#Gamification ตอนที่11 เวลาพูดถึงประโยชน์เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) นั้น ปรกติเราจะมองกันว่า ก็เพื่อความสนุก หรือ เพื่อจูงใจให้คนอยากมาทำกิจกรรมของเรา ไม่ว่าจะมาสนุกกับการอบรมเรียนรู้ หรือ ในการทำงานบางอย่าง แต่จริงแล้วอยากจะบอกว่า ความสนุก นี้ไม่ใช่เจตนาหลักของการใช้เกมมิฟิเคชั่นครับ เพราะถ้าเราอยากให้กิจกรรมเราสนุก หรือ น่าสนใจ เราอาจใช้วิธีอื่นได้อีกมากมาย เช่น จ้างดารามาร่วมโปรโมทกิจกรรม ทำประชาสัมพันธ์ จัดอีเวนท์พิเศษ หรือกระทั่งแจกรางวัลผู้เข้าร่วม นอกจากถ้าเราได้ถามตัวเองย้อนขึ้นไปอีกขั้นว่า ถ้ากิจกรรมมันดีอยู่แล้ว ทำไมเราต้องใส่เทคนิคของเกม (Gamify) เข้าไปเพื่อสร้างความสนุกด้วย ดังนั้นเราต้องตอบตัวเองและเข้าใจก่อนว่า เกมมิฟิเคชั่นต่างจากวิธีอื่นตรงไหน เกมมิฟิเคชั่นช่วยด้านไหนกันแน่ และ เมื่อไหร่เราถึงควรจะใช้เกมมิฟิเคชั่น ………………………………… เกมมิฟิเคชั่น ดียังไงกันแน่? จุดเด่นของการออกแบบเกมต่างๆ คือ จิตวิทยาของการจูงใจให้คนเต็มใจมาเล่น (เพราะ เราไม่สามารถบังคับให้คนมาเล่นเกมเราได้) เล่นแล้วรู้สึกติด รู้สึกหงุดหงิดเวลาไม่ได้เล่น อยากกลับมาเล่นซ้ำๆ จนกระทั่งยอมเสียเงินและเสียเวลาเพื่อเล่นเกมเรา แปลง่ายๆคือ เกมสามารถจูงใจให้เราเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างได้ครับ เช่น เต็มใจยอมเสียเงินเติมเกม เต็มใจกลับมาเล่นเกมซ้ำๆ เต็มใจที่จะกลับเข้าในเกม เพื่อรูดนิ้วบนจอไปมาเป็นร้อยๆพันๆรอบContinue reading “ประโยชน์ที่แท้จริงของ Gamification”
Category Archives: gamification
ตัวอย่าง Gamificaion: Microsoft
#Gamification ตอนที่10 มาดูตัวอย่างของเกมมิฟิเคชั่นที่ช่วยให้งานที่น่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำ กลายเป็นงานที่สนุก แถมคนร่วมแรงร่วมใจกันได้ครับ ตัวอย่างนี้มาจาก Micorsoft ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างดังเวลาพูดถึงเกมมิฟิเคชั่น ทุกท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Microsoft มี Software ที่มีคนใช้กันทั่วโลก ซึ่งทาง Microsoft ก็ได้จ้างนักแปลมืออาชีพ คอยแปลภาษาอังกฤษให้เป็นทุกภาษาในโลกซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ทีนี้ความยากอยู่ตรงที่ ต่อให้แปลดียังไง มันก็ยากมากที่จะทำให้ภาษาออกมาอ่านแล้วลื่นหูเหมือนเจ้าของภาษา ทาง Microsoft เลยตัดสินใจแก้ปัญหานี้ด้วยการ จัดกิจกรรมขื้นมาเรียกว่า Languge Quality Game โดยให้พนักงาน Microsoft เข้าไปช่วยกันรีวิวภาษาของตัวเอง เช่น คนไทย ก็ช่วยกันเข้าไปรีวิวภาษาไทย ถ้าเจอจุดไหนบกพร่องก็แค่เขียนคำแนะส่งไป ถ้าโอเคก็กดผ่าน กติกาง่ายมาก … แต่ใครมันจะอยากไปเข้าร่วม เพราะลำพังแค่งานประจำก็ยุ่งพอแล้ว สิ่งที่พิเศษของโครงการนี้ที่ทำให้สนุกคือ เค้าได้จัดแข่งเป็นให้เป็นระดับประเทศ โดยพนักงานแต่ละคนจะเหมือนเป็นตัวแทนชาติตัวเอง ที่ต้องช่วยกันทำแต้มให้อันดับของประเทศตัวเองมีคะแนนสูงๆ ไม่สนว่าจะจริงๆแล้วตัวเองจะทำงานอยู่ประเทศไหน นั่นคือ พนักงานคนไทยทั่วโลก จะช่วยกันรีวิวภาษาไทย เพื่อทำแต้มให้ประเทศตัวเอง ทีนี้ก็สนุกเลย พนักงานเข้าร่วมเยอะมาก ชนิดที่ว่า Microsoft ญี่ปุ่นประกาศหยุดงาน 1Continue reading “ตัวอย่าง Gamificaion: Microsoft”
Gamification: องค์ประกอบของเกม
#Gamification ตอนที่9 การจะเข้าใจเรื่องหลักการใช้ของ เกมมิฟิเคชั่น ต้องยอมรับว่าเราคงต้องมาทำความใจเรื่องเกมกันด้วย ก็ไม่ต้องเข้าใจลึกมากถึงขั้นการออกแบบเกม แต่ก็ควรที่จะต้องรู้องค์ประกอบของเกมไว้บ้าง ทั้งนี้เพราะ เรากำลังจะเอาความเป็นเกมไปปรับใช้ในสิ่งที่ไม่ใช่เกม จริง ๆ เรื่ององค์ประกอบของเกม ก็มีหลายตำรา แต่ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวก็ จากหนังสือ Reality is Broken ของ Jane McGonigal ได้ให้ข้อสรุปไว้น่าสนใจว่าเกมต้องมีอยู่ 4 อย่างคือ Goal (เป้าหมาย) คือสิ่งรวบยอดทั้งหมดของเกมที่ทำให้ผู้เล่นรู้ตัวว่าต้องทำอะไร ซึ่งโดยปกติเป้าหมายของเกมจะหมายถึงวิธีการได้รับชัยชนะ อย่างเช่นเกมมาริโอ้ที่เป้าหมายคือ ชนะเกมด้วยไปช่วยเจ้าหญิงให้ได้ในด่านสุดท้าย Rules (กติกา) คือสิ่งที่ทำให้ผู้เล่นรู้ว่า สามารถทำอะไรได้บ้าง และ ไม่สามารถทำอะไรได้ เช่น มาริโอ้ที่ เราสามารถกระโดดได้ วิ่งได้ แต่จะตายถ้าตกเหว หรือ ชน monster รวมถึงกินเห็ดแล้วตัวใหญ่ กินดอกไม้ไห้แล้วจะยิงลูกไฟได้ นอกจากนี้ยังมีกติกาอื่นๆ เช่น ต้องรีบจบแต่ละด่านให้ได้ก่อนเวลาหมด เป็นต้น Feedback system (การแสดงตอบสนองต่อการกระทำของผู้เล่น) ในทุกเกมจะมีการสื่อสารกับผู้เล่นว่าสิ่งที่เพิ่งทำไปนั้นดี ไม่ดีContinue reading “Gamification: องค์ประกอบของเกม”
ตัวอย่างGamification: Deloitte
#Gamification ตอนที่8 มาฟังตัวอย่างเกมมิฟิเคชั่นของผู้ใหญ่กันบ้าง คราวนี้เอาแบบคนแก่เลย เป็นตัวอย่างจากบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Deloitte ครับ ที่ไปที่มาคือ Deloitte ได้สร้างระบบการอบรมออนไลน์ ขึ้นมาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยตั้งชื่อว่า Leadership Academy แต่มีปัญหาที่ผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ไม่ค่อยว่างมาเรียน เอาเข้าจริงผู้บริหารไม่ค่อยจะอยากมาเข้าเรียนด้วยซ้ำไป ซึ่งก็เข้าใจได้นะ เพราะท่านผู้บริหารนี่ต้องยุ่งมากกก ซึ่ง ทำให้ใช้เวลานานกว่าผู้บริหารจะอบรมแต่ละหัวข้อเสร็จ สิ่งที่ Deloitte ได้ทำคือ ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำอบรมใหม่! โดยให้หน้า Profile ส่วนตัวมีความเป็นเกมมิฟิเคชั่น เช่น มีการให้แต้มเรียนเสร็จ มี Progress Bar บอกว่าอบรมไปถึงไหนแล้ว มีการทำตารางจัดอันดับเปรียบเทียบระหว่างผู้บริหารว่าใครกำลังนำอยู่ ได้รับผลตอบรับดีมากครับ คือ สามารถลดเวลาการเรียนลง 50% แถมเวลาการเข้าใช้เว็บไซต์ต่อวันของผู้บริหารยังเพิ่มขึ้นถึง 46.6% ด้วย บริษัท Deloitte เป็นตัวอย่างที่ดีของการประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบเดิมจากที่เคยน่าเบื่อ ให้เป็นสนุกขึ้น จูงใจให้คนอยากทำมากขึ้น และที่สำคัญ ไม่ได้บังคับเลย การไม่บังคับ แต่จูงใจให้อยากทำด้วยเทคนิคของเกมนี่หล่ะครับ แก่นของ Gamification
ตัวอย่างGamification: Pain Squad
#Gamification ตอนที่7 คุยเรื่อง เกมมิฟิเคชั่นกันมาหลายตอน มาดูตัวอย่างกันบ้าง ตัวอย่างที่ดังมากอันนึงก็คือ App มือถือชื่อ Pain Squad Pain Squad คือ App ที่ออกแบบโดยทีมนักวิจัยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองโตรอนโต App นี้ออกแบบมาสำหรับให้เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็นมะเร็งได้จดบันทึกอาการป่วยของตนเอง เทียบกับวิธีแบบดั้งเดิมที่ให้เด็ก ๆ ต้องคอยบันทึกอาการลงบนกระดาษ ตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน … ซึ่งก็แน่นอน แบบเก่านี้เด็กก็จดบ้างไม่จดบ้าง แต่ความเจ๋งของ Pain Squad นี้คือ การสร้างเรื่องราวให้เด็ก ๆ ด้วย ว่าได้เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวน คดี ซึ่งผู้ร้ายคือความเจ็บปวดของเด็ก ๆ นั่นเอง สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องทำคือช่วยกันจับผู้ร้าย (อาการเจ็บป่วยของตนเอง) ลงบน App ตามเวลาที่กำหนด นอกจากสวมบทบาทแล้ว App ยังทำออกมาเป็นเรื่องราวให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุก และ อยากติดตาม เท่านั้นไม่พอเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว เด็ก ๆContinue reading “ตัวอย่างGamification: Pain Squad”
Gamification: เกมมิฟิเคชั่นต่างจากการเล่นเกมอย่างไร
#Gamification ตอนที่6 เรื่อง Gamification นี้ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนได้ว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็น Gamification ก็มีรูปนึงครับ ที่อธิบายความแตกต่างของ Gamification กับสิ่งต่างๆได้ดี รูปนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ช่อง โดยแกนตั้ง คือ “Gaming” กับ “Playing” หลัก ๆ คือ เกมจะมีกติกา มีเป้าหมาย แต่การเล่นคือการเน้นที่ความสนุก ไม่ได้มีกติกาตายตัว จะเป็น Free Play ซะกว่า และ แกนนอนคือ การแบ่งว่ามีองค์ประกอบเพียงบางส่วน หรือทั้งหมด มุมซ้ายบน คือ ในทุกองค์ประกอบคือเกม สิ่งนี้ได้แก่เกมทั่วไปที่เราเล่นนั่นเองครับ เช่น เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ บอร์ดเกม เพราะมันคือเกมทั้งหมดไม่มีสิ่งอื่นเจือปน อันนี้ตรงไปตรงมา ในขณะที่มุมซ้ายล่าง คือ การเล่นในทุกองค์ประกอบ สิ่งนี้จะเรียกว่าของเล่นครับ เช่นหุ่นยนต์ เลโก้ เป็นต้น นี้ก็ตรงไปตรงมาเช่นกัน เกมมิฟิเคชั่นของเราจะอยู่ในช่องขวาบน เพราะคือการปรับเอาความเป็นเกมมาเป็นองค์ประกอบบางส่วนที่ไม่ใช่เกม ในขณะที่ช่องขวาล่างซึ่งคือการเอาContinue reading “Gamification: เกมมิฟิเคชั่นต่างจากการเล่นเกมอย่างไร”
Gamification: เกมแปลว่าอะไร? ตอนที่ 2
#Gamification ตอนที่5 อีกนิยามนึงของเกมที่ผมชอบครับ Game is a series of interesting choices โดย Sid Meier นักออกแบบเกม Civilization ชื่อดัง เรื่องคำว่า Choice นี่ก็คุยกันได้ยาวนะครับว่า interesting หรือ meaningful choice แปลว่าอะไร เกมมันสนุกก็เพราะ การมี Interesting Choice อย่างต่อเนื่องนี่ล่ะครับ กลับมาดูเรื่องงานในแต่ละวันของเราบ้างเต็มไปด้วย Assignment ที่เรียงรายอย่างต่อเนื่อง มีน้อยที่เราได้เลือกงานทำเอง มันเป็นธรรมชาติของคนเรานะครับ ที่ต้องการได้เลือก ได้กำหนดเอง (Autonomy) การได้เลือกว่าเย็นนี้จะกินอะไรระหว่างกระเพราหมู กับ กระเพราไก่คนมักจะรู้สึกดีกว่า ถูกบังคับให้กิน ราดหน้า Autonomy เป็น 1 ใน 3 ตัวหลักของ Intrinsic Motivationไว้วันหลังมาเล่าให้ฟังต่อว่าคืออะไร และ จ๊าบยังไง ปล. เพิ่งรู้ว่าวิธีทำ GifContinue reading “Gamification: เกมแปลว่าอะไร? ตอนที่ 2”
Gamification: เกมแปลว่าอะไร?
#Gamification ตอนที่4 เชื่อมั้ยครับว่า จริงๆเกมเนี่ยไม่ได้มีนิยามที่ชัดเจน แบบว่าได้มีนักคิดหลายคนได้พยายามให้คำอธิบายไว้ก็มีดีๆหลายอันนะครับ แต่อันนึงที่ส่วนตัวผมชอบมาก เพราะสื่ออะไรหลายๆอย่างได้ดีคือ นิยามของ Bernard Suits ที่ว่า “the voluntary attempt to overcome unnecessary obstacles”. แปลประมาณว่า ความเต็มใจที่จะพยายามเอาชนะอุปสรรคที่ไม่จำเป็น คือชอบนิยามนี้มาก เพราะ ถ้าเราสังเกตดูให้ดี จะเห็นว่าจริงๆแล้วแต่ละเกมเนี่ยล้วนแล้วแต่มีความท้าทาย มีอุปสรรค ให้เราเอาชนะทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นต้องผ่านด่านต่างๆ สะสมแต้ม เก็บทรัพยากร ซึ่งไอ้ความยากลำบากทั้งหลายในเกมเนี่ย …ไม่จำเป็นอะไรกับชีวิตเราเลย แต่ที่เด็ดกว่าคือ พวกเรากับเต็มใจที่จะทำ (Voluntary attempt) 555ประเด็นเต็มใจทำนี่สำคัญนะครับ ว่าอะไรคือสิ่งที่จูงใจให้คน ”เต็มใจทำ” คือมันเป็นหลักจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในเกม ที่เรียกกันว่า Engagement Element ไม่ใช่แค่ Fun นะ แต่มันระดับ Engagement เลย ประมาณว่า ทำให้บางคนตื่นเช้ามา สิ่งแรกที่ทำคือหยิบมือถือขึ้นมาเล่นเกมได้ก่อนแปรงฟัน แถมยังยอมเติมเงินเข้าไปในเกมด้วย Gamificaiton ก็เหมือนกันครับแก่นของมันคือ ทำให้คนContinue reading “Gamification: เกมแปลว่าอะไร?”
Gamification: การเอาเกมมาเป็นสื่อการสอน ถือเป็น Gamification มั้ย?
#Gamification ตอนที่3 การเอาเกมมาเป็นสื่อการสอน ถือเป็น Gamification มั้ย? ช่วงหลังๆมานี้มีการอบรมเรื่อง Gamification เยอะขึ้นนะครับ เริ่มเห็นตาม Feed FB ไม่ว่าจะเป็นด้าน HR หรือ การทำธุรกิจ แต่ทีนี้พอเข้าไปอ่านดูก็จะพบว่า บางอันจะเป็นสอนการใช้เกมบ้าง หรือ การออกแบบเกมสำหรับการเรียนการสอน การอบรมบ้าง ซึ่งการใช้เกมเป็นสื่อการสอนนี้ ยังไม่ถือเป็น Gamification ครับ แต่ถือว่าเป็น Game-Based Learning ถามว่า 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง หลักๆก็คือ Game-Based Learning คือสื่อการสอน ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเกม ซึ่งเจตนาของการใช้เกมคือเพื่อทำให้การเรียน การอบรม สนุกสนานและดึงดูดมากขึ้น รวมถึงช่วยสร้างสถานการณ์ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น Gamifciation คือ ผู้เรียนยังคงเรียนด้วยวิธีเหมือนเดิม แต่มีการจูงใจด้วยการให้แต้มเป็นต้น ซึ่งแต้มนี้จะให้เมื่อผู้เล่นทำพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ทำคะแนนออกมาได้ดี หรือ เข้าเรียนครบถ้วน ประมาณนี้ สรุปง่ายๆ Game-Based Learning คือ การเรียนรู้ผ่านเกมContinue reading “Gamification: การเอาเกมมาเป็นสื่อการสอน ถือเป็น Gamification มั้ย?”
Gamification คืออะไร
#Gamification ตอนที่2 เมื่อวานเราคุยกันไปว่า เกมทุกวันนี้ได้ออกแบบมาให้เราติด ซึ่งจุดนึงที่น่าสนใจคือ ตัวเกมไม่เคยบังคับเราเลย ว่าต้องทำอะไรบ้าง …. เกมทำได้แต่จูงใจเรา เกมสามารถทำให้เรารู้สึกว่า กิจกรรมในเกมนั้นน่าสนใจ คุ้มค่าที่จะเสียเวลาเล่น กระทั่งคุ้มค่าที่จะเสียเงินจริง ๆ ลงไปซื้อของในเกม ซึ่งไม่มีประโยชน์ในชีวิตจริงเลย ต่างจากการทำงาน หรือ การเรียนในแต่ละวัน ซึ่งสิ่งที่เราทำนั้นเราได้เงินจริง ได้ความรู้ ได้ประโยชน์จริง แต่บางครั้งเรากลับไม่รู้สึกจูงใจ แถมรู้สึกเป็นภาระเสียอีก ซึ่งน่าสนใจมาก ก็เลยมีบางคนถึงกับบอกว่า แท้จริงแล้วเราควรจะเรียกนักออกแบบเกมว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้าง Engagement เลยนะ เพราะเค้าจูงใจคนได้เก่งมากกก เมืองนอกได้ศึกษาเพื่อหาว่ามี Engagement Element อะไรซ่อนอยู่ในเกมบ้าง ศึกษากันจริงจังเลย เป็นวิชาด้านจิตวิทยา แล้วเขาได้มีการทดลองเอาไอ้ element เหล่านั้นไปใส่ในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เกมเขาพบว่าก็ทำให้งานอื่นที่เคยน่าเบื่อ กลับสนุกขึ้น คนเต็มใจทำมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องบังคับอีกต่อไป และการทำแบบนี้ได้ถูกเรียกว่า Gamification โดยมีการให้นิยามของ Gamifciation ไว้ว่า “The use of game elements and game design techniques inContinue reading “Gamification คืออะไร”