Book Review: อ่านธุรกิจใน 69 แผนภาพ

เล่มที่ 2 / 2020 1. เป็นหนังสือรวม Framework ทางธุรกิจหลักไว้ ก็น่าสนใจดี แต่รู้สึกงั้น ๆ นะคืองี้ หนังสือเขียนอธิบาย Framework ละ 2 หน้า เป็นคำบรรยาย 1 แผ่น เป็นรูปประกอบ 1 แผ่น 2. ส่ิงที่ชอบคือ เค้าบอกด้วยว่า แต่ละ Framework มันเชื่อมโยงและใช้คู่กันได้ยังไงบ้าง 3. ข้อดีคือ สรุปใจความดี อ่านแล้วเข้าใจภาพกว้าง ได้รู้จักกับ Framework มาตรฐานต่าง ๆ4. ข้อเสียคือ มันก็สั้นไปไง ไม่เข้าใจได้ลึก และ ไม่มี Framework ที่ใหม่ ๆ เช่น พวก Business Model Canvas ซึ่งจริง ๆ ไอ้ Canvas นี่ก็ไม่ใหม่นะContinue reading “Book Review: อ่านธุรกิจใน 69 แผนภาพ”

Keltis – Simple but Deep

ถ้าจะหาเกมที่เล่นง่ายๆ แต่ลึก เกมนึงที่ผมเชียร์คือ Keltisแบบว่ากติกามันง่ายมาก คือ วางไพ่ 1 ใบหน้าเรา หรือ ทิ้งไพ่ 1 ใบ แล้ว จั่วไพ่ 1 ใบ แค่นั้นเอง ไพ่มี 5 สี มีเลข เวลาวางไพ่หน้าต้องต่อแถวสีเดียวกัน เลขไล่ขึ้นหรือลงก็ได้ แต่ไล่ได้ทางเดียวดังนั้นระหว่างเล่น หน้าเราจะไพ่ 5 แถว 5 สี พอวางไพ่หน้าเราเสร็จ ก็เดิน Token บนTrack ที่สีที่ตรงกับไพ่แต้มจะเริ่มจากติดลบ ต้องเดินไกลนิดนึงถึงเป็นบวก กองไพ่ทิ้ง มี 5 กองตามสี หงายไพ่แล้วทิ้งทับไปเรื่อยๆตอนจั่วจะจั่วจากกองจั่วก็ได้ หรือ จากกองไพ่ทิ้งใบบนสุดที่หงายอยู่ แค่นี้เอง เริ่มเห็นความจ๊าบของมันมะ … กั๊กไพ่ คำนวนไพ่กันสนุกสิครับพี่น้อง Tactic การจัดการไพ่บนมือนี่สนุกมาก กั๊กไพ่ อมไพ่ทิ้งตานี้ จั่วกลับเองตาหน้า ทิ้งให้เพื่อนหยิบแล้วเราหยิบต่อ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเช่น มีContinue reading “Keltis – Simple but Deep”

Ra … บอร์ดเกมประมูลในดวงใจใครหลายคน

Ra เป็นเกมแนวประมูลที่สนุกมาก ออกแบบโดยท่าน Reiner Kniziaเกมนี้มีธีมเป็นยุคอียิปโบราณที่เราจะต้องแข่งกันประมูลทรัพยากรโน่นนี่ ความเด็ดของ Ra ที่หาไม่ได้เกมประมูลเกมอื่น แม้แต่ในยุคปัจจุบันคือ Ra เป็นเกมประมูลที่เล่นได้ 2 คน …. มันบ้าไปแล้ว เกมประมูลที่เล่น 2 คนได้ แถมสนุกด้วย …. ประวัติการออกแบบเกมนี้ก็ไม่ธรรมดา ลองอ่านบทสัมภาษณ์ของท่าน Reiner กันดูครับ “Ra actually has a good story behind it; it was the first game I did after my retirement. Two or three weeks after my retirement I said, ‘Okay, now let’s get started.’Continue reading “Ra … บอร์ดเกมประมูลในดวงใจใครหลายคน”

ต้นกำเนิด เกมบันไดงู

เชื่อมั้ยครับว่า เกมบันไดงู ที่พวกเราเล่นกันสมัยเด็ก ๆ นี่ เป็นเกมโบราณมากกกก เกมนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศอินเดียโบราณ เชื่อกันว่าเกิดแถว ๆ 200 ปีก่อนคริสกาล โดยเป็นเกมของศาสนาฮินดูที่เอาไว้สอนเด็ก ๆ เรื่องหลักศาสนา ประมาณว่าการเดินทางของชีวิต ทำดีก็เหมือนขึ้นบันได ทำไมดีก็เหมือนงูฉกตกลงมา มันน่าสนใจที่ กติกาเกมผ่านมาเป็นพันปีก็ยังเล่นเหมือนเดิม คือทอยเต๋าแล้วเดินไปเรื่อย ๆ เป็นการใช้ดวง 100% แต่แค่นี้ก็ถูกใจเด็ก ๆ มากแล้ว ต่อมาชาวอังกฤษได้รู้จักเกมนี้ตอนยุคอาณานิคม และ นำเกมนี้ไปเผยแพร่ต่อในตะวันตก ซึ่งได้มีคนทำออกขายประมาณปี 1940 และ เกมนี้ก็เป็นที่นิยมไปทั่วโลก … ตอนผมอ่านเจอเรื่องนี้นี่ ก็คิดต่อไปได้เยอะนะ ว่าขนาดเกมทอยเต๋าแล้วเดินไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ยังสามารถเอามาใช้สอนเด็กเรื่องหลักศาสนาแบบง่าย ๆ ได้เลย เราเล่นบอร์ดเกมกันจริงจัง ก็อดไม่ได้ที่ต้องได้แนวคิดดีๆ กันบ้างหล่ะ จริงมั้ย

Lord of the Rings (Board Game) … พระบิดาแห่งเกม Co-Op

ทุกวันนี้เกมแนว Co-Op พบเห็นได้ทั่วไป แต่เกมที่ถือได้ว่าจุดกระแสแนวเกม Co-Op ให้เป็นที่นิยมคือ เกม Lord of the Rings ที่ออกแบบโดย Reiner Knizia เกมนี้ได้ Spiel des Jahres รางวัลพิเศษ best use of literature in a game ปี 2004 เลยนะ เกมนี้จะเรียกว่า พระบิดาแห่งเกม Co-Op ก็ได้ เพราะ เกมนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเกม Pandemic หรือ Shadow Over Camelot ที่โด่งดังในยุคถัดมา กติกาคร่าว ๆ ทีมเราจะเล่นเป็น Hobbit ช่วยกันเอาแหวนไปทิ้ง ขณะเดียวกันก็จะมีเซารอนมาไล่จับเรา ฉากต่าง ๆ ในเกมจะเหมือนในนิยาย ทีมชนะเมื่อทิ้งแหวนได้ ทีมแพ้ถ้าโดนเซารอนจับหมด เกมนี้ mechanic เด่นมากตามสไตล์Continue reading “Lord of the Rings (Board Game) … พระบิดาแห่งเกม Co-Op”

King of Siam

เป็นอีกเกมนึงที่ผมเปิดประมูลช่วย COVID-19 ไปซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่พอผมรู้จักปุ๊ป ก็ตั้งเป้าว่าจะต้องหาซื้อมาให้ได้ แล้วพอเล่นก็ยิ่งชอบ ไม่ได้ชอบกลไกเกมนะ แต่ชอบการเล่าเรื่องของเกมก็ไม่ใช่เกมที่เล่าได้ดีที่สุด แต่เป็นเกมแรกที่ทำให้ผมได้เข้าใจเรื่องการเล่าเรื่องผ่านเกม … คืองี้ ที่มาของเกมนี้คือ มีฝรั่งคนนึงมาทำงานในไทย แล้วสงสัยว่าทำไมไทยถึงไม่เสียเอกราชให้ตะวันตก เค้าเลยพยายามทำเกมจำลองสถานการณ์ตอนนั้นขึ้นมา ให้ผู้เล่นเป็นคนไทย ที่จะพยายามตีกันเองแย่งดินแดน แต่ถ้าไม่มีคนชนะก็จะเสียดินแดนให้อังกฤษ เสียดินแดนมากๆเข้าก็โดนยึดประเทศ … อารมณ์ก็ ตีกันไปแต่ไม่ให้เสียเอกราช ถามว่าสนุกมั้ย ก็สนุกดี แต่ไม่สุด …ประมาณว่าไพ่จำกัด ทำให้เล่นแล้วผลัดแพ้ผลัดชนะ ตามดินแดนต่างๆ จนผมได้มาค้นเจอแนวคิดตอนออกแบบ คืองี้ ฝรั่งคนนี้จากการศึกษาของเค้า เค้าได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า ที่คนไทยรอดมาได้นี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิสัยของคนไทย โดยเฉพาะคำว่า “ไม่เป็นไร” นี่คือแก่นของแนวคิดคนไทย ที่ทำให้ยอมเสียดินแดนบ้างก็ได้ “ไม่เป็นไร” แต่ฝรั่งไม่รู้จักคำว่า “ไม่เป็นไร” เขาเลยพยายามทำเกมที่จะสอนฝรั่งเรื่องคำว่า “ไม่เป็นไร” ทำอย่างไรให้คนเล่นรู้สึกว่า ชนะหมดไม่ได้หรอก ต้องมีแพ้บ้าง “มันไม่เป็นไร” คือมันว้าวมาก … คือแบบว่าพอได้เข้าใจการออกแบบเกมทั้งหมดของเค้า และ เข้าใจเรื่องที่เขาอยากจะสื่อแล้ว พบว่า เกมมันโอเค เมกเซ้นต์มากขึ้นเลย ก็เลยชอบเกมนี้เป็นพิเศษContinue reading “King of Siam”

Barbarossa

ออกแบบโดยลุง Klaus Teuber ผู้ออกแบบเกมคาทาน เกมนี้ออกแบบก่อนคาทานซะอีก แถมได้ได้ SDJปี 1988ด้วย Barbarossa เป็นภาษาอิตาลี แปลว่า หนวดแดง (red beard) เกมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือนิยายแฟนตาซีไตรภาค Die Schule der Rätselmeister (School of the Riddle Masters) เนื้อเรื่องเกี่ยวกับพ่อมด ที่สร้างปริศนาและแข่งกันทายเป็นทัวนาเมนท์ จากบทสำภาษณ์ ลุง Klaus Teuber บอกว่า ตอนอ่านหนังสือจบ ลุงแกเสียใจมาก เพราะเหมือนกับเพื่อนสนิทคนนึงได้จากไป ลุงแกเลยคิดอยากจะหาวิธีที่จะให้หนังสือนั้นอยู่กับเราได้นานขึ้น ซึ่งสิ่งที่ลุงทำคือ สร้างเกมเกี่ยวกับหนังสือขึ้นมานั่นเอง อ่านบทสำภาษณ์ของลุงเต็มๆกัน “As you know there are moments when you close a book really sad that it’s over. AfterContinue reading “Barbarossa”

Gamification: การเอาเกมมาเป็นสื่อการสอน ถือเป็น Gamification มั้ย?

#Gamification ตอนที่3 การเอาเกมมาเป็นสื่อการสอน ถือเป็น Gamification มั้ย? ช่วงหลังๆมานี้มีการอบรมเรื่อง Gamification เยอะขึ้นนะครับ เริ่มเห็นตาม Feed FB ไม่ว่าจะเป็นด้าน HR หรือ การทำธุรกิจ แต่ทีนี้พอเข้าไปอ่านดูก็จะพบว่า บางอันจะเป็นสอนการใช้เกมบ้าง หรือ การออกแบบเกมสำหรับการเรียนการสอน การอบรมบ้าง ซึ่งการใช้เกมเป็นสื่อการสอนนี้ ยังไม่ถือเป็น Gamification ครับ แต่ถือว่าเป็น Game-Based Learning ถามว่า 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง หลักๆก็คือ Game-Based Learning คือสื่อการสอน ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่นเกม ซึ่งเจตนาของการใช้เกมคือเพื่อทำให้การเรียน การอบรม สนุกสนานและดึงดูดมากขึ้น รวมถึงช่วยสร้างสถานการณ์ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น Gamifciation คือ ผู้เรียนยังคงเรียนด้วยวิธีเหมือนเดิม แต่มีการจูงใจด้วยการให้แต้มเป็นต้น ซึ่งแต้มนี้จะให้เมื่อผู้เล่นทำพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ทำคะแนนออกมาได้ดี หรือ เข้าเรียนครบถ้วน ประมาณนี้ สรุปง่ายๆ Game-Based Learning คือ การเรียนรู้ผ่านเกมContinue reading “Gamification: การเอาเกมมาเป็นสื่อการสอน ถือเป็น Gamification มั้ย?”

Gamification คืออะไร

#Gamification ตอนที่2 เมื่อวานเราคุยกันไปว่า เกมทุกวันนี้ได้ออกแบบมาให้เราติด ซึ่งจุดนึงที่น่าสนใจคือ ตัวเกมไม่เคยบังคับเราเลย ว่าต้องทำอะไรบ้าง …. เกมทำได้แต่จูงใจเรา เกมสามารถทำให้เรารู้สึกว่า กิจกรรมในเกมนั้นน่าสนใจ คุ้มค่าที่จะเสียเวลาเล่น กระทั่งคุ้มค่าที่จะเสียเงินจริง ๆ ลงไปซื้อของในเกม ซึ่งไม่มีประโยชน์ในชีวิตจริงเลย ต่างจากการทำงาน หรือ การเรียนในแต่ละวัน ซึ่งสิ่งที่เราทำนั้นเราได้เงินจริง ได้ความรู้ ได้ประโยชน์จริง แต่บางครั้งเรากลับไม่รู้สึกจูงใจ แถมรู้สึกเป็นภาระเสียอีก ซึ่งน่าสนใจมาก ก็เลยมีบางคนถึงกับบอกว่า แท้จริงแล้วเราควรจะเรียกนักออกแบบเกมว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้าง Engagement เลยนะ เพราะเค้าจูงใจคนได้เก่งมากกก เมืองนอกได้ศึกษาเพื่อหาว่ามี Engagement Element อะไรซ่อนอยู่ในเกมบ้าง ศึกษากันจริงจังเลย เป็นวิชาด้านจิตวิทยา แล้วเขาได้มีการทดลองเอาไอ้ element เหล่านั้นไปใส่ในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เกมเขาพบว่าก็ทำให้งานอื่นที่เคยน่าเบื่อ กลับสนุกขึ้น คนเต็มใจทำมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องบังคับอีกต่อไป และการทำแบบนี้ได้ถูกเรียกว่า Gamification โดยมีการให้นิยามของ Gamifciation ไว้ว่า “The use of game elements and game design techniques inContinue reading “Gamification คืออะไร”

Gamification

#Gamification ตอนที่1 หลัง ๆ มานี้ เวลาผมไปบรรยายเรื่องเกม หรือ กระทั่งเวลาทำงานปรกติคำถามที่เจอบ่อย ไม่ใช่เกมอะไรดีน่าเล่น แต่เป็นเรื่องปัญหาลูกหลานที่บ้านติดเกม มีคนปรึกษาบ่อยมาก ว่าจะแก้ยังไงดีเมื่อวานก็เพิ่งเจอไปเคสนึง คืออยากจะบอกว่า หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่องการออกแบบเกม ผมพบว่า เกมยุคหลัง ๆ นี้ ไม่ได้เน้นออกแบบเกมให้สนุกเท่านั้น แต่เน้นออกแบบเกมให้ ”ติด” ด้วย เคยอ่านเจอมาว่า CEO ของ Supercell (เจ้าของเกม Clashs of Clan, Clash Royale) บอกว่าเคล็ดลับการออกแบบเกมของเขาไม่ใช่ ทำอย่างไรให้เกมสนุกที่สุดเวลาเล่น แต่คือ ทำอย่างไรให้คนหงุดหงิดที่สุดเวลาไม่ได้เล่น … เกมเขาเลยดัง คนติดกันงอมแงม เวลาคิดถึงเกม เรามักคิดถึงส่วนความสนุก (Fun Element)แต่ลืมคิดถึงว่ามันมีส่วนสร้างความผูกพัน (Engagement Element) ที่ทำให้ติดด้วย สองส่วนนี้คล้าย ๆ กัน แต่ต่างกัน ไว้ว่าง ๆ มาเล่าให้ฟัง Gamification ในบ้านเราก็เหมือนกันContinue reading “Gamification”