ในวงการบอร์ดเกมนอกจากรางวัล Spiel Des Jahres (SDJ) ที่ถือว่าเป็นรางวัลใหญ่ระดับออสก้าร์ของวงการบอร์ดเกมแล้ว ยังมีอีกรางวัลใหญ่นึงชื่อว่า Deutscher Spielepreis (DSP) ความแตกต่างหลักๆของสองรางวัลนี้คือ SDJ จะมีแนวโน้มให้รางวัลกับเกมแนว Family ที่เข้าถึงผู้เล่นหลากหลาย ในขณะที่ DSP จะเน้นให้รางวัลกับ Gamers’ Game ซึ่งเน้นเกมที่มีความยาก ระบบเกมสร้างสรรค์ ตัวอย่างเกมที่เคยชนะ DSP ก็เช่น Agricola, Terra Mystica, Russian Railroads . มันเลยเป็นการยากมากที่ในปีนึง จะมีเกมใดสามารถชนะทั้ง 2 สถาบันได้ในปีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคหลังๆที่ SDJ แตกรางวัลออกเป็นย่อยๆ ทำให้รางวัลสูงสุดเน้นความเป็น Family มากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเพียง 6 เกมคือ Catan – เกมนี้ไม่ต้องพูดถึง อมตะไปแล้ว หนึ่งในสุดยอดเกมแนวเจรจา El Grande – พระบิดาแห่งเกมแนวContinue reading “บอร์ดเกม แชมป์ 2 สถาบัน”
Tag Archives: carcassonne
ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 7: เกมยอดเยี่ยมแห่งปี
เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ ในวงการบอร์ดเกมโลก เค้ามีการแจกรางวัลเกมยอดเยี่ยมแห่งปีครับ เรียกว่า Spiel des Jahres (ภาษาเยอรมัน แปลว่า Game of the Year) รางวัลนี้เค้าจะแจกทุกปีครับ เริ่มแจกกันมาสามสิบกว่าปีแล้ว! ตั้งแต่ปี 1979 รางวัลนี้เทียบได้กับ ออสการ์ของวงการเกมเลยครับ ชนิดที่เค้ามีการประเมินเลยว่า เกมที่ได้รางวัลนี้ ยอดขายเกมจะเพิ่มเป็น 300,000 -500,000 ชุดเลยทีเดียว โดยมาก เกมที่ได้รับรางวัล Spiel des Jahres นี้จะเป็นเกมประเภท Family Game คือเล่นได้ทั้งครอบครัว สนุกสนานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ง่ายเกินไป และ ไม่ยากจนเกินไป ตัวอย่างเกมดังๆในบ้านเราที่ชนะรางวัลนี้ก็เช่น the Settlers of Catan และ Ticket to Ride เป็นต้น ซึ่งปีล่าสุด (2014) ที่ผ่านมานี้ เกมที่พึ่งชนะไปก็คือเกม Camel Up! ครับ แต่จะว่าไปรางวัลนี้ บางปี ถ้ามีเกมอื่นที่เด็ดๆ เค้าก็จะให้รางวัลพิเศษออกมาครับ เช่น เกม Agricola ที่ในปี 2008 ได้รางวัลพิเศษ Complex game ทีนี้ พอมีการให้รางวัลเกมยอดเยี่ยมแห่งปีที่เน้นเกมสำหรับครอบครัวไปแล้ว ต่อมาในปี 1990 เค้าก็มีการแจกรางวัลเพิ่มขึ้นอีกรางวัลครับ ชื่อ Deutscher Spiele Preis รางวัลนี้จะเน้นให้รางวัลกับเกมประเภท Game for Gamer แปลง่ายๆก็คือเกมที่เล่นยากๆContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 7: เกมยอดเยี่ยมแห่งปี”
ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 4: ความฝันสำหรับวงการบอร์ดเกม
เป็นบทความที่ผมเคยเขียนลง http://afterword.co/blog/ ครับ วันที่ 10 – 12 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ ผมจะไปที่ประเทศเยอรมันนีเพื่อไปแข่งเกมคาทาน (the Settlers of Catan) ชิงแชมป์โลกครับ การแข่งคาทานชิงแชมป์โลกนี้ มีมาหลายปีแล้วครับแต่สำหรับคนไทยเราพึ่งมีโอกาสได้ไปเข้าร่วมเป็นครั้งแรก การแข่งขันจะจัดทุกๆ 2 ปีครับ โดยสถานที่จัดจะสลับกันจัดระหว่างประเทศเยอรมันนีและอเมริกา ซึ่งก็อย่างที่ผมบอกไปตอนต้นครับว่าปีนี้จัดที่เยอรมันนีเมืองเบอร์ลิน ส่วนปีที่ไม่มีชิงแชมป์โลก เค้าจะมีชิงแชมป์ทวีปยุโรป กับ แชมป์ทวีปอเมริกาเหนือแทน ผู้เข้าแข่งขันก็มาจาก 33 ประเทศครับ รวมถึงแชมป์โลกคนที่แล้ว (แชมป์โลกปี 2012) แชมยุโรป2013 และ แชมป์อเมริกาเหนือ 2013 สำหรับวงการบอร์ดเกม งานนี้ยิ่งใหญ่มากครับเพราะเกมคาทานถือได้ว่าเป็นบอร์ดเกมอันดับหนึ่งของโลก แต่ละประเทศ มีการจัดแข่งขันเพื่อหาตัวแทนไปแข่งซึ่งจัดกันจริงจังมากครับ ผู้เล่นแต่ละคนมีการฝึกซ้อม วางแผน เตรียมตัวกันอย่างเป็นระบบ เช่นในประเทศมาเลย์เซีย มีการแข่งขันกันร่วมเดือนเลยครับ โดยแบ่งการแข่งขันเป็นหลายๆรอบเพื่อหาตัวแทนจากรัฐต่างๆ และ มาจบที่ชิงแชมป์ประเทศ ก็น่าเสียดายนะครับที่ผู้เล่นบอร์ดเกมในไทยยังมีไม่เยอะนัก การแข่งขันเลยยังไม่ยิ่งใหญ่เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แต่ผมเชื่อว่าปีหน้าจะมีคนมาเข้าร่วมแข่งคาทานชิงแชมป์ประเทศไทยหลายร้อยคนแน่นอน และ ในอนาคตจะมีการแข่งขันชิงแชมป์ภาคต่างๆ เพื่อหาตัวแทนมาชิงแชมป์ประเทศแน่นอน ผมเชื่อว่าการจัดอีเวนท์การแข่งขันจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวงการบอร์ดเกมไทยครับ เพราะผมมองว่ามันจะช่วยทำให้คนทั่วไปเข้าใจบอร์ดเกมดีขึ้นครับ ว่าบอร์ดเกมไม่ใช่แค่ของเล่น แต่เป็นเหมือนกีฬาชนิดหนึ่งได้เลยทีเดียวที่คนเล่นต้องมีการฝึกซ้อม การวางแผน และ การแข่งขัน นอกเหนือจากนี้การแข่งขันยังทำให้เรารู้สึกคึกคักด้วยครับ ประมาณว่าสนุกกว่าเล่นอยู่บ้านเฉยๆ 😀 ความฝันของผนนะครับ ผมอยากเห็นการแข่งขันบอร์ดเกมเกิดขึ้นในระดับโรงเรียนเลยครับ เช่นในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน ในงานกีฬาสีเป็นต้น ฟังดูเพ้อฝันดีนะครับ แต่ผมเชื่อครับว่าถ้ามันเกิดขึ้นประเทศไทยเราจะดีขึ้นอีกเยอะครับ เพราะบอร์ดเกมมันเข้าถึงได้ง่ายกว่าหมากรุกแต่พัฒนาสมองได้ดีไม่แพ้กันContinue reading “ได้คิด จน คิดได้ ตอนที่ 4: ความฝันสำหรับวงการบอร์ดเกม”
Game Theory ในการเล่นบอร์ดเกม
Game Theory เป็นคอนเซปที่โด่งดังที่ทุกคนคงรู้จักนะครับ บอร์ดเกมที่พวกเราเล่นๆกัน ก็มันจะมีหลักการของ Game Theory แทรกอยู่เสมอๆ ทำให้ผู้เล่นให้สับสนเล่นว่าควรจะตัดสินใจวางแผนยังไงดี ที่เราจะเจอบ่อยคือ Prisoner’s dilemma ครับ เช่นในเกม Carcassonne ที่เวลาเรากับเพื่อนกำลังร่วมกันสร้าง City ถ้า 2 คนช่วยกันจั่วและก็แบ่งๆแต้มกันไป แต่ถ้าเราวาง Meeple เพิ่มเพื่อเอา Majority โดยกะจะเอาแต้มคนเดียว (Take All) ซึ่งก็มีความเสี่ยงว่า เพื่อนจะไม่ช่วยเรา เราต้องลุ้นจั่ว tile คนเดียว แถมอาจจะเพื่อนโดนกันจนปิดเมืองไม่ลง และ ตัว Meeple เราจะไม่ได้กลับขึ้นมือ ซื่งถือว่าสาหัสมาก ดังนั้น การตัดสินใจที่ฉลาดอาจจะเป็นร่วมมือกัน (แต่ก็นั่นหล่ะครับ หลายๆครั้งกระทั่งตัวผมเองก็เลือกที่จะ Take All แล้วก็เจ๊งไป) หรือกรณีที่สนุกมากคือการร่วมมือและหักหลังกันครับ เช่นในเวลาเล่นเกม 3 คน ปรกติถ้า 3 คนฝีมือพอๆกัน โอกาสชนะของแต่ละคนก็ 1/3 แต่ถ้ามีสองคนจับมือกันรุมอีกคนContinue reading “Game Theory ในการเล่นบอร์ดเกม”