คอร์สเกมมิฟิเคชั่น (Udemy)

ไปเจอคอร์สเกมมิฟิเคชั่นดีๆจาก Udemy มาครับก็สอนแบบพื้นฐาน เน้นความเข้าใจโดยทั่วไป ลองเรียนแล้วขอบเลยเอามาแนะนำ https://www.udemy.com/share/101ID43@kAgvqexJyTWbML7lSsqvDQSzRiVhuDPtOp4_nBuQ1YZ3FP4ctHMPqjzpAJn7dAUv/ ความน่าสนใจของคอร์สนี้คือ เค้า map ตรง core ของเกมมิฟิเคชันเข้ากับ Intrinsic Motivation (แรงจูงใจจากภายใน) แล้วก็โยงไปว่า มีมันเทคนิคมุมมองอะไรบ้างที่ไปตอบโจทย์ Intrinsic Motivation แต่ละด้าน ก็จะเน้นหลักคิดและมุมมอง ซึ่งผมว่าน่าสนใจและเรียนง่ายเลยทีเดียว เหมาะสำหรับคนที่อยากเห็นภาพกว้างของเกมมิฟิเคชั่นครับ #Gamification ตอนที่20 ……………………………………..WordPress: https://beyondboard.blog/YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbABlockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86……………………………………..

Meaningful Choice

Meaningful Choice #Gamification ตอนที่19 ใน การออกแบบเกม และ Gamification คำถามนึงที่เรามักจะถามตัวเองคือ Choice ที่เราใส่เข้าเนี่ย มันน่าสนใจมั้ย หรือที่เรียกว่า Meaningful Choice หรือเปล่า เพราะต้องยอมรับว่า แต่ละคนก็มีความชอบไม่เหมือนกัน แล้วทำยังไงให้ Choice นั้นมันดูน่าสนุก สำหรับคนที่หลากหลาย การออกแบบตรงนี้ไม่ง่าย แต่ก็มีเทคนิคนึงที่ช่วยตั้งต้นการออกแบบได้ดี คือ “And” กับ “But” ครับ . And คือ การให้ Choice มีประโยชน์มากกว่า 1เช่นในการเกมคาทาน เวลาสร้างบ้าน 1 หลัง เราได้ทั้งทรัพยากรเพิ่ม ได้คะแนน ไปจนใช้ยึดพื้นที่ป้องกันคู่แข่งด้วย การทำแบบนี้ จะทำให้ผู้เล่น ได้เลือกว่า จะสร้างบ้านเพื่อประโยชน์อะไร เช่น ต้นเกมอาจอยากสร้างเพื่อเอาทรัพยากรเพิ่ม หรือ ขยายพื้นที่ แต่ท้ายเกมอาจจะอยากสร้างบ้านเพื่อเอาแต้มจบเกมแม้จะไม่ได้ทรัพยากรเพิ่มแล้ว นั้นทำให้ Choice การสร้างบ้าน มีประโยชน์และน่าสนใจContinue reading “Meaningful Choice”

อธิบายปรากฏการณ์ Pop Cat ด้วย Gamification

. #Gamification ตอนที่18 ไม่น่ากดไปลองเล่นเกม Pop Cat เลยเกมบ้าบออออ https://popcat.click/. ทีนี้พอได้เล่นก็เห็นว่า เกมแข่งจิ้มง่ายๆ (โง่ๆ) นี้ มันพอจะอธิบายได้ด้วย Gamification คือ ได้มีการใช้หลักการ แรงจูงใจจากภายใน (Intrinsic Motivation) ในด้าน Purpose (ด้านความปรารถนา) Intrinsic Motivation ด้าน Purpose นี่คือ เราจะรู้สึกดี และเต็มใจถ้า เราได้ทำอะไรบางอย่างเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง เช่น การได้ทำเพื่อเพื่อน เพื่อครอบครัว หรือ เพื่อทีมงาน ซึ่งในกรณีนี้คือการได้ทำเพื่อประเทศ เกมนี้เราแต่ละคนได้รู้สึกว่า เราไม่ได้จิ้มง่ายๆ นะ แต่กำลังร่วมแรงร่วมใจเพื่อประเทศของเรา มีการแชร์กัน ส่งต่อกัน แล้วนอกจากนี้ยังมี Leader Board บอกว่าประเทศของเราอยู่อันดับที่เท่าไหร่และยังมีการให้ Point ด้วยว่าแต่ละประเทศทำได้กี่ Pop แล้วรวมไปถึงจำนวน PPS (Pop Per Second) .Continue reading “อธิบายปรากฏการณ์ Pop Cat ด้วย Gamification”

Gamification เกมมิฟิเคชัน จูงใจคนด้วยกลไกเกม

ตื่นเต้นๆ ได้จับหนังสือตัวเองแล้วเขียนอยู่เป็นปี ออกมาก็บางกว่าที่คิดแฮะ . ที่มาของเล่มนี้คือ เริ่มเมื่อเกือบสิบปีก่อน เราก็เล่นบอร์ดเกมเยอะ แล้วก็สนใจว่าเกมเอาไปทำอะไรได้บ้าง ก็เลยได้เจอกับ Gamification แบบว่าเฮ้ยเจ๋งดีทีนี้ก็หาหนังสือมาอ่าน จนไปลงเรียนคอร์สเกี่ยวกับเรื่องนี้ พอเวลาผ่านไป ได้เริ่มทำเพจนี้ ซึ่งบางทีว่างๆก็เล่าเรื่อง Gamification บ้าง จนมาถึงวันนึงแถวๆปี 2018 ก็รู้สึกว่าเรื่องมันน่าจะเป็นกระแสสำคัญในอนาคตนะ น่าจะเป็นเรื่องคนจะพูดถึงและเอามาใช้กัน เหมือนพวก Lean, Agile, Design Thinking ก็เลยเริ่มเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้เพื่อนที่งานฟังแบบจริงจัง เริ่มไปสอน นำเสนอโปรเจค ก็มีคนบอกว่า น่าจะมีหนังสือไทยเรื่องนี้บ้าง จริงๆก็เคยหนังสือเรื่องแนวนี้มาก่อนบ้าง แต่มันหาไม่ได้ง่ายๆ ก็เลยคิดต่อว่าน่าจะมีคนแปลหนังสือฝรั่ง ทีนี้ก็เริ่มคิดเล่นๆว่าจะแปลเองดีมั้ย ก็ลองไปปรึกษาพรรคพวกที่เคยเขียนหนังสือ ก็ได้มาหลายไอเดีย หนึ่งในนั้นคือเขียนเอง ที่เขียนเองก็เพราะ เราอยากได้หนังสืออ่านสบายๆ เห็นภาพรวมกว้างๆของ Gamification ให้คนทั่วไปที่ไม่รู้จัก ไม่ได้เล่นเกม ได้เห็นภาพกว้างตรงนี้ เห็นประโยชน์ โดยไม่ต้องลงลึกไปจนถึง UX/UI หรือ ออกแบบจริงจัง ก็ลองร่างๆเล่นๆดูว่าถ้าเขียนจะเป็นไง จนมาวันนึง ได้ไปเป็นกรรมการงานออกแบบบอร์ดเกม ปั้นกระดาน#2 ของContinue reading “Gamification เกมมิฟิเคชัน จูงใจคนด้วยกลไกเกม”

รางวัลมีกี่ประเภท?

#Gamification ตอนที่17 ในการเล่นเกมต่างๆ และ ในเกมมิฟิเคช่ัน สิ่งนึงที่สำคัญมากคือ การให้รางวัล เพราะรางวัลนี้ถือว่าเป็น Motivator ที่ดีอย่างนึง ซึ่งโดยปรกติเราจะคิดถึงรางวัลที่เป็นสิ่งของ หรือ เงิน แต่ว่าจริงๆแล้วรางวับที่คนชอบมีมากกว่านั้นครับ จากหนังสือ Gamification by Design ได้บอกว่า รางวัลนี้มี 4 อย่างเลยทีเดียวครับ เรียกย่อๆว่า SAPS Status (สถานะ) สถานะคือสิ่งแสดงความแตกต่างกันของเรากับคนอื่น ซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อตำแหน่ง ยศ หรือ ฉายาบางอย่างก็ได้ Access (การเข้าถึง) คือการให้สิทธิ์ผู้เล่นเข้าถึงอะไรบางอย่างที่พิเศษกว่าคนอื่น ประมาณว่าคนอื่นเข้าไม่ได้ ตัวอย่างนึงคือคือ เลาจ์ของสายการบินต่างๆ ที่คนจะเข้าได้ต้องเป็นสมาชิกก่อน แถมเข้าไปแล้วยังมีห้องสำหรับคนที่ถือบัตรพิเศษแยกเข้าไปอีก หรือ กระทั่งการมีแถว check in พิเศษไม่ต้องไปต่อแถวยาวๆ กับลูกค้าทั่วไป Power (อำนาจ) คือการให้อำนาจเพิ่มเติมแก่ผู้เล่น ต้องยอมรับครับ ว่าคนเรานี่ชอบที่จะได้รับอำนาจเหนือคนอื่น ตัวอย่างเช่นในระบบเว็บบอร์ดสมัยก่อน ที่พอใครมีอันดับสูงๆ ก็จะสามารถเข้าไปแก้ไขโพสต์ของคนอื่นได้ Stuff (สิ่งของ)Continue reading “รางวัลมีกี่ประเภท?”

Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse

#Gamification ตอนที่16 ช่วงนี้มีแอฟใหม่กำลังดัง คือ Clubhouse ที่ทุกท่านคงรู้จักกันดีแล้ว ที่นี้พอผมได้เล่นแล้วก็พบว่าสนุกกว่าที่คิด แต่ว่า สิ่งนึงที่ผมรู้สึกว่า Clubhouse ทำออกมาได้ดีมากคือ การสร้างความรู้สึก “อยาก” เล่น ไม่ว่าทำให้คนที่ไม่เคยเล่นได้อยากเล่น หรือ ทำให้รู้สึกอยากกลับเข้ามาเล่นซ้ำอีก ก็พบว่ามันมีหลักการของ Gamification ซ่อนอยู่ ซึ่งตัวเด่นๆที่พบเห็นก็ตามนี้ครับ Access & Power ขอเท้าความก่อน ว่าการให้รางวัลในเกมนั้นจริงแล้วไม่มีแต่การให้สิ่งของ แต่ว่าจริงแล้วมีถึง 4 รูปแบบ เรียกว่า SAPS ย่อมาจาก Status (สถานะ), Access (การเข้าถึง), Power (อำนาจ) and Stuff (สิ่งของ) ซึ่ง SAPS นี้บางคนก็เรียกว่า framework of motivators ที่เป็น 4 สิ่งหลักที่จูงใจคนได้ สิ่งนี้แปลว่าอะไร แปลแบบง่ายๆได้ว่า จริงแล้วคนเราไม่ได้อยากได้สิ่งของเสมอไป การได้เข้าถึง (Access)Continue reading “Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse”

เทคนิคพื้นฐาน Gamification

#Gamification ตอนที่15 เกมมิฟิเคชั่นคือ การเอาเทคนิคของเกมมาปรับใช้ แต่ถ้าอ่านบทความที่ผมเขียนย้อนหลัง มันจะดูอ้อมๆไม่เข้าเทคนิคซักที คืออยากจะให้เข้าใจภาพรวมกันก่อน แต่คิดไปคิดมาเข้าประเด็นเลยก็ดี แล้วรายละเอียดย่อยๆ ค่อยทยอยเขียนเสริม เช่นพวก Reward คืออะไร มีกี่แบบ หรือ ผู้เล่นแบ่งได้กี่แบบ คนเวลาเล่นเกมมีกี่นิสัย เป็นต้น เพราะถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็จะรู้ว่าควรใช้เทคนิคไหนเมื่อไหร่ดี เทคนิคของเกมมิฟิเคชั่นนี่ ถ้าเอาหลักๆ มันคือการเอาเทคนิคการ Feedback ของเกมมาใช้ครับ Feedback คืออะไร มันคือการบอกผู้เล่นว่าที่เพิ่งทำไปมันดีหรือไม่ดีอย่างไร ผู้เล่นอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น เพื่อจูงใจให้ผู้เล่นอยากทำต่อ Feedback ไม่ใช่การให้รางวัลนะ แต่คือการทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ และ ยังเป็นบอกผู้เล่นด้วยว่า พฤติกรรมให้เราส่งเสริม เทคนิคพื้นฐานของเกมมิฟิเคชั่นเรียกสั้นว่าๆ PBL ย่อมากจาก Point, Badge and Leader Board Point (แต้ม) จริงๆแล้ว Point ไม่ได้มีไว้แข่งกัน แต่มีไว้บอกว่า พฤติกรรมของผู้เล่นมีค่าเท่าไหร่ คนออกแบบเกมให้ค่ากับพฤติกรรมนั้นแค่ไหน นั่นคือ Point จะทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ครับ เราอยากให้ผู้เล่นทำอะไรContinue reading “เทคนิคพื้นฐาน Gamification”

Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer

#Gamification ตอนที่14 อย่างที่ทุกท่านคงทราบกับอยู่แล้วว่าเกมมิฟิเคชั่น คือการเอาเทคนิค หรือ แนวคิดของเกม มาปรับใช้ในงานอื่นที่ไม่ใช่เกม ซึ่งถ้าจะให้พูดอีกอย่าง เกมมิฟิเคชั่นก็คือการคิดแบบนักออกแบบเกม (Game Designer) นั่นเองครับ แล้วการคิดแบบ Game Designer คืออะไร? แน่นอนมันเป็น mindset ไม่ใช่หมายความว่าคุณต้องเคยเป็นนักออกแบบเกม จริงๆ มากก่อน และ การคิดแบบนี้นักออกแบบเกม มันต่างจากการคิดของการเป็นนักเล่นเกม (Gamer) จะว่าไปก็เหมือนๆกับ Design Thinking ครับ ที่เราไม่จำเป็นต้องเคยเป็นนักออกแบบ เราก็สามารถเอาแนวคิดไปปรับใช้ได้ แล้วมุมมองแบบนักออกแบบเกมคืออะไร มันก็มีหลักๆอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆคือ ทำอย่างไรให้คนอยากเล่นเกมของเรา? และ ทำอย่างไรให้คนเล่นเกมเราอย่างต่อเนื่อง? อันนี้ก็เป็นเหมือนกันทั้งการออกแบบเกมต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่บอร์ดเกม นั่นคือ พอเราจะเริ่มลองคิดแบบนักออกแบบเกม สิ่งแรกที่เราจะต้องคิดคือ มองคนที่เข้าร่วมกิจกรรมของเรา เป็น “Player” คิดว่าคนที่มาเข้าร่วมเป็นผู้เล่นเกม ที่เราบังคับไม่ได้ แต่เราต้องจูงใจให้เค้าอยากมาเล่น และ ทำให้เค้าอยากเล่นอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องให้ Autonomy กับผู้เล่น ให้อิสระให้การเลือกContinue reading “Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer”

Action Loop ในการออกแบบ Gamification

#Gamification ตอนที่13 เวลาเล่นเกม เคยสังเกตกันมั้ยครับว่า จริงๆแล้วเราทำ Action ซ้ำๆ วนไปเป็นรอบๆไม่รู้จบ ตัวอย่างง่ายๆคือเกม Pac Man ที่แต่ละด่านเราจะต้องไล่กินจุด วิ่งหนีผี แต่ถ้ากินจุดอันใหญ่ๆได้ เราจะได้เป็นฝ่ายไล่กินผี และ ผีจะหนีเรา เล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะกินเม็ดเล็กๆหมด หรือเราโดนผีกินจนตายหมดทุกชีวิต เป็นแบบนี้ทุกเกมครับ ทุกเกมมี Action ที่เป็น Loop หมด ซึ่งเค้าเรียกกว่า Core Gameplay Loop ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกม หรือบอร์ดเกม ซึ่ง Loop นี้เมื่อได้เล่นซ้ำๆ เกมก็จะเพิ่มความท้าทาย ซับซ้อนขึ้น แต่ Core Gameplay Loop ก็ยังเหมือนเดิม ถามว่า Core Gameplay Loop นี้สำคัญอย่างไรในการออกแบบเกม? ความสำคัญเพราะ นอกจากไว้ออกแบบผู้เล่นต้องทำอะไรบ้างแล้ว ยังไว้ช่วยให้นักออกแบบได้ประเมินว่า Action ตรงไหนของเกมที่ยังไม่สนุก จะได้หาทางปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือก เพิ่มการตัดสินใจContinue reading “Action Loop ในการออกแบบ Gamification”

3 ปัจจัยที่ทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ

#Gamification ตอนที่12 ไปเจอคลิป YouTube มาอันนึงครับ น่าสนใจดีเกี่ยวกับการวิจัยเรื่อง Gamification คือได้มีนักวิจัย พยายามศึกษาว่า การใช้ Gamification เมื่อเทียบกับวิธีปรกติ นี่จะให้ผลต่างกันมั้ย ผลคือจากงานวิจัยหลายสิบชิ้นพบว่า มีทั้งที่ช่วยให้ได้ผลดีขึ้น แต่ก็มีบางงานวิจัยบอกว่ากลางๆไม่ช่วย และ บางงานบอกให้ผลแย่ลง นั้นทำให้นักวิจัยได้กลับมาทบทวน ว่าจริงๆแล้วอาจจะตั้งคำถามผิด เลยตั้งคำถามใหม่ว่า “อะไรคือปัจจัยที่ช่วยทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ” ซึ่งเขาได้พบว่ามี 3 ข้อ … ดังนี้ 1) System Quality – ระบบต้องทำออกมาให้เสถียร ดึงดูดและเหมาะสมกับคนเล่น เช่น ถ้าผู้เล่นเป็นวิศวกร ระบบมันก็ต้องแตกต่างจาก ระบบที่มีผู้เล่นเป็นศิลปิน 2) Learner Attributes – คือ ผู้เล่นหรือนักเรียนคนไหนมีประสบการณ์การเล่นเกมมาก่อนหรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็จะทำให้ Gamification มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) Embedding Gamification into the rightContinue reading “3 ปัจจัยที่ทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ”