก้ปัญหานี้ด้วยการ จัดกิจกรรมขื้นมาเรียกว่า Languge Quality Game โดยให้พนักงาน Microsoft เข้าไปช่วยกันรีวิวภาษาของตัวเอง เช่น คนไทย ก็ช่วยกันเข้าไปรีวิวภาษาไทย ถ้าเจอจุดไหนบกพร่องก็แค่เขียนคำแนะส่งไป ถ้าโอเคก็กดผ่าน กติกาง่ายมาก … แต่ใครมันจะอยากไปเข้าร่วม เพราะลำพังแค่งานประจำก็ยุ่งพอแล้ว สิ่งที่พิเศษของโครงการนี้ที่ทำให้สนุกคือ เค้าได้จัดแข่งเป็นให้เป็นระดับประเทศ โดยพนักงานแต่ละคนจะเหมือนเป็นตัวแทนชาติตัวเอง ที่ต้องช่วยกันทำแต้มให้อันดับของประเทศตัวเองมีคะแนนสูงๆ ไม่สนว่าจะจริงๆแล้วตัวเองจะทำงานอยู่ประเทศไหน นั่นคือ พนักงานคนไทยทั่วโลก จะช่วยกันรีวิวภาษาไทย เพื่อทำแต้มให้ประเทศตัวเอง ทีนี้ก็สนุกเลย พนักงานเข้าร่วมเยอะมาก ชนิดที่ว่า Microsoft ญี่ปุ่นประกาศหยุดงาน 1Continue reading “ตัวอย่าง Gamificaion: Microsoft”

Gamification: องค์ประกอบของเกม

#Gamification ตอนที่9 การจะเข้าใจเรื่องหลักการใช้ของ เกมมิฟิเคชั่น ต้องยอมรับว่าเราคงต้องมาทำความใจเรื่องเกมกันด้วย ก็ไม่ต้องเข้าใจลึกมากถึงขั้นการออกแบบเกม แต่ก็ควรที่จะต้องรู้องค์ประกอบของเกมไว้บ้าง ทั้งนี้เพราะ เรากำลังจะเอาความเป็นเกมไปปรับใช้ในสิ่งที่ไม่ใช่เกม จริง ๆ เรื่ององค์ประกอบของเกม ก็มีหลายตำรา แต่ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวก็ จากหนังสือ Reality is Broken ของ Jane McGonigal ได้ให้ข้อสรุปไว้น่าสนใจว่าเกมต้องมีอยู่ 4 อย่างคือ Goal (เป้าหมาย) คือสิ่งรวบยอดทั้งหมดของเกมที่ทำให้ผู้เล่นรู้ตัวว่าต้องทำอะไร ซึ่งโดยปกติเป้าหมายของเกมจะหมายถึงวิธีการได้รับชัยชนะ อย่างเช่นเกมมาริโอ้ที่เป้าหมายคือ ชนะเกมด้วยไปช่วยเจ้าหญิงให้ได้ในด่านสุดท้าย Rules (กติกา) คือสิ่งที่ทำให้ผู้เล่นรู้ว่า สามารถทำอะไรได้บ้าง และ ไม่สามารถทำอะไรได้ เช่น มาริโอ้ที่ เราสามารถกระโดดได้ วิ่งได้ แต่จะตายถ้าตกเหว หรือ ชน monster รวมถึงกินเห็ดแล้วตัวใหญ่ กินดอกไม้ไห้แล้วจะยิงลูกไฟได้ นอกจากนี้ยังมีกติกาอื่นๆ เช่น ต้องรีบจบแต่ละด่านให้ได้ก่อนเวลาหมด เป็นต้น Feedback system (การแสดงตอบสนองต่อการกระทำของผู้เล่น) ในทุกเกมจะมีการสื่อสารกับผู้เล่นว่าสิ่งที่เพิ่งทำไปนั้นดี ไม่ดีContinue reading “Gamification: องค์ประกอบของเกม”

ตัวอย่างGamification: Deloitte

#Gamification ตอนที่8 มาฟังตัวอย่างเกมมิฟิเคชั่นของผู้ใหญ่กันบ้าง คราวนี้เอาแบบคนแก่เลย เป็นตัวอย่างจากบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Deloitte ครับ ที่ไปที่มาคือ Deloitte ได้สร้างระบบการอบรมออนไลน์ ขึ้นมาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยตั้งชื่อว่า Leadership Academy แต่มีปัญหาที่ผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ไม่ค่อยว่างมาเรียน เอาเข้าจริงผู้บริหารไม่ค่อยจะอยากมาเข้าเรียนด้วยซ้ำไป ซึ่งก็เข้าใจได้นะ เพราะท่านผู้บริหารนี่ต้องยุ่งมากกก ซึ่ง ทำให้ใช้เวลานานกว่าผู้บริหารจะอบรมแต่ละหัวข้อเสร็จ สิ่งที่ Deloitte ได้ทำคือ ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำอบรมใหม่! โดยให้หน้า Profile ส่วนตัวมีความเป็นเกมมิฟิเคชั่น เช่น มีการให้แต้มเรียนเสร็จ มี Progress Bar บอกว่าอบรมไปถึงไหนแล้ว มีการทำตารางจัดอันดับเปรียบเทียบระหว่างผู้บริหารว่าใครกำลังนำอยู่ ได้รับผลตอบรับดีมากครับ คือ สามารถลดเวลาการเรียนลง 50% แถมเวลาการเข้าใช้เว็บไซต์ต่อวันของผู้บริหารยังเพิ่มขึ้นถึง 46.6% ด้วย บริษัท Deloitte เป็นตัวอย่างที่ดีของการประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบเดิมจากที่เคยน่าเบื่อ ให้เป็นสนุกขึ้น จูงใจให้คนอยากทำมากขึ้น และที่สำคัญ ไม่ได้บังคับเลย การไม่บังคับ แต่จูงใจให้อยากทำด้วยเทคนิคของเกมนี่หล่ะครับ แก่นของ Gamification

ตัวอย่างGamification: Pain Squad

#Gamification ตอนที่7 คุยเรื่อง เกมมิฟิเคชั่นกันมาหลายตอน มาดูตัวอย่างกันบ้าง ตัวอย่างที่ดังมากอันนึงก็คือ App มือถือชื่อ Pain Squad Pain Squad คือ App ที่ออกแบบโดยทีมนักวิจัยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองโตรอนโต App นี้ออกแบบมาสำหรับให้เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็นมะเร็งได้จดบันทึกอาการป่วยของตนเอง เทียบกับวิธีแบบดั้งเดิมที่ให้เด็ก ๆ ต้องคอยบันทึกอาการลงบนกระดาษ ตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน … ซึ่งก็แน่นอน แบบเก่านี้เด็กก็จดบ้างไม่จดบ้าง แต่ความเจ๋งของ Pain Squad นี้คือ การสร้างเรื่องราวให้เด็ก ๆ ด้วย ว่าได้เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวน คดี ซึ่งผู้ร้ายคือความเจ็บปวดของเด็ก ๆ นั่นเอง สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องทำคือช่วยกันจับผู้ร้าย (อาการเจ็บป่วยของตนเอง) ลงบน App ตามเวลาที่กำหนด นอกจากสวมบทบาทแล้ว App ยังทำออกมาเป็นเรื่องราวให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุก และ อยากติดตาม เท่านั้นไม่พอเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว เด็ก ๆContinue reading “ตัวอย่างGamification: Pain Squad”