SOAR เล่มที่ 13 เป็นหนังสือว่าด้วยการออกวางแผนกลยุทธ์ซึ่ง SOAR เนี่ยก็ได้ยินคนพูดมาถึงนานละ พร้อมทั้งบอกว่า ดีกว่า SWOT ก็ได้ลองอ่านตามเว็ป รวมถึงปรึกษาผู้รู้ สุดท้ายก็เลยซื้อหนังสือเล่มนี้มาลองอ่านเอง.โดยประกอบมาจากตัวอักษร 4ตัว ย่อมาจากS – Strenghts คือ การวิเคราะห์จุดแข็งขององค์กรเราว่าคืออะไร มีความได้เปรียบได้ด้านไหนบ้างO – Opportunities คือ การมองหาโอกาส ว่า ธุรกิจของเรามีโอกาสอะไรบ้างที่รออยู่ หรือ ซ่อนอยู่ รวมถึงมองว่า Stakeholder ของเรานั้นเค้าอยากให้เราทำอะไรA – Aspirations คือ เป้าหมายท่ีองค์กรของเราอยากจะไปถึง ซR – Results คือ ผลลัพธ์ เป็นตัวชี้วัดว่าเราบรรลุเป้าหมายหรือยัง.ควาามดีงามของ SOAR คือ จะเอาหลักคิดเรื่อง Positive Psychology และ Appreciative Inquiry อันนี้แก่นของ SOAR เลย คืองี้ ในการวางแผนธุรกิจ ในบางครั้งเราจะกังวลกับพวกจุดอ่อนหรือปัญหามากเกินไป จนมองไม่เห็นโอกาสท่ีเกิดขึ้นContinue reading “SOAR”
Category Archives: Book Review
2500 สฤษดิ์-เผ่า เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด
2500 สฤษดิ์-เผ่า เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด เล่ม 12 หนังสือว่าด้วยประวัติ การขับเคี่ยวกันของ สฤษดิ์กับเผ่าโดยไม่ได้เล่าตรงๆ แต่จะเล่าประวัติศาสตร์ในตอนนั้น แล้วก็แทรกด้วยว่า ทั้ง 2 คนนี้เป็นเสี้ยวไหนของประวัติศาสตร์เราจะเห็น 2 คนนี้ค่อยๆเลื่อนยศ … จนกระทั่งถึงวันที่ทั้ง 2 คนได้มายืนโลดแล่นเป็นตัวเด่น ที่คนจดจำอย่างทุกวันนี้ . การเขียนแปลกดี เพราะจะมีการแทรก พวกเรื่องเล่าลงไปด้วยเรื่องเล่าจริงๆ เล่าเป็นนิยายเลย เช่นแบบ คนนั้นไปคุยกับคนนี้ แทนที่จะเล่าว่าคุยกันเฉยๆ ก็บรรยายประมาณนี้ “บุรุษร่างใหญ่ในเครื่องแบบพลตำรวจตรี นั่งตาถลนเอากับผม คือเจ้าของเสียงนั้น นัยน์ตาที่จ้องมองผมนั้นแทบว่าจะทะลุออกนอกเบ้า” จะว่าไปก็อ่านสนุกดี แต่พอหลายๆครั้งเข้า ก็อ่านข้ามๆไป เพราะไม่ได้อยากอ่านนิยายขนาดนั้น . ก็เป็นหนังสือประมาณเรื่องเล่า เกร็ดประวัติศาสตร์ ไม่วิเคราะห์ลึก การเชื่อมโยง หรืออะไรมากอ่านแล้วเลยรู้สึกเบาๆ ไม่อ่านยากมากเหมือนที่คิด ท่านใดชอบพวกเกร็ดประวัติศาสตร์ รายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่ค่อยมีคนเล่ากัน ก็มาอ่านเล่มนี้ได้ครับแต่ถ้าท่านใดเป็นชอบอ่านแนวนี้อยู่แล้ว ก็อาจจะไม่ได้มีอะไรใหม่มากนัก ……………………………………… FB: https://m.facebook.com/TrangCatan YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86 ……………………………………….
ขอฝันใฝ่ ในฝัน อันเหลือเชื่อ
หนังสือเขียนถึงเหตุการณ์ในช่วงปี 2475-2500 โดยรวมความเคลื่อนไหวต่างๆของขบวนการปฏิปักษ์การปฏิวัติสยามเรียกง่ายๆก็ รวมบันทึกการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลายๆเรื่องที่เคยรู้ ก็ได้อ่านรายละเอียดมากขึ้นหลายเรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้อ่าน เปิดหูเปิดตามากๆ . เรื่องที่ชอบมากคือ ปทานุกรมของ ส.เสถบุตร คืองี้ Dictionary ของ ส. เสถบุตร นี่ถือว่าเป็นพจนานุกรมประจำบ้านของเด็กไทยซึ่งตัว ส. เสถบุตรเอง เขียนพจนานกุรมนี้ ช่วงติดคุก หลังจากเหตุสนับสนุนกบฎบวรเดช คือ การแปลก็ดีแหล่ะ แต่บางคำที่เกี่ยวของกับการเมือง จะมีการใส่มุมมองส่วนตัวแทรกลงไปในคำอธิบายเช่น Blue means royalty – สีน้ำเงินเป็นสีของความจงรักภักดี Many crimes have been perpetrated under the guise of democracy – การกระทำผิดอันร้ายกาจหลายอย่างได้ถูกก่อขึ้นโดยมีประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ A mob has many heads, but no brains – [ภายหลังการปฏิวัตินั้น] ผู้ชนนั้นมีศีรษะมาก แต่ไม่มีสมองContinue reading “ขอฝันใฝ่ ในฝัน อันเหลือเชื่อ”
ไทยปิฎก
เล่ม 10 หนังสือว่าด้วยเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในวงการศาสนาพุทธของบ้านเราตั้งแต่ เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน หนังสือได้รวมรวม fact และ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น หลายเรื่องเราก็เคยรู้ บางเรื่องก็รู้ผ่านๆ หรือไม่รู้เลย เช่น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถาบันสงฆ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงให้การปกครองมีความทันสมัยมากขึ้น เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คือ 1) สังฆสภา (เทียบเท่ารัฐสภา อำนาจนิติบัญญัติ) 2) สังฆมนตรี (เทียบเท่ารัฐมนตรี อำนาจบริหาร)3) คณะวินัยธร (เทียบกับศาล อำนาจตุลาการ)ซึ่งยังคงมีพระสังฆราชอยู่สูงสุด หนังสือเล่าว่าในช่วงการปกครองแบบนี้ สงฆ์ได้มีระบบระเบียบมากขึ้น เพราะมีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ไม่ได้รวมศูนย์ มีการกำหนดเขตุปกครอง การกำหนดคุณสมบัติการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ การจัดตั้งสำนักวิปัสนาทั่วประเทศ รวมถึงการคุมความประพฤติพระ เช่น ห้ามแสดงตนใบ้หวย ห้ามทดลองของขลัง เป็นต้น แต่การจัดการแบบนี้ก็ได้ถูกยกเลิกไปโดย สฤษดิ์ ยุคที่ระบบประชาธิปไตยไทยถอยหลัง หนังสือยังได้เล่าว่า ในยุคถัดมา ก็มีการบูมขึ้นของพวก เรื่องเล่าความเชื่อ กฏแห่งกรรมต่างๆ เช่นของ ท.เลียงพิบูลย์ ไปจนถึง มุมมองเรื่องคนดีก็เริ่มมาในตอนนี้ที่ว่า ผู้นำเป็นคนดีมีศีลจริยธรรมสำคัญกว่าระบบการปกครอง หนังสือยังได้เขียนถึงContinue reading “ไทยปิฎก”
ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย
ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย เล่ม 9 ไม่ได้อ่านหนังสือสนุกๆแบบนี้มาซักพักละ แนะนำให้อ่านกัน สำหรับคนที่ชอบเรื่องศาสนา ประวัติศาสตร์ และ อยากเรียนรู้มุมมองใหม่ๆ หนังสือ จะเล่าว่า เราอาจจะคิดกันว่า เรานับถือพุทธเป็นแกน แล้วมีพราหมณ์กับผี มาปน (พุทธ-พราหมณ์-ผี)แต่ถ้าเราลองกลับด้านดู ว่าจริงๆแล้วเรามีศาสนาผีเป็นแกนหลักที่ซ่อนอยู่ข้างหลังทั้งหมด เราจะเข้าใจศาสนาของเราได้ง่ายขึ้น (ผี-พราหมณ์-พุทธ) ผีในที่นี้รวมถึงผีบรรพบุรุษ เทพ เทวดา นะ ไม่ใช่แค่วิญญาณ ซึ่งนักวิชาการก็บอก ว่าเราอาจเรียกว่านี่คือ ศาสนาไทย ที่ยำๆสามสิ่งเข้าด้วยกันจนเป็นแบบนี้ . คือพุทธ พราหมณ์ ผี ล้วนแต่มี function ของตัวเองเช่นพุทธมี function ในเชิงจริยธรรม คำสอน แนวปฏิบัติ พราหมณ์มี function ในเชิงพิธีกรรม และ ผีมี function ดลบันดาลให้ได้ดั่งใจ หรือ สร้างความอุ่นใจ ยกตัวอย่างเช่น เรามีความเชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ ขอพรได้Continue reading “ผี พราหมณ์ พุทธ ในศาสนาไทย”
Peacock in the land of penguins
เล่ม 8/2564ก็หนังสือแนว Management ที่แต่งเป็นนิทานเหมือน Who Move My Cheese เนื้อเรื่องว่าด้วย เกาะของนกเพนกวิ้น พบว่า เกาะตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีความแตกต่างเลยชวนนกยูงมาอยู่ด้วย เพื่อสร้างความแตกต่าง สร้างสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรม และเพนกวิ้นก็ประกาศว่า “We value diversity” แต่เนื่องจากนกยูงมีสีสันเกินไป เพนกวิ้นเก่าๆรับไม่ได้ เลยสั่งให้นกยูงมาใส่สูทสีดำเหมือนตัวเองและไม่ว่านกยูงจะพยายามเท่าไหร่ เหล่าเพนกวิ้นก็รับไม่ค่อยได้ เหตุผลคือ สิ่งที่นกยูงทำ มันมีความเป็นเพนกวิ้นน้อยไป และสุดท้ายนกยูงก็ถูกไล่ออกจากเกาะ ด้วยเหตุผลที่นกเพนกวิ้นชวนมาอยู่ตอนแรกคือสร้างสรรค์เกินไป กล้าเกินไป และ มีความเป็นเพนกวิ้นน้อยไป ซึ่งเพนกวิ้นก็ยังคงประกาศว่า “We value diversity” . ก็เป็นหนังสือว่าด้วยการสร้าง Culture องค์กร การเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ สิ่งที่ผมได้จากเล่มนี้คือ ปัญหาที่หนังสือเล่มนี้เสนอคือ ไม่ใช้เน้นว่า จะให้นกยูงปรับตัวยังไง แต่เป็นเพนกวิ้นต่างหากที่ต้องปรับตัว แต่องค์กรต่างๆ มักจะโทษนกยูง ลืมที่โทษตัวเพนกวินเอง วัฒนธรรมที่จะทำให้องค์กรสำเร็จคือ Accptance and Trust ยอมรับและเชื่อมั่นในกันและกัน ปล่อยให้มีการแชร์ความรู้ความสามารถหว่างกันContinue reading “Peacock in the land of penguins”
5 หนังสือน่าอ่านประกอบการเล่นเกม Root
เกม Root กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหลังจากที่กำลังจะได้มีการแปลไทยโดย The Stronghold SIAM : Gateway to Board Games ซึ่งเกมนี้ผมชอบเป็นพิเศษตรงธีม ที่สะกัดเอาแก่นของเรื่องราวบางอย่างมาเล่าได้อย่างกำลังดี ไม่รู้สึกยัดเยียด คือจะเล่นเอาสนุก หรือ เอาธีมมาคุยถกเถียงกันต่อก็ได้ สำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยรู้จักเกมนี้ ธีมหลักๆของเกมก็ ว่าด้วยสงครามแย่งชิงดินแดนของหมู่สัตว์ ที่มีแมวเป็นผู้ปกครองคนปัจจุบัน นกซึ่งเป็นราชวงศ์เก่าพยายามจะยึดอำนาจคืน มีสัตว์ป่าชาวบ้าน และ มีภาคเสริมที่เพิ่มกิ่งก่าเจ้าลัทธิ หรือ ตัวนากพ่อค้า . พอเกมนี้จะได้แปลไทย ก็มีน้องๆบางคนมาชวนคุยเกี่ยวกับเกมนี้ ในธีมการเมือง ซึ่งมันเข้ากับบ้านเราพอดี ก็ทำให้ผมหยุดคิดถึงมันไม่ได้ และ คิดว่า ถ้าใครอยากจะศึกษาต่อ ควรอ่านหนังสืออะไรดี ในมุมมองของผมนะครับ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรีย์คงไม่มีเล่มไหนเหมาะเท่าเล่มนี้แล้วในยุคนี้ สำหรับการต่อสู้กันของขั้วอำนาจ สิ่งเดียวที่แตกต่างกันของ หนังสือเล่มนี้ต่างจากเกม Root ตรงที่ Root นั้นมีบทบาทของประชาชน Animal Farmเมื่อเหล่าสัตว์ยึดฟาร์มจากมนุษย์และปกครองตัวเอง หนังสือบางๆแต่ทำให้เห็นภาพการฉ้อฉล และ วิธีการควบคุมประชาชนของท่านผู้ทำ 1984ว่าด้วยสังคมที่ถูกปกครองด้วยความหวาดกลัว เพราะรู้สึกว่าถูกจับตามองตลอดเวลาจนไม่กล้าทำอะไรContinue reading “5 หนังสือน่าอ่านประกอบการเล่นเกม Root”
เส้นทางอัศวิน
เป็นหนังเสือเกม แบบที่เราเคยเล่นตอนเด็กๆ ที่ต้องตัดสินใจ และ เปิดไปยังหน้าต่างๆ เพื่อดูผลลัพท์การตัดสินใจ ธีมคือเราเป็นอัศวินฝึกหัด ออกเดินทางผจญภัย โดยรวมก็เป็นสำหรับเด็ก พล๊อตสนุก แต่ไม่ได้ใช้ความคิดมาก ดีที่มี puzzle แทรกเป็นระยะๆ เลยพอให้สนุกขึ้น . เล่นไปรอบนึง แล้วเกิดไอเดียเอาไปเล่าเป็นนิทานให้ลูกฟัง (4 ขวบ) พบว่าเด็กๆสนุกมาก เพราะได้เลือกเนื้อเรื่องนิทานเอง ต่างจากนิทานปรกติที่เคยฟัง สิ่งที่เคยน่าเบื่อสำหรับผู้ใหญ่ เช่น การพลิกหนังสือไปมา พบว่าเด็กๆชอบมาก ลุ้นตามตื่นเต้น โอเค มีโกงๆบ้าง ให้เด็กเล่นได้ นี่เล่าจบไป 1 รอใช้เวลา 2 วัน นี่ลูกๆขอให้เล่ารอบ 2 … สบายละ ปล. เล่ม7 ……………………………………… FB: https://m.facebook.com/TrangCatan YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86 ……………………………………….
ปีศาจ
เล่มที่ 6 นิยายอมตะของไทย เขียนเมื่อปี 2496หนังสือเก่าอายุร่วม 70 ปีแต่เนื้อหาไม่ได้เก่าเลย เนื้อหาว่าด้วย การเมือง ความเหลื่อมล้ำ คนยุคเก่าที่ไม่ยอมรับความคิดคนยุคใหม่ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และ เรียกเด็กเหล่านั้นว่า “ปีศาจ”ปีศาจของการเวลาได้เกิดขึ้นแล้ว ห้ามไม่ได้ แต่คนยุคเก่าทั้งหลายไม่ยอมรับมัน สำนวนและภาษาการเล่าจะดูโบราณ พล๊อตดูไม่หวือหวาเหมือนนิยายปัจจุบันแต่สารที่หนังสือส่งมันแรง และ กระแทกหน้ามาก จนทำให้อ่านจบแล้วหยุดคิดไม่ได้ . หนังสือจะเล่าถึงเหตุการณ์ความเหลื่อมล้ำ และ ทัศนคติในยุคนั้นอ่านแล้วจะบอกว่า น้ำตาไหล เพราะว่า ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ปัญหาที่เคยเกิด ก็ยังคงอยู่ไม่รู้จะเรียกว่าคนเขียนท่านอัจฉริยะ หรือ ประเทศเราย่ำอยู่ที่เดิม … เศร้าสัสครับ สิ่งที่ตนเมื่อ 70 ปีก่อนเรียกร้อง ยังคงดังก้องอยู่ถึงปัจจุบันจริงๆ สังคมก็เปิดกว้างมากขึ้นนะ เสรีมากขึ้น แต่แก่นของปัญหาบางอย่างยังวนอยู่ที่เดิม ทำให้บอกไม่ถูก ว่าอ่านแล้วรู้สึกอะไรระหว่างการมีความหวัง หรือ ทำให้ท้อแท้ มีความหวังเพราะ ไม่มีใครหยุดปีศาจแห่งการเวลาได้ท้อแท้เพราะผ่านมานานมันก็ยังเหมือนเดิม . คำถามหลักที่ผมเกิดขึ้นกลายเป็นว่า สังคมเรามันมีการเป็นอยู่ และ สืบทอด สิ่งเหล่านี้มาได้อย่างไร .Continue reading “ปีศาจ”
Book Review: i never metaphor i didn’t like
i never metaphor i didn’t like หนังสือว่าด้วยคำเปรียบเปรย อุปมาอุปมัยต่างๆ (สำนวนฝรั่งนะ) อ่านเพลินมาก สนุกดีหนังสือเริ่มจากสอนก่อนว่าคำเปรียบเปรยนี่มีไว้เพื่อทำให้ช่วยเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น แถมยังกระชับและสละสลวย หากเลือกการเปรียบเปรยดีๆ ซึ่งการเปรียบเปรยนี้มี 3 ลักษณะคือ 1 Analogy คือการเปรียบเทียบ ว่า 2 สิ่งที่ไม่เหมือนกัน มีอะไรที่เทียบเคียงกันได้ มักใช้ใช้เพื่อบรรยาย เช่น “Reading is to the mind, what exercise is to the body” หรือ “As soap is to the body, tears are to the soul.” โครงสร้างก็ A is to B as CContinue reading “Book Review: i never metaphor i didn’t like”