Lost Cities Card Game

หนึ่งในเกมเล่น 2 คนที่สนุกมากกก เหมาะสำหรับไว้เล่นตบตีกับแฟน ธีม เรากำลังออกไปสำรวจดินแดนลึกลับ มี 5 เมืองให้ค้นหา ยิ่งเราเดินทางได้ลึกจะยิ่งได้แต้มเยอะแต่ธีมมันไม่เข้ากับ Mechanic เท่าไหร่ ลืมๆไปก็ได้ 5555 เกมนี้เด็ดตรง กติกาเรียบง่ายครับอยากบอกว่าเวลาเล่นได้ได้อารมณ์เหมือนเล่นดัมมี่ เกมนี้เล่นเร็ว จบใน 15 นาทีแต่ดันความพีคและตึงได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน . ก็เป็นอีกหนึ่งเกมที่อยากแนะนำให้เล่น ถ้าอยากหาเกมเล่น 2 คนเหมาะสำหรับเป็น Filler เกมเล่นฆ่าเวลารอเกมใหญ่ หรือ เล่นกับแฟนก่อนนอน ตบตีสร้างบรรยากาศกันก่อนปิดไฟ ผมเคยเล่นเกมนี้กับเซียนดัมมี่ เจอเค้าจั่วเค้าฝาก สุดท้ายทำแต้มกระฉูดแบบว่างงไปเลย (หรือว่าผมอ่อนเอง) ก็เป็นอีกเกมที่นักออกแบบเกมควรศึกษาไว้ครับ ในความเรียบง่ายของกติกาและสามารถเล่นได้ลึกในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับขนาดเกม . กติกาเกมคร่าวๆ จั่วไพ่ขึ้นมือ คนละ 8 ใบ ไพ่มี 5 สี แต่ละสีมีเลขตั้งแต่ 2-10 และ ไพ่รูปจับมือ การเล่นมี 2 ขั้นตอนหลักๆ Step1 วางไพ่Continue reading “Lost Cities Card Game”

Peacock in the land of penguins

เล่ม 8/2564ก็หนังสือแนว Management ที่แต่งเป็นนิทานเหมือน Who Move My Cheese เนื้อเรื่องว่าด้วย เกาะของนกเพนกวิ้น พบว่า เกาะตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีความแตกต่างเลยชวนนกยูงมาอยู่ด้วย เพื่อสร้างความแตกต่าง สร้างสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรม และเพนกวิ้นก็ประกาศว่า “We value diversity” แต่เนื่องจากนกยูงมีสีสันเกินไป เพนกวิ้นเก่าๆรับไม่ได้ เลยสั่งให้นกยูงมาใส่สูทสีดำเหมือนตัวเองและไม่ว่านกยูงจะพยายามเท่าไหร่ เหล่าเพนกวิ้นก็รับไม่ค่อยได้ เหตุผลคือ สิ่งที่นกยูงทำ มันมีความเป็นเพนกวิ้นน้อยไป และสุดท้ายนกยูงก็ถูกไล่ออกจากเกาะ ด้วยเหตุผลที่นกเพนกวิ้นชวนมาอยู่ตอนแรกคือสร้างสรรค์เกินไป กล้าเกินไป และ มีความเป็นเพนกวิ้นน้อยไป ซึ่งเพนกวิ้นก็ยังคงประกาศว่า “We value diversity” . ก็เป็นหนังสือว่าด้วยการสร้าง Culture องค์กร การเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ สิ่งที่ผมได้จากเล่มนี้คือ ปัญหาที่หนังสือเล่มนี้เสนอคือ ไม่ใช้เน้นว่า จะให้นกยูงปรับตัวยังไง แต่เป็นเพนกวิ้นต่างหากที่ต้องปรับตัว แต่องค์กรต่างๆ มักจะโทษนกยูง ลืมที่โทษตัวเพนกวินเอง วัฒนธรรมที่จะทำให้องค์กรสำเร็จคือ Accptance and Trust ยอมรับและเชื่อมั่นในกันและกัน ปล่อยให้มีการแชร์ความรู้ความสามารถหว่างกันContinue reading “Peacock in the land of penguins”

บอร์ดเกม แชมป์ 2 สถาบัน

ในวงการบอร์ดเกมนอกจากรางวัล Spiel Des Jahres (SDJ) ที่ถือว่าเป็นรางวัลใหญ่ระดับออสก้าร์ของวงการบอร์ดเกมแล้ว ยังมีอีกรางวัลใหญ่นึงชื่อว่า Deutscher Spielepreis (DSP) ความแตกต่างหลักๆของสองรางวัลนี้คือ SDJ จะมีแนวโน้มให้รางวัลกับเกมแนว Family ที่เข้าถึงผู้เล่นหลากหลาย ในขณะที่ DSP จะเน้นให้รางวัลกับ Gamers’ Game ซึ่งเน้นเกมที่มีความยาก ระบบเกมสร้างสรรค์ ตัวอย่างเกมที่เคยชนะ DSP ก็เช่น Agricola, Terra Mystica, Russian Railroads . มันเลยเป็นการยากมากที่ในปีนึง จะมีเกมใดสามารถชนะทั้ง 2 สถาบันได้ในปีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคหลังๆที่ SDJ แตกรางวัลออกเป็นย่อยๆ ทำให้รางวัลสูงสุดเน้นความเป็น Family มากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเพียง 6 เกมคือ Catan – เกมนี้ไม่ต้องพูดถึง อมตะไปแล้ว หนึ่งในสุดยอดเกมแนวเจรจา El Grande – พระบิดาแห่งเกมแนวContinue reading “บอร์ดเกม แชมป์ 2 สถาบัน”

5 หนังสือน่าอ่านประกอบการเล่นเกม Root

เกม Root กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหลังจากที่กำลังจะได้มีการแปลไทยโดย The Stronghold SIAM : Gateway to Board Games ซึ่งเกมนี้ผมชอบเป็นพิเศษตรงธีม ที่สะกัดเอาแก่นของเรื่องราวบางอย่างมาเล่าได้อย่างกำลังดี ไม่รู้สึกยัดเยียด คือจะเล่นเอาสนุก หรือ เอาธีมมาคุยถกเถียงกันต่อก็ได้ สำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยรู้จักเกมนี้ ธีมหลักๆของเกมก็ ว่าด้วยสงครามแย่งชิงดินแดนของหมู่สัตว์ ที่มีแมวเป็นผู้ปกครองคนปัจจุบัน นกซึ่งเป็นราชวงศ์เก่าพยายามจะยึดอำนาจคืน มีสัตว์ป่าชาวบ้าน และ มีภาคเสริมที่เพิ่มกิ่งก่าเจ้าลัทธิ หรือ ตัวนากพ่อค้า . พอเกมนี้จะได้แปลไทย ก็มีน้องๆบางคนมาชวนคุยเกี่ยวกับเกมนี้ ในธีมการเมือง ซึ่งมันเข้ากับบ้านเราพอดี ก็ทำให้ผมหยุดคิดถึงมันไม่ได้ และ คิดว่า ถ้าใครอยากจะศึกษาต่อ ควรอ่านหนังสืออะไรดี ในมุมมองของผมนะครับ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรีย์คงไม่มีเล่มไหนเหมาะเท่าเล่มนี้แล้วในยุคนี้ สำหรับการต่อสู้กันของขั้วอำนาจ สิ่งเดียวที่แตกต่างกันของ หนังสือเล่มนี้ต่างจากเกม Root ตรงที่ Root นั้นมีบทบาทของประชาชน Animal Farmเมื่อเหล่าสัตว์ยึดฟาร์มจากมนุษย์และปกครองตัวเอง หนังสือบางๆแต่ทำให้เห็นภาพการฉ้อฉล และ วิธีการควบคุมประชาชนของท่านผู้ทำ 1984ว่าด้วยสังคมที่ถูกปกครองด้วยความหวาดกลัว เพราะรู้สึกว่าถูกจับตามองตลอดเวลาจนไม่กล้าทำอะไรContinue reading “5 หนังสือน่าอ่านประกอบการเล่นเกม Root”

เส้นทางอัศวิน

เป็นหนังเสือเกม แบบที่เราเคยเล่นตอนเด็กๆ ที่ต้องตัดสินใจ และ เปิดไปยังหน้าต่างๆ เพื่อดูผลลัพท์การตัดสินใจ ธีมคือเราเป็นอัศวินฝึกหัด ออกเดินทางผจญภัย โดยรวมก็เป็นสำหรับเด็ก พล๊อตสนุก แต่ไม่ได้ใช้ความคิดมาก ดีที่มี puzzle แทรกเป็นระยะๆ เลยพอให้สนุกขึ้น . เล่นไปรอบนึง แล้วเกิดไอเดียเอาไปเล่าเป็นนิทานให้ลูกฟัง (4 ขวบ) พบว่าเด็กๆสนุกมาก เพราะได้เลือกเนื้อเรื่องนิทานเอง ต่างจากนิทานปรกติที่เคยฟัง สิ่งที่เคยน่าเบื่อสำหรับผู้ใหญ่ เช่น การพลิกหนังสือไปมา พบว่าเด็กๆชอบมาก ลุ้นตามตื่นเต้น โอเค มีโกงๆบ้าง ให้เด็กเล่นได้ นี่เล่าจบไป 1 รอใช้เวลา 2  วัน นี่ลูกๆขอให้เล่ารอบ 2 … สบายละ ปล. เล่ม7 ……………………………………… FB: https://m.facebook.com/TrangCatan YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86 ……………………………………….

ปีศาจ

เล่มที่ 6 นิยายอมตะของไทย เขียนเมื่อปี 2496หนังสือเก่าอายุร่วม 70 ปีแต่เนื้อหาไม่ได้เก่าเลย เนื้อหาว่าด้วย การเมือง ความเหลื่อมล้ำ คนยุคเก่าที่ไม่ยอมรับความคิดคนยุคใหม่ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และ เรียกเด็กเหล่านั้นว่า “ปีศาจ”ปีศาจของการเวลาได้เกิดขึ้นแล้ว ห้ามไม่ได้ แต่คนยุคเก่าทั้งหลายไม่ยอมรับมัน สำนวนและภาษาการเล่าจะดูโบราณ พล๊อตดูไม่หวือหวาเหมือนนิยายปัจจุบันแต่สารที่หนังสือส่งมันแรง และ กระแทกหน้ามาก จนทำให้อ่านจบแล้วหยุดคิดไม่ได้ . หนังสือจะเล่าถึงเหตุการณ์ความเหลื่อมล้ำ และ ทัศนคติในยุคนั้นอ่านแล้วจะบอกว่า น้ำตาไหล เพราะว่า ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ปัญหาที่เคยเกิด ก็ยังคงอยู่ไม่รู้จะเรียกว่าคนเขียนท่านอัจฉริยะ หรือ ประเทศเราย่ำอยู่ที่เดิม …​ เศร้าสัสครับ สิ่งที่ตนเมื่อ 70 ปีก่อนเรียกร้อง ยังคงดังก้องอยู่ถึงปัจจุบันจริงๆ สังคมก็เปิดกว้างมากขึ้นนะ เสรีมากขึ้น แต่แก่นของปัญหาบางอย่างยังวนอยู่ที่เดิม ทำให้บอกไม่ถูก ว่าอ่านแล้วรู้สึกอะไรระหว่างการมีความหวัง หรือ ทำให้ท้อแท้ มีความหวังเพราะ ไม่มีใครหยุดปีศาจแห่งการเวลาได้ท้อแท้เพราะผ่านมานานมันก็ยังเหมือนเดิม . คำถามหลักที่ผมเกิดขึ้นกลายเป็นว่า สังคมเรามันมีการเป็นอยู่ และ สืบทอด สิ่งเหล่านี้มาได้อย่างไร .Continue reading “ปีศาจ”

Princes of Florence

Princes of Florence อีกหนึ่งใน เกม Classic Euro Board Game ที่ดีย์ และ อยากให้ลองเล่นกันครับจำได้ว่าตอนที่ผมได้ฟังกฏครั้งแรก ก็รู้สึกว้าวเลย และ พอได้เล่นก็ยิ่งชอบ เกมนี้เป็นไม่กี่เกมที่ ผมยังบรรยากาศครั้งแรกที่เล่นได้อยู่เลย แบบว่ามันถูกจริตมาก . ธีมเกม เราเป็นเจ้าชายแห่งเมือง Florence ครับ เมืองแห่งศิลปะวิทยาการ เป้าหมายของเราคือ สร้างเมืองของเราให้สวยงามที่สุด และ โดนใจ ศิลปิน/ผู้รู้ต่างๆให้มาอยู่เมืองเรา เพื่อรังสรรค์ผลงานอันยิ่งใหญ่ โดยที่ยิ่งมีคนมาอยู่เยอะเราก็จะยิ่งได้แต้มเยอะ . กติกาคร่าวๆ เกมเล่น 7 รอบจบ แต่ละรอบมี 2 Phase เริ่มต้นมาแต่ละคนจะมีการ์ด Profession ที่จะเป็นศิลปิน นักปราชญ์ ที่เราต้องเชิญมาอยู่ในเมือง Phase ประมูล ง่ายๆ ตรงตัว ก็แข่งกันประมูลของ มีของ 7 อย่าง เช่น สระน้ำ แต่ละอย่างจะมีคนได้แค่คนเดียวContinue reading “Princes of Florence”

Tigris & Euphrates

เป็นอีกหนึ่งใน Classic Euro Board Game ที่ควรลองเล่นซักครั้งหนึ่งในชีวิตครับเล่นแล้วบอกได้เลยว่า เป็นเกมที่รู้สึกว่า ใกล้เคียงกับการเล่นหมากรุกมากที่สุด เพราะมันทั้งตึง ซับซ้อนหลายชั้น ตีกันวุ่นวาย แต่กติกาเรียบง่ายมาก ความเด็ดของเกมนี้คือการนับแต้มที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเกมอื่น . ธีมเกมคือ มันเหมือนมีอาณาจักรเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำ Tigris & Euphrates แต่ละเมืองก็มีความเจริญในสี่ด้าน เช่น กำลังรบ การค้า เป็นต้นแต่ละเมืองถือว่าไม่มีเจ้าของ เราต้องส่ง leader ของเราไปยึด ขยายเมือง ตีเมืองคนอื่น หรือกระทั่ง ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจ แปลว่าเมืองต่างๆจะเปลี่ยนมือการปกครองไปได้เรื่อยๆซึ่งทั้งหมดนี้ ทำได้ง่ายๆด้วยการวางไทด์ ตาละ2 Action … เรียบง่ายมาก . กติกาคร่าวๆ ถึงตาเราก็ทำได้ 2 actions ซึ่งหลักๆก็มี วาง leader กับ วางไทด์ leader ของแต่ละคนมี 4 สี … อันนี้จะต่างจากเกมอื่นนะ ที่ปรกติแต่ละคนมีสีเป็นของตัวเอง แต่เกมนี้ทุกคนมีทุกสีContinue reading “Tigris & Euphrates”