#Gamification ตอนที่6
เรื่อง Gamification นี้ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนได้ว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็น Gamification
ก็มีรูปนึงครับ ที่อธิบายความแตกต่างของ Gamification กับสิ่งต่างๆได้ดี

รูปนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ช่อง
โดยแกนตั้ง คือ “Gaming” กับ “Playing” หลัก ๆ คือ เกมจะมีกติกา มีเป้าหมาย แต่การเล่นคือการเน้นที่ความสนุก ไม่ได้มีกติกาตายตัว จะเป็น Free Play ซะกว่า และ แกนนอนคือ การแบ่งว่ามีองค์ประกอบเพียงบางส่วน หรือทั้งหมด
มุมซ้ายบน คือ ในทุกองค์ประกอบคือเกม สิ่งนี้ได้แก่เกมทั่วไปที่เราเล่นนั่นเองครับ เช่น เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ บอร์ดเกม เพราะมันคือเกมทั้งหมดไม่มีสิ่งอื่นเจือปน อันนี้ตรงไปตรงมา
ในขณะที่มุมซ้ายล่าง คือ การเล่นในทุกองค์ประกอบ สิ่งนี้จะเรียกว่าของเล่นครับ เช่นหุ่นยนต์ เลโก้ เป็นต้น นี้ก็ตรงไปตรงมาเช่นกัน
เกมมิฟิเคชั่นของเราจะอยู่ในช่องขวาบน เพราะคือการปรับเอาความเป็นเกมมาเป็นองค์ประกอบบางส่วนที่ไม่ใช่เกม
ในขณะที่ช่องขวาล่างซึ่งคือการเอา “การเล่น” มาปรับใช้เพียงแค่บางส่วน จะถูกเรียกว่า Playful Design ซึ่งคือการออกแบบกิจกรรมในการเรียนการสอน หรือ การอบรมให้มีสีสันไม่น่าเบื่อ เช่น แทนที่จะให้นักเรียนมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แต่เปลี่ยนเป็นให้นักเรียนออกมาทำการแสดงแทน เป็นต้นครับ
ความสับสนจะเกิดระหว่าง Playful Design กับ Gamification โดยเฉพาะเวลามีการนำเกมมาปรับใช้ เช่น การนำเกมทอยลูกเต๋ามาสอนวิชาความน่าจะเป็น จะถือได้ว่าเป็น Playful Design เพราะคือการทำให้เนื้อหาสนุกและเข้าใจง่ายมากขึ้น ในขณะที่หากเป็นเกมมิฟิเคชั่นจะเน้นที่การส่งเสริมพฤติกรรม เช่น มีการให้แต้มเมื่อเข้าเรียนหรือเมื่อทำการบ้านส่งตรงตามเวลา
อะไรประมาณนี้ครับ