ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 8: การออกแบบบอร์ดเกม

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “A good game will stay with us all our lives. A good game makes us long to play it again.”  หลังจากกลับจากแข่งคาทานชิงแชมป์โลก มีหลายโปรเจคเกี่ยวกับบอร์ดเกมวิ่งเข้ามาหาผมแบบชนิดตั้งตัวไม่ทันเลยครับ ซึ่งก็สนุกมากครับที่ได้ไปมีส่วนร่วมกับโปรเจคต่างๆ และขอขอบคุณทุกๆท่านที่เมตตาผมนะครับ มีโปรเจคหนึ่งที่ผมสนุกกับมันมากเลยครับ สนุกมากจนทำให้ผมหยุดรีวิวบอร์ดเกมมาพักหนึ่งแล้ว นั่นคือ โปรเจค”ออกแบบบอร์ดเกม” ครับ ว่ากันตามจริง ผมก็นั่งๆคิดบอร์ดเกมมาหลายเกมแล้วครับ แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไรมากมาย คิดไปเรื่อยๆแล้วจดเก็บไว้ จนกระทั่งมีเพื่อนที่รู้จักกัน มาชวนว่า สนใจจะออกแบบบอร์ดเกมเพื่อสอนธรรมะเด็กๆมั๊ย โดยที่ว่าเกมจะให้อิงจากหนังสือของพระสังฆราชองค์ที่แล้ว ที่ชื่อ “จิตตนคร” ครับ ผมนี่ตอบรับทันทีแบบไม่ต้องคิดเลยครับ ตอนนี้คิดเกมมาได้หลายส่วนแล้วครับ ไอเดียหลั่งไหลมากๆ จะว่าไปก็ไม่ได้คิดอะไรใหม่หมดหรอกครับ คือ มันเหมือนกับว่า ไอ้ที่เราเคยนั่งคิดเล่นๆมาหลายปี ซึ่งก็ไม่ได้ประติดประต่อเป็นเรื่องเดียวกัน อยู่ๆมันก็มาร่วมร่างเป็นเรื่องเดียวกันได้เฉยเลย โดยที่มีธีมหนังสือจิตตนครมาเป็นตัวเชื่อมครับ ถามว่าความยากของการคิดบอร์ดเกมคืออะไร หลักๆก็ ทำยังไงให้มันสนุกครับContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 8: การออกแบบบอร์ดเกม”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 7: เกมยอดเยี่ยมแห่งปี

  เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ ในวงการบอร์ดเกมโลก เค้ามีการแจกรางวัลเกมยอดเยี่ยมแห่งปีครับ เรียกว่า Spiel des Jahres (ภาษาเยอรมัน แปลว่า Game of the Year) รางวัลนี้เค้าจะแจกทุกปีครับ เริ่มแจกกันมาสามสิบกว่าปีแล้ว! ตั้งแต่ปี 1979 รางวัลนี้เทียบได้กับ ออสการ์ของวงการเกมเลยครับ ชนิดที่เค้ามีการประเมินเลยว่า เกมที่ได้รางวัลนี้ ยอดขายเกมจะเพิ่มเป็น 300,000 -500,000 ชุดเลยทีเดียว โดยมาก เกมที่ได้รับรางวัล Spiel des Jahres นี้จะเป็นเกมประเภท Family Game คือเล่นได้ทั้งครอบครัว สนุกสนานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ง่ายเกินไป และ ไม่ยากจนเกินไป ตัวอย่างเกมดังๆในบ้านเราที่ชนะรางวัลนี้ก็เช่น the Settlers of Catan และ Ticket to Ride เป็นต้น ซึ่งปีล่าสุด (2014) ที่ผ่านมานี้ เกมที่พึ่งชนะไปก็คือเกม Camel Up! ครับ แต่จะว่าไปรางวัลนี้ บางปี ถ้ามีเกมอื่นที่เด็ดๆ เค้าก็จะให้รางวัลพิเศษออกมาครับ เช่น เกม Agricola ที่ในปี 2008 ได้รางวัลพิเศษ Complex game ทีนี้ พอมีการให้รางวัลเกมยอดเยี่ยมแห่งปีที่เน้นเกมสำหรับครอบครัวไปแล้ว ต่อมาในปี 1990 เค้าก็มีการแจกรางวัลเพิ่มขึ้นอีกรางวัลครับ ชื่อ Deutscher Spiele Preis รางวัลนี้จะเน้นให้รางวัลกับเกมประเภท Game for Gamer แปลง่ายๆก็คือเกมที่เล่นยากๆContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 7: เกมยอดเยี่ยมแห่งปี”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 6: บอร์ดเกมแฟร์ที่เยอรมัน

    เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “Playing Board game is like reading a book. You are not only enjoying, but you also always learn something” หลังจากที่ผมได้ไปแข่งขันเกม Catan ชิงแชมป์โลกที่เบอร์ลิน โชคดีมากครับที่อาทิตย์ถัดมาเยอรมันเค้าจัดงานบอร์ดเกมแฟร์ ( Spiel Essen 2014) พอดีที่เมือง Essen งานนี้ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเยอรมันครับ แต่จริงๆแล้วถ้าจะบอกว่างานนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็ไม่ผิด เพราะเยอรมันถือได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งบอร์ดเกม ในงานนี้ค่ายเกมใหญ่ๆของโลกต่างเปิดตัวเกมใหม่ๆ มีนักออกแบบเกมมาแจกลายเซ็น มีการออกโปรโมชั่นต่างๆ และ ที่น่าสนใจคือ ในงานนี้ ค่ายเกมต่างๆจะเปิดโต๊ะให้คนมานั่งเล่นเกมฟรีครับ มองไปทางไหนก็มีแต่คนนั่งเล่นเกม แบบว่าบรรยากาศสนุกสนานเสียงดังมาก ครึกครึ้นสุดๆ และอีกอย่างคือ ในงานนื้ถือเป็นโอกาสดีที่บริษัทในวงการเกมจะได้มาพบปะสนทนาธุรกิจกัน  และแน่นอนครับผมไมได้ไปคุยอะไรกับเค้าหรอก ผมไปเที่ยวเปิดหูเปิดตาเฉยๆ กระผมมันแค่นักเล่นเกม มีอย่างหนึ่งที่ผมสังเกตได้จากงานนี้ครับ ซึ่งน่าสนใจมากๆ คือ คนเยอรมันมาเดินงานนี้เยอะมาก มากขนาดที่ว่าแถวซื้อตั๋วนี่ เค้าว่า ต่อคิวยาวเป็นชม.เลย ถ้าผมไม่ได้ซื้อตัวล่วงหน้า คงแย่เหมือนกัน เชื่อมั้ยครับคนเยอรมันที่มาเดินในงานContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 6: บอร์ดเกมแฟร์ที่เยอรมัน”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 5: การพัฒนาวงการเกมในมุมมองของผม

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “If I’ve seen further than others, it is by standing upon the shoulders of giants.” – Isaac Newton เมื่อวันที่ 11 – 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา ผมได้ไปเข้าร่วมงานแข่ง Catan ชิงแชมป์โลก Catan World Championship 2014 (CWC 2014) ที่ประเทศเยอรมันนีครับ การแข่งขันนี้จะจัดทุก 2 ปีครับ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ไทยเราได้เข้าร่วม งานนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 64 คน จาก 33 ประเทศ โดยในการแข่งขันรอบแรกจะเป็นรอบคัดตัว ที่ต้องแข่งกันทั้งหมด 4 เกม แล้วใครมีคะแนนสะสมสูงที่สุด 16 คน ก็จะได้เข้าไปสู่รอบ SemiContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 5: การพัฒนาวงการเกมในมุมมองของผม”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 4: ความฝันสำหรับวงการบอร์ดเกม

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ วันที่ 10 – 12 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ผมจะไปที่ประเทศเยอรมันนีเพื่อไปแข่งเกมคาทาน (the Settlers of Catan) ชิงแชมป์โลกครับ การแข่งคาทานชิงแชมป์โลกนี้ มีมาหลายปีแล้วครับแต่สำหรับคนไทยเราพึ่งมีโอกาสได้ไปเข้าร่วมเป็นครั้งแรก การแข่งขันจะจัดทุกๆ 2 ปีครับ โดยสถานที่จัดจะสลับกันจัดระหว่างประเทศเยอรมันนีและอเมริกา ซึ่งก็อย่างที่ผมบอกไปตอนต้นครับว่าปีนี้จัดที่เยอรมันนีเมืองเบอร์ลิน ส่วนปีที่ไม่มีชิงแชมป์โลก เค้าจะมีชิงแชมป์ทวีปยุโรป กับ แชมป์ทวีปอเมริกาเหนือแทน ผู้เข้าแข่งขันก็มาจาก 33 ประเทศครับ รวมถึงแชมป์โลกคนที่แล้ว (แชมป์โลกปี 2012) แชมยุโรป2013 และ แชมป์อเมริกาเหนือ 2013 สำหรับวงการบอร์ดเกม งานนี้ยิ่งใหญ่มากครับเพราะเกมคาทานถือได้ว่าเป็นบอร์ดเกมอันดับหนึ่งของโลก แต่ละประเทศ มีการจัดแข่งขันเพื่อหาตัวแทนไปแข่งซึ่งจัดกันจริงจังมากครับ ผู้เล่นแต่ละคนมีการฝึกซ้อม วางแผน เตรียมตัวกันอย่างเป็นระบบ เช่นในประเทศมาเลย์เซีย มีการแข่งขันกันร่วมเดือนเลยครับ โดยแบ่งการแข่งขันเป็นหลายๆรอบเพื่อหาตัวแทนจากรัฐต่างๆ และ มาจบที่ชิงแชมป์ประเทศ ก็น่าเสียดายนะครับที่ผู้เล่นบอร์ดเกมในไทยยังมีไม่เยอะนัก การแข่งขันเลยยังไม่ยิ่งใหญ่เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แต่ผมเชื่อว่าปีหน้าจะมีคนมาเข้าร่วมแข่งคาทานชิงแชมป์ประเทศไทยหลายร้อยคนแน่นอน และ ในอนาคตจะมีการแข่งขันชิงแชมป์ภาคต่างๆ เพื่อหาตัวแทนมาชิงแชมป์ประเทศแน่นอน ผมเชื่อว่าการจัดอีเวนท์การแข่งขันจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวงการบอร์ดเกมไทยครับ เพราะผมมองว่ามันจะช่วยทำให้คนทั่วไปเข้าใจบอร์ดเกมดีขึ้นครับ ว่าบอร์ดเกมไม่ใช่แค่ของเล่น แต่เป็นเหมือนกีฬาชนิดหนึ่งได้เลยทีเดียวที่คนเล่นต้องมีการฝึกซ้อม การวางแผน และ การแข่งขัน นอกเหนือจากนี้การแข่งขันยังทำให้เรารู้สึกคึกคักด้วยครับ ประมาณว่าสนุกกว่าเล่นอยู่บ้านเฉยๆ 😀 ความฝันของผนนะครับ ผมอยากเห็นการแข่งขันบอร์ดเกมเกิดขึ้นในระดับโรงเรียนเลยครับ เช่นในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน ในงานกีฬาสีเป็นต้น ฟังดูเพ้อฝันดีนะครับ แต่ผมเชื่อครับว่าถ้ามันเกิดขึ้นประเทศไทยเราจะดีขึ้นอีกเยอะครับ เพราะบอร์ดเกมมันเข้าถึงได้ง่ายกว่าหมากรุกแต่พัฒนาสมองได้ดีไม่แพ้กันContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 4: ความฝันสำหรับวงการบอร์ดเกม”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 3: ข้อคิดจากบอร์ดเกม

  เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “The measure of intelligence is the ability to change” – Albert Einstein ผมชอบเล่นหมากรุกมาตั้งแต่เด็กๆ ครับ มีความเซ็งที่เกิดกับผมเป็นประจำคือหมากรุกไทยจะโดนมองว่าเป็นของเล่นวินมอไซด์ ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นกีฬาด้วยซ้ำไป ที่หนักคือผมเคยโดนอาจารย์ท่านนึงบอกว่าหมากรุกเป็นกีฬาชั้นต่ำ … อันนี้ก็ว่าอาจารย์ท่านไม่ได้นะ เพราะบ้านเราคงมองหมากรุกแบบนี้จริงๆ ผมก็เกิดสงสัยว่า ทำไมหมากกระดานต่างประเทศถึงได้เป็นที่ยอมรับในของคนในประเทศเค้า เช่นว่า นักเล่นหมากรุกสากลจะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่สุดยอดเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ หรือว่าที่ญี่ปุ่นเกมหมากล้อมถูกมองไปเป็นถึงขึ้นปรัชญาการใช้ชีวิต ปรัชญาการทำธุรกิจ มันน่าสนใจนะครับ ที่ทำไมคนไทยเราไม่ได้มอง หมากรุกไทยในแง่ปรัชญาการใช้ชีวิตบ้าง ทั้งๆ ที่มันไม่ได้แตกต่างกันเลย ผมเชื่อว่าหมากกระดานในไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะขาด Value Added ในแง่ปรัชญาหรือในแง่ภาพลักษณ์นี่ล่ะครับ จนกระทั่งผมได้มาเล่นหมากรุกอย่างจริงๆ จังๆ ได้รู้จักได้เป็นศิษย์ของเซียนหมากรุกไทย ซึ่งก็คือ อ. ไพศาล (เซียนบัง) เจ้าของฉายาจอมยุทธ์พันรูป ซึ่งผมเรียกท่านว่า ”จารย์บัง” ครับ สิ่งที่จารย์บังสอนผม ไม่ได้สอนแค่วิธีเล่นหมากรุก แต่สอนกระทั่งแนวคิด วิธีการใช้ชีวิต มุมมองชีวิตจากหมากรุก (ปล. ผมไม่ได้ติดต่อจารย์บังหลังจากผมไปทำงานต่างประเทศ ทีนี้พอผมแข่งจนได้แชมป์คาทาน (The SettlersContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 3: ข้อคิดจากบอร์ดเกม”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 2: โรคกลัวแพ้

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “The goal is to win, but it is the goal that is important, not the winning.” Reiner Knizia (Famous Board Game Designer) ตอนที่ 2 แล้วนะครับ เกี่ยวกับ ข้อคิดที่ได้จากการเล่นบอร์ดเกม ความน่าสนใจอย่างหนึ่งของบอร์ดเกมนะครับ คือ มันคล้ายกับหมากรุก แต่เป็นหมากรุกที่มี Theme มีเรื่องราวสนุกสนาน และ ไม่เครียดเท่าหมากรุก แต่พอมันคล้ายหมากรุก มันก็จะมีภาพว่ามันเป็น Brain Game ที่คนเล่นเก่งจะดูเป็นคนฉลาด และมันก็ทำให้เกิดมุมมองผิด ๆ ว่า คนที่เล่นแพ้คือคนโง่ หลาย ๆ คนที่เล่นบอร์ดเกมเลยมีโรคอย่างหนึ่งครับ ผมเรียกว่า “โรคกลัวแพ้” โรคกลัวแพ้นี้มักจะเกิดกับคนที่เริ่มหัดเล่นใหม่ ๆ ครับ บางคนกลัวแพ้จนทะเลาะกับเพื่อนจนร้องไห้ไปเลยก็มีContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 2: โรคกลัวแพ้”

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 1: บอร์ดเกม คืออะไร?

“บางที เราควรหยุดคิด เพื่อมาคิดว่า ตอนนี้เราควรจะคิดอะไร” ผมว่า บางทีเราก็ต้องหยุดคิดบ้างนะ เพื่อหันมาทบทวนดูว่า ตอนนี้เราควรคิดอะไรกันแน่ หลาย ๆ ครั้งผมเจอว่า สิ่งที่เราควรคิดไม่ใช่สิ่งที่เรากำลังคิด ประโยคนี้มันผุดขึ้นมาในหัวผม ตอนที่ผมกำลังนั่งเล่นบอร์ดเกมที่ชื่อว่า Caylus ครับ (http://boardgamegeek.com/boardgame/18602/caylus) แต่ว่า Caylus คืออะไร … Caylus คือหนึ่งในบอร์ดเกมยุคใหม่ ถ้าให้เทียบก็เหมือนกับเกมเศรษฐีที่เราคุ้น ๆ กันน่ะครับ แต่มันพัฒนาไปไกลกว่ามากครับ บอร์ดเกมยุคใหม่คืออะไร? บอร์ดเกมยุคใหม่เป็นที่นิยมในยุโรปครับ โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน จนมีคำเรียกบอร์ดเกมประเภทนี้ว่า German-style Board Game เกมเหล่านี้จะไม่มีผู้เล่นถูกกำจัดออกจากเกม ไม่มีใครต้องนั่งเบื่อรอเกมจบ เป็นเกมที่ต้องใช้ทักษะการวางแผนมากกว่าใช้ดวง ที่สำคัญคือจะเล่นให้ฮาหรือจริงจังก็ได้ในเวลาเดียวกัน! คุณ “สฤณี อาชวานันทกุล” เคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดเกมยุคใหม่ไว้ครับ ชื่อว่า “ลาก่อนเกมเศรษฐี” ลงนิตยสารสารคดี http://www.sarakadee.com/2011/09/29/goodbye-monopoly/ คุณสฤณี ได้สรุปข้อดีของบอร์ดเกมไว้อย่างเข้าใจง่ายและเห็นภาพมาก ๆ ผมถือว่าเป็นบทความที่ดีที่สุดบทความหนึ่งของไทยเกี่ยวกับบอร์ดเกมเลย ผมคงไม่มีปัญญาไปบรรรยายได้เทียบเท่าคุณสฤณีหรอกครับ ดังนั้น เชิญเข้าไปอ่านเลยครับผม 😀 ผมมาเจอกับบอร์ดเกมนี้ได้อย่างไร?Continue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 1: บอร์ดเกม คืออะไร?”

Game Theory ในการเล่นบอร์ดเกม

Game Theory เป็นคอนเซปที่โด่งดังที่ทุกคนคงรู้จักนะครับ บอร์ดเกมที่พวกเราเล่นๆกัน ก็มันจะมีหลักการของ Game Theory แทรกอยู่เสมอๆ ทำให้ผู้เล่นให้สับสนเล่นว่าควรจะตัดสินใจวางแผนยังไงดี ที่เราจะเจอบ่อยคือ Prisoner’s dilemma ครับ เช่นในเกม Carcassonne ที่เวลาเรากับเพื่อนกำลังร่วมกันสร้าง City ถ้า 2 คนช่วยกันจั่วและก็แบ่งๆแต้มกันไป แต่ถ้าเราวาง Meeple เพิ่มเพื่อเอา Majority โดยกะจะเอาแต้มคนเดียว (Take All) ซึ่งก็มีความเสี่ยงว่า เพื่อนจะไม่ช่วยเรา เราต้องลุ้นจั่ว tile คนเดียว แถมอาจจะเพื่อนโดนกันจนปิดเมืองไม่ลง และ ตัว Meeple เราจะไม่ได้กลับขึ้นมือ ซื่งถือว่าสาหัสมาก ดังนั้น การตัดสินใจที่ฉลาดอาจจะเป็นร่วมมือกัน (แต่ก็นั่นหล่ะครับ หลายๆครั้งกระทั่งตัวผมเองก็เลือกที่จะ Take All แล้วก็เจ๊งไป) หรือกรณีที่สนุกมากคือการร่วมมือและหักหลังกันครับ เช่นในเวลาเล่นเกม 3 คน ปรกติถ้า 3 คนฝีมือพอๆกัน โอกาสชนะของแต่ละคนก็ 1/3 แต่ถ้ามีสองคนจับมือกันรุมอีกคนContinue reading “Game Theory ในการเล่นบอร์ดเกม”

จั่วการ์ดให้ชีวิตบ้าง [ข้อคิดจากบอร์ดเกม]

วันก่อน น้องที่ผมเคารพท่านนึงได้มาปรึกษาเรื่องอนาคตส่วนตัว คือ น้องเค้าชอบเล่นคาทาน ผมก็เล่าไปว่า ตัวผมเองเนี่ยมีสันดานส่วนตัวอย่างนึงคือ ชอบมองอะไรเป็นเกม เป็นหมากรุกบ้าง เป็นคาทานบ้าง คือผมชอบคิดว่า ปัญหาของเราเนี่ย ถ้าเปรียบเป็นเกมเราจะทำยังไง ผมก็บอกน้องไปว่า … ปัญหานี้เหมือนกับว่าเราเล่นคาทานอยู่แล้วลังเลว่าจะจั่วการ์ดดี หรือ สร้าง city ดี คือมันต้องอ่านให้ขาดว่า จริงๆแล้วตอนนี้เกมของเรา เราต้องการอะไร ต้องเสริมอะไร ถ้าจั่วการ์ดเนี่ย เราก็ไม่รู้ว่าจะได้ไพ่อะไร ไพ่อาจไม่เข้ามือ แต่ที่แน่ๆ คือ เราจะเล่นเกมได้อย่างมี flexibility มากขึ้น พวกเรานักเล่นเกมคงรู้ดีว่า ถ้าเล่นคาทานแล้วเราไม่มีไพ่ แต่เพื่อนมีไพ่อมไว้คนละ 1-2 ใบเนี่ย ชีวิตมันอึดอัดมาก การลงทุนในการ์ดบ้างก็ไม่ได้เป็นแย่อะไร แล้วน้องก็กลับไปคิด ต่อมาน้องก็เดินมาบอกว่า … ผมคิดอะไรได้ละ ผมว่า ชีวิตผม ผมจั่วการ์ดน้อยไป ผมว่าจะผมลองจั่วการ์ดให้ชีวิตดูบ้างละพี่ แล้วน้องเค้าก็ตัดสินใจได้ ชีวิตมันก็เหมือนเกมครับ บางทีเกมมันก็ให้ข้อคิดได้จริงๆนะ อันนี้ผมนั่งยันนอนยันเลย จะว่าไปผมนี่ก็บ้าเกมคาทานนะ เอามาเป็นข้อคิดได้ซะงั้น