ตัวอย่างGamification: Deloitte

#Gamification ตอนที่8 มาฟังตัวอย่างเกมมิฟิเคชั่นของผู้ใหญ่กันบ้าง คราวนี้เอาแบบคนแก่เลย เป็นตัวอย่างจากบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Deloitte ครับ ที่ไปที่มาคือ Deloitte ได้สร้างระบบการอบรมออนไลน์ ขึ้นมาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยตั้งชื่อว่า Leadership Academy แต่มีปัญหาที่ผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ไม่ค่อยว่างมาเรียน เอาเข้าจริงผู้บริหารไม่ค่อยจะอยากมาเข้าเรียนด้วยซ้ำไป ซึ่งก็เข้าใจได้นะ เพราะท่านผู้บริหารนี่ต้องยุ่งมากกก ซึ่ง ทำให้ใช้เวลานานกว่าผู้บริหารจะอบรมแต่ละหัวข้อเสร็จ สิ่งที่ Deloitte ได้ทำคือ ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำอบรมใหม่! โดยให้หน้า Profile ส่วนตัวมีความเป็นเกมมิฟิเคชั่น เช่น มีการให้แต้มเรียนเสร็จ มี Progress Bar บอกว่าอบรมไปถึงไหนแล้ว มีการทำตารางจัดอันดับเปรียบเทียบระหว่างผู้บริหารว่าใครกำลังนำอยู่ ได้รับผลตอบรับดีมากครับ คือ สามารถลดเวลาการเรียนลง 50% แถมเวลาการเข้าใช้เว็บไซต์ต่อวันของผู้บริหารยังเพิ่มขึ้นถึง 46.6% ด้วย บริษัท Deloitte เป็นตัวอย่างที่ดีของการประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบเดิมจากที่เคยน่าเบื่อ ให้เป็นสนุกขึ้น จูงใจให้คนอยากทำมากขึ้น และที่สำคัญ ไม่ได้บังคับเลย การไม่บังคับ แต่จูงใจให้อยากทำด้วยเทคนิคของเกมนี่หล่ะครับ แก่นของ Gamification

ตัวอย่างGamification: Pain Squad

#Gamification ตอนที่7 คุยเรื่อง เกมมิฟิเคชั่นกันมาหลายตอน มาดูตัวอย่างกันบ้าง ตัวอย่างที่ดังมากอันนึงก็คือ App มือถือชื่อ Pain Squad Pain Squad คือ App ที่ออกแบบโดยทีมนักวิจัยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองโตรอนโต App นี้ออกแบบมาสำหรับให้เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็นมะเร็งได้จดบันทึกอาการป่วยของตนเอง เทียบกับวิธีแบบดั้งเดิมที่ให้เด็ก ๆ ต้องคอยบันทึกอาการลงบนกระดาษ ตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน … ซึ่งก็แน่นอน แบบเก่านี้เด็กก็จดบ้างไม่จดบ้าง แต่ความเจ๋งของ Pain Squad นี้คือ การสร้างเรื่องราวให้เด็ก ๆ ด้วย ว่าได้เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวน คดี ซึ่งผู้ร้ายคือความเจ็บปวดของเด็ก ๆ นั่นเอง สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องทำคือช่วยกันจับผู้ร้าย (อาการเจ็บป่วยของตนเอง) ลงบน App ตามเวลาที่กำหนด นอกจากสวมบทบาทแล้ว App ยังทำออกมาเป็นเรื่องราวให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุก และ อยากติดตาม เท่านั้นไม่พอเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว เด็ก ๆContinue reading “ตัวอย่างGamification: Pain Squad”

Gamification: เกมมิฟิเคชั่นต่างจากการเล่นเกมอย่างไร

#Gamification ตอนที่6 เรื่อง Gamification นี้ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนได้ว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็น Gamification ก็มีรูปนึงครับ ที่อธิบายความแตกต่างของ Gamification กับสิ่งต่างๆได้ดี รูปนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ช่อง โดยแกนตั้ง คือ “Gaming” กับ “Playing” หลัก ๆ คือ เกมจะมีกติกา มีเป้าหมาย แต่การเล่นคือการเน้นที่ความสนุก ไม่ได้มีกติกาตายตัว จะเป็น Free Play ซะกว่า และ แกนนอนคือ การแบ่งว่ามีองค์ประกอบเพียงบางส่วน หรือทั้งหมด มุมซ้ายบน คือ ในทุกองค์ประกอบคือเกม สิ่งนี้ได้แก่เกมทั่วไปที่เราเล่นนั่นเองครับ เช่น เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ บอร์ดเกม เพราะมันคือเกมทั้งหมดไม่มีสิ่งอื่นเจือปน อันนี้ตรงไปตรงมา ในขณะที่มุมซ้ายล่าง คือ การเล่นในทุกองค์ประกอบ สิ่งนี้จะเรียกว่าของเล่นครับ เช่นหุ่นยนต์ เลโก้ เป็นต้น นี้ก็ตรงไปตรงมาเช่นกัน เกมมิฟิเคชั่นของเราจะอยู่ในช่องขวาบน เพราะคือการปรับเอาความเป็นเกมมาเป็นองค์ประกอบบางส่วนที่ไม่ใช่เกม ในขณะที่ช่องขวาล่างซึ่งคือการเอาContinue reading “Gamification: เกมมิฟิเคชั่นต่างจากการเล่นเกมอย่างไร”

ผลโพลตลาดบอร์ดเกมหลังCovid … “เตรียมตัวรอรับการซึมยาว!” …

วันก่อนผมได้ทำโพลง่ายๆ เรื่องตลาดบอร์ดเกมหลังเปิดเมืองจาก Covidมีหลายท่านเมตตาเข้ามาทำโพล รวมทั้งหมด 65 ท่าน ผลก็ออกมาตามนี้ครับตอนแรกจะทำ infographic ให้แหล่มๆ แต่ไปๆมาๆ ได้แค่นี้หล่ะครับ กราบขออภัย 1) ข้อมูลส่วนตัว … 1.1 จากผลพบว่า ท่านที่มีมาทำโพลเกือบทั้งหมด จะเป็นคนในวัย 22-45 ก็ประมาณว่าวัยเริ่มตั้งตัว จนถึงเกือบๆจะวัยกลางคน ซึ่งเป็นวัยที่เป็นกำลังซื้อหลักของวงการบอร์ดเกม และ ส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมเปิดเผยว่าชอบผลไม้อะไร 555 2) ตลาดบอร์ดเกมหลังเปิดเมือง 2.1 การซื้อเกม – ครึ่งนึงบอกว่า คงกลับมาซื้อเหมือนเดิม แต่ว่า 45% บอกว่า คงจะซื้อน้อยเกมลง หลักๆก็เพราะเศรษฐกิจไม่ดี 2.2 การไปร้านเกม – ครึ่งก็บอกว่า คงกลับไปร้านเกมเหมือนเดิม แต่ว่า 1/3 บอกว่า เปิดเมืองแล้วก็ยังไม่ไป รอดูสถานการณ์ Covid ต่ออีกซักพัก แปลว่าโดยรวมเปิดเมืองแล้วร้านเกมคงยังไม่กลับมาคึกคักได้เร็วนัก 2.3 การซื้อบอร์ดเกมออนไลน์ – เหมือนเดิม!Continue reading “ผลโพลตลาดบอร์ดเกมหลังCovid … “เตรียมตัวรอรับการซึมยาว!” …”

Gamification: เกมแปลว่าอะไร? ตอนที่ 2

#Gamification ตอนที่5 อีกนิยามนึงของเกมที่ผมชอบครับ Game is a series of interesting choices โดย Sid Meier นักออกแบบเกม Civilization ชื่อดัง เรื่องคำว่า Choice นี่ก็คุยกันได้ยาวนะครับว่า interesting หรือ meaningful choice แปลว่าอะไร เกมมันสนุกก็เพราะ การมี Interesting Choice อย่างต่อเนื่องนี่ล่ะครับ กลับมาดูเรื่องงานในแต่ละวันของเราบ้างเต็มไปด้วย Assignment ที่เรียงรายอย่างต่อเนื่อง มีน้อยที่เราได้เลือกงานทำเอง มันเป็นธรรมชาติของคนเรานะครับ ที่ต้องการได้เลือก ได้กำหนดเอง (Autonomy) การได้เลือกว่าเย็นนี้จะกินอะไรระหว่างกระเพราหมู กับ กระเพราไก่คนมักจะรู้สึกดีกว่า ถูกบังคับให้กิน ราดหน้า Autonomy เป็น 1 ใน 3 ตัวหลักของ Intrinsic Motivationไว้วันหลังมาเล่าให้ฟังต่อว่าคืออะไร และ จ๊าบยังไง ปล. เพิ่งรู้ว่าวิธีทำ GifContinue reading “Gamification: เกมแปลว่าอะไร? ตอนที่ 2”

Gamification: เกมแปลว่าอะไร?

#Gamification ตอนที่4 เชื่อมั้ยครับว่า จริงๆเกมเนี่ยไม่ได้มีนิยามที่ชัดเจน แบบว่าได้มีนักคิดหลายคนได้พยายามให้คำอธิบายไว้ก็มีดีๆหลายอันนะครับ แต่อันนึงที่ส่วนตัวผมชอบมาก เพราะสื่ออะไรหลายๆอย่างได้ดีคือ นิยามของ Bernard Suits ที่ว่า “the voluntary attempt to overcome unnecessary obstacles”. แปลประมาณว่า ความเต็มใจที่จะพยายามเอาชนะอุปสรรคที่ไม่จำเป็น คือชอบนิยามนี้มาก เพราะ ถ้าเราสังเกตดูให้ดี จะเห็นว่าจริงๆแล้วแต่ละเกมเนี่ยล้วนแล้วแต่มีความท้าทาย มีอุปสรรค ให้เราเอาชนะทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นต้องผ่านด่านต่างๆ สะสมแต้ม เก็บทรัพยากร ซึ่งไอ้ความยากลำบากทั้งหลายในเกมเนี่ย …ไม่จำเป็นอะไรกับชีวิตเราเลย แต่ที่เด็ดกว่าคือ พวกเรากับเต็มใจที่จะทำ (Voluntary attempt) 555ประเด็นเต็มใจทำนี่สำคัญนะครับ ว่าอะไรคือสิ่งที่จูงใจให้คน ”เต็มใจทำ” คือมันเป็นหลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในเกม ที่เรียกกันว่า Engagement Element ไม่ใช่แค่ Fun นะ แต่มันระดับ Engagement เลย ประมาณว่า ทำให้บางคนตื่นเช้ามา สิ่งแรกที่ทำคือหยิบมือถือขึ้นมาเล่นเกมได้ก่อนแปรงฟัน แถมยังยอมเติมเงินเข้าไปในเกมด้วย Gamificaiton ก็เหมือนกันครับแก่นของมันคือ ทำให้คนContinue reading “Gamification: เกมแปลว่าอะไร?”

Book Review: Key Management Models, 3rd Edition

เล่ม 16 /2020 ดีนะ ดีมาก แต่ไม่ต้องอ่านก็ได้ 555 คือเป็นหนังสือรวม framework ดีๆเยอะมาก เอาไว้ใช้ได้เลย บอกตั้งแต่ ภาพใหญ่ การเอาไปใช้ ข้อพึงระวัง เนื้อหาครบถ้วนมาก … แต่ …ถ้าไม่สนใจตรงนี้ก็ไม่ต้องอ่านก็ด้ายยย คือผมทำงานด้าน Strategy Planning ไง เลยสนใจตรงนี้ อ่านเอาหลักคิด แล้วเก็บไว้เป็น Handbook จริงหนังสือก็ยังไม่อัพเดทมากนะ เช่น ยังไม่มี OKR ไรงี้ จริงๆไอ้พวก Framework เหล่านี้ถ้าใช้เป็นแล้วดีมากนะ แล้วหนังสือเล่มนี้ก็ลงลึกมากไม่ได้ อย่างเช่น SWOT เนี่ย ดูเป็นของง่ายๆ แต่ถ้าเข้าใจแล้วจะว้าวมาก เวลาเอา SWOT ไปทำ TOWS สรุป หนังสือดี แต่ไม่ต้องอ่านก็ได้ 55

Book Review: Million Dollar Habits

เล่มที่ 15 /2020 งั้นๆ ไม่ต้องอ่านก็ได้ คือ เค้ารวม Habits ดีๆที่น่าสนใจไว้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ Million Dollar หรอก ตั้งชื่อ เก๋ๆไปอย่างนั้นเอง เนื้อหาเหมือนเขียน Blog ซะมากกว่าหนังสือ ส่วนใหญ่จะเป็นแนว Positive Thinking กฏแรงดึงดูด ส่วนนึงที่ไม่ชอบ สิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้Meditation – เป็นนิสัยดีที่น่าฝึกฝน ข้อนี้ส่วนตัวสนใจมากนะ กะว่าปีนี้จะทำให้เป็นนิสัยใหม่ หลังจากปีที่แล้วยพยายามฝึกให้ตัวเองอ่านหนังสือได้ทุกวัน เขียน Page ทุกวัน … คือตอนนี้รู้สึกว่า อ่านหนังสือ กับ เขียน page ได้ทุกวันแบบ effortless แล้ว อีกอย่าง ตอนนี้ตะวันตกสนใจเรื่องการทำสมาธิมาก ส่วนตัวเชื่อว่า หลัง Covid นี่ เราอาจเห็นฝรั่งมานั่งสมาธิกันเยอะขึ้น เพราะ เชื่อว่าหลายคนพอได้อยู่กับตัวเองนานๆ มันจะคิดอะไรบางอย่างได้ ผมเชื่อนะว่า พวกเราที่ WFH กันนานๆContinue reading “Book Review: Million Dollar Habits”

Book Review: Think Like a Game Designer

เล่ม 14 /2020 ดีมาก ดีสุดๆ แนะนำให้อ่าน สำหรับใครที่สนใจการออกแบบเกม ไม่ว่าจะเป็นบอร์ดเกมหรือเกมใดๆ คือส่วนตัวผมศึกษาแนวทางการออกแบบเกมมาพอสมควร ซึ่งแต่ละเล่มที่อ่านมาก็จะดีต่างกันไป แต่พบว่าเล่มนี้เขียนได้ครบ กระชับ ตัวอย่างดีมาก ทุกไอเดียที่สอนในเล่มนี้ครบถ้วนมาก บอกได้เลยว่าคนแต่งเป็นนักออกแบบเกมที่เข้าใจหลักจิตวิทยาและหลักคิดของเกมอย่างแท้จริง หนังสือไม่ยาว แค่ 200 กว่าหน้า แต่เป็น 200 กว่าหน้าที่เนื้อๆ เน้นๆ ไม่มีน้ำ สิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้ 1. A game designer uses the interaction fo players and rules to create an experience of the audience ชอบแนวคิดที่ว่าเกมคือการเล่าเรื่อง เราเหมือนคนงาน ที่ทำงานใน feeling factory 2. จะออกแบบเกมต้อง เล่นเกมให้เยอะ ดูคนเล่นเกมให้เยอะ และ สังเกต “Emotion” ของคนเล่นระหว่างเกมContinue reading “Book Review: Think Like a Game Designer”

Book Review: Magic Square

เล่ม 13 /2020 หนังสือสอนทริกสนุกๆเกี่ยวกับตัวเลขคือให้เพื่อนบอกเลขอะไรมาก็ได้ แล้วเราจะวาดตารางซึ่งสามารถบวกได้เลขที่เพื่อนบอก … ซึ่งเลขสามารถบวกได้หลายมุมมาก บวกยังไงก็ได้ดูตัวอย่างในรูปละกัน เข้าใจง่ายกว่า ในรูป เราจะเขียนให้เลขบวกได้ 35 ซึ่งทริกนี้ ใช้ได้กับเลข 2 หลักอะไรก็ได้ก็ขำๆ สนุกๆ เอาไว้หลอกเด็กในบ้าน ยาม work from home ครับ