Meaningful Choice

Meaningful Choice #Gamification ตอนที่19 ใน การออกแบบเกม และ Gamification คำถามนึงที่เรามักจะถามตัวเองคือ Choice ที่เราใส่เข้าเนี่ย มันน่าสนใจมั้ย หรือที่เรียกว่า Meaningful Choice หรือเปล่า เพราะต้องยอมรับว่า แต่ละคนก็มีความชอบไม่เหมือนกัน แล้วทำยังไงให้ Choice นั้นมันดูน่าสนุก สำหรับคนที่หลากหลาย การออกแบบตรงนี้ไม่ง่าย แต่ก็มีเทคนิคนึงที่ช่วยตั้งต้นการออกแบบได้ดี คือ “And” กับ “But” ครับ . And คือ การให้ Choice มีประโยชน์มากกว่า 1เช่นในการเกมคาทาน เวลาสร้างบ้าน 1 หลัง เราได้ทั้งทรัพยากรเพิ่ม ได้คะแนน ไปจนใช้ยึดพื้นที่ป้องกันคู่แข่งด้วย การทำแบบนี้ จะทำให้ผู้เล่น ได้เลือกว่า จะสร้างบ้านเพื่อประโยชน์อะไร เช่น ต้นเกมอาจอยากสร้างเพื่อเอาทรัพยากรเพิ่ม หรือ ขยายพื้นที่ แต่ท้ายเกมอาจจะอยากสร้างบ้านเพื่อเอาแต้มจบเกมแม้จะไม่ได้ทรัพยากรเพิ่มแล้ว นั้นทำให้ Choice การสร้างบ้าน มีประโยชน์และน่าสนใจContinue reading “Meaningful Choice”

“ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ”

สิ่งนึงของการได้ออกแบบบอร์ดเกม และ ได้ช่วยเทสเกมต่างๆ คือได้เรียนรู้ว่า “ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ” ประมาณว่า กฎทำออกมาแล้วมีปัญหานิดหน่อย ก็ใส่กฎเพิ่มไปเพื่อปิดช่องโหว่แต่ใส่ไปใส่มา กลายเป็นว่าเกมซับซ้อนวุ่นวายไปหมด ทำให้ผู้เล่นจะต้องจำกฎปลีกย่อยเพิ่มขึ้น และ ที่สำคัญการเพิ่มกฎ ก็เพิ่มโอกาสในการที่กฎมันจะขัดกัน มีปัญหาให้แก้เพิ่มเข้าไปอีก ทางออกแก้ที่ควรคือ ไปปรับกติกาตัวแรกให้เหมาะสม ไม่ขัดแย้ง พยายามทำให้ Simple ที่สุด ถ้าสับสนก็นึกย้อนว่าเราต้องการอะไรกันแน่ … มันคิดยากนะ แต่จบ . ตัวอย่างที่ดีของความผิดพลาด ที่การพยายามแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ คือ ระบบสอบเข้ามหาลัยของไทย ตอนแรกกลัวเด็กเครียด ก็เลยมีระบบใหม่สอบสองครั้ง เลือกคะแนนที่ดีที่สุดมายื่นสอบสองครั้ง แต่มหาลัยเปิดเวลาเดิม ทำให้ต้องสอบเร็วขึ้น กลายเป็นเด็กเรียนพิเศษหนักขึ้น ไม่ตั้งใจเรียนในห้อง ก็เลยเพิ่มระบบให้เอาเกรดระหว่างเรียนม.ปลายมาคิดด้วยซักพักก็มีปัญหาว่าแต่ละโรงเรียนมีมาตราฐานเกรดไม่เท่ากัน …. ก็จัดสอบวัดมาตรฐานโรงเรียนเพิ่ม (สอบเยอะขึ้น) ซักพักมหาลัยเริ่มไม่ชอบระบบสอบ เลยจัดสอบตรงเยอะขึ้นเด็กๆไล่สอบตรงตามมหาลัยต่างๆ (สอบเยอะขึ้น) และ เพิ่มปัญหาสอบตรงติดได้แล้วแต่ไม่เอา ทำให้บางคณะเด็กเข้าเรียนไม่พอ ก็เพิ่มกฏ ระบบ clearing house ต่างๆเข้ามา … และอื่นๆอีกมากมายที่ตามมา เล่าไม่ไหว จนถึงทุกวันนี้Continue reading ““ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ””

Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer

#Gamification ตอนที่14 อย่างที่ทุกท่านคงทราบกับอยู่แล้วว่าเกมมิฟิเคชั่น คือการเอาเทคนิค หรือ แนวคิดของเกม มาปรับใช้ในงานอื่นที่ไม่ใช่เกม ซึ่งถ้าจะให้พูดอีกอย่าง เกมมิฟิเคชั่นก็คือการคิดแบบนักออกแบบเกม (Game Designer) นั่นเองครับ แล้วการคิดแบบ Game Designer คืออะไร? แน่นอนมันเป็น mindset ไม่ใช่หมายความว่าคุณต้องเคยเป็นนักออกแบบเกม จริงๆ มากก่อน และ การคิดแบบนี้นักออกแบบเกม มันต่างจากการคิดของการเป็นนักเล่นเกม (Gamer) จะว่าไปก็เหมือนๆกับ Design Thinking ครับ ที่เราไม่จำเป็นต้องเคยเป็นนักออกแบบ เราก็สามารถเอาแนวคิดไปปรับใช้ได้ แล้วมุมมองแบบนักออกแบบเกมคืออะไร มันก็มีหลักๆอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆคือ ทำอย่างไรให้คนอยากเล่นเกมของเรา? และ ทำอย่างไรให้คนเล่นเกมเราอย่างต่อเนื่อง? อันนี้ก็เป็นเหมือนกันทั้งการออกแบบเกมต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่บอร์ดเกม นั่นคือ พอเราจะเริ่มลองคิดแบบนักออกแบบเกม สิ่งแรกที่เราจะต้องคิดคือ มองคนที่เข้าร่วมกิจกรรมของเรา เป็น “Player” คิดว่าคนที่มาเข้าร่วมเป็นผู้เล่นเกม ที่เราบังคับไม่ได้ แต่เราต้องจูงใจให้เค้าอยากมาเล่น และ ทำให้เค้าอยากเล่นอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องให้ Autonomy กับผู้เล่น ให้อิสระให้การเลือกContinue reading “Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer”

Action Loop ในการออกแบบ Gamification

#Gamification ตอนที่13 เวลาเล่นเกม เคยสังเกตกันมั้ยครับว่า จริงๆแล้วเราทำ Action ซ้ำๆ วนไปเป็นรอบๆไม่รู้จบ ตัวอย่างง่ายๆคือเกม Pac Man ที่แต่ละด่านเราจะต้องไล่กินจุด วิ่งหนีผี แต่ถ้ากินจุดอันใหญ่ๆได้ เราจะได้เป็นฝ่ายไล่กินผี และ ผีจะหนีเรา เล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะกินเม็ดเล็กๆหมด หรือเราโดนผีกินจนตายหมดทุกชีวิต เป็นแบบนี้ทุกเกมครับ ทุกเกมมี Action ที่เป็น Loop หมด ซึ่งเค้าเรียกกว่า Core Gameplay Loop ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกม หรือบอร์ดเกม ซึ่ง Loop นี้เมื่อได้เล่นซ้ำๆ เกมก็จะเพิ่มความท้าทาย ซับซ้อนขึ้น แต่ Core Gameplay Loop ก็ยังเหมือนเดิม ถามว่า Core Gameplay Loop นี้สำคัญอย่างไรในการออกแบบเกม? ความสำคัญเพราะ นอกจากไว้ออกแบบผู้เล่นต้องทำอะไรบ้างแล้ว ยังไว้ช่วยให้นักออกแบบได้ประเมินว่า Action ตรงไหนของเกมที่ยังไม่สนุก จะได้หาทางปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือก เพิ่มการตัดสินใจContinue reading “Action Loop ในการออกแบบ Gamification”

เรียนออกแบบบอร์ดเกมฟรี บน YouTube

คลาสฟรี สอนออกแบบ Euro Game ครับ มีหลายตอน เรียนกันจริงจังเลยเป็นคลาสสอนออกแบบบอร์ดเกม สำหรับนักศึกษา ออกแบบ video เกม ในคลิปหลังๆ มีวิเคราะห์เกม เช่น Puerto Rico และ ตอนท้าย สอนไปถึงการออกแบบ war game ท่านใดสนใจก็ไปนั่งเรียนได้ … คลาสจริงจังเลยผมนั่งฟังแล้วชอบนะ อ.แกดูเก๋าดี 55

ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 8: การออกแบบบอร์ดเกม

เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ “A good game will stay with us all our lives. A good game makes us long to play it again.”  หลังจากกลับจากแข่งคาทานชิงแชมป์โลก มีหลายโปรเจคเกี่ยวกับบอร์ดเกมวิ่งเข้ามาหาผมแบบชนิดตั้งตัวไม่ทันเลยครับ ซึ่งก็สนุกมากครับที่ได้ไปมีส่วนร่วมกับโปรเจคต่างๆ และขอขอบคุณทุกๆท่านที่เมตตาผมนะครับ มีโปรเจคหนึ่งที่ผมสนุกกับมันมากเลยครับ สนุกมากจนทำให้ผมหยุดรีวิวบอร์ดเกมมาพักหนึ่งแล้ว นั่นคือ โปรเจค”ออกแบบบอร์ดเกม” ครับ ว่ากันตามจริง ผมก็นั่งๆคิดบอร์ดเกมมาหลายเกมแล้วครับ แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไรมากมาย คิดไปเรื่อยๆแล้วจดเก็บไว้ จนกระทั่งมีเพื่อนที่รู้จักกัน มาชวนว่า สนใจจะออกแบบบอร์ดเกมเพื่อสอนธรรมะเด็กๆมั๊ย โดยที่ว่าเกมจะให้อิงจากหนังสือของพระสังฆราชองค์ที่แล้ว ที่ชื่อ “จิตตนคร” ครับ ผมนี่ตอบรับทันทีแบบไม่ต้องคิดเลยครับ ตอนนี้คิดเกมมาได้หลายส่วนแล้วครับ ไอเดียหลั่งไหลมากๆ จะว่าไปก็ไม่ได้คิดอะไรใหม่หมดหรอกครับ คือ มันเหมือนกับว่า ไอ้ที่เราเคยนั่งคิดเล่นๆมาหลายปี ซึ่งก็ไม่ได้ประติดประต่อเป็นเรื่องเดียวกัน อยู่ๆมันก็มาร่วมร่างเป็นเรื่องเดียวกันได้เฉยเลย โดยที่มีธีมหนังสือจิตตนครมาเป็นตัวเชื่อมครับ ถามว่าความยากของการคิดบอร์ดเกมคืออะไร หลักๆก็ ทำยังไงให้มันสนุกครับContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 8: การออกแบบบอร์ดเกม”