Book review: The 4 Disciplines of Execution

เล่ม 20/2020

The 4 disciplines of execution

บางท่านอาจจะพอทราบว่าผมทำงานด้านการวางแผนกลยุทธ์องค์กร ทีนี้ทีมผมปีนี้มีแผนจะทำ Strategy look back เพื่อทำ Lessons Learned เก็บไว้

ทีนี้สิ่งนึงที่เป็นความท้าทายของการวางแผนกลยุทธ์ คือ Execution เพราะบางทีถึงแผนจะดี แต่ทำไม่ได้ตามแผนก็ทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่วางไว้ได้

ผมก็เลยไปหาหนังสือมาอ่าน แล้วเจอเล่มนึงที่น่าสนใจ เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟัง

หนังสือบอกว่า การที่องค์กรจะมี Execution ที่ประสบความสำเร็จได้ ต้องมีองค์ประกอบ 4 ด้านซึ่งหนังสือเค้าเรียกว่า the 4 disciplines of execution สรุปได้ตามนี้ครับ

Discipline 1: Focus on the wildly important

คือการให้ความสำคัญกับเป้าหมายที่สำคัญเท่านั้น องค์กรต้องเลือกว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด 1-2 อย่างแล้ว focus ลงไปกับสิ่งนั้น ซึ่งข้อดีคือ พนักงานจะรู้และเข้าใจง่ายว่า ตอนนี้องค์กรกำลังให้ความสำคัญกับอะไร ถ้าเป้าเยอะไป พนักงานจะสับสน

มันมีการศึกษาบอกว่า องค์กรที่มีเป้าหมายสำคัญเยอะเกินไป มีแนวโน้มที่จะไม่สำเร็จซักอย่างเลย ตัวอย่างเช่น Nasa ที่ตอนแรกมีเป้าหมายเต็มไปหมด ตอนหลังปรับเป็น เราจะไปดวงจันทร์ …. เท่านั้นแหล่ะ เค้าก็สามารถไปดวงจันทร์ได้ และ เป็นองค์กรชั้นนำ

Discipline 2: Act on the lead measures

ตัวชี้วัดการทำงานมีหลายตัว องค์กรต้องระบุออกมาให้ชัดว่า Leading Indicator สำหรับ การบรรลุเป้าหมายสำคัญ (ในข้อที่แล้ว) คืออะไร แล้วก็สื่อสารกับพนักงานให้ชัด เพื่อที่พนักงานจะได้รู้ว่า เขาต้องทำอะไร

Leading Indicator คืออะไร หลักๆก็ สิ่งหรือการกระทำที่เป็น “เหตุ” ให้เกิดผลลัพท์ที่ต้องการ เช่น อยากปลูกมะม่วง leading indicator ก็รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยเป็นต้น

การตั้ง KPI ก็ควรเน้นตรง Leading Indicator ไม่ใช่ Lacking Indicator ที่เป็นผล เช่นพวก ผลประกอบการ … Lacking ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่ต้องเน้นพวก Leading ด้วย

Discipline 3: Keep a compelling scoreboard

คือการทำให้พนักงานทุกคนได้รู้ความคืบหน้าตลอดเวลา ว่าตอนนี้ status ไปถึงไหนแล้ว on track มั้ย หรือว่า ล่าช้ากว่าแผนไปแล้ว

ปัญหาของ Execution คือ บางทีพนักงานไม่รู้ว่าภาพใหญ่ตอนนี้องค์กรอยู่ตรงไหน ใกล้หรือไกลจากเป้าเท่าใด อาจจะทำเป็นกราฟง่ายๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน

เป้าหมายขององค์กรเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนควรรู้ ไม่ใช่เฉพาะผู้บริหาร

Discipline 4: Create a cadence of accountability

คือการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม ในการทำงานให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกระดับ

Discipline 3 ข้อแรก เทียบได้กับการเตรียมตัว แต่ข้อ4 นี่คือการเริ่มเกมอย่างแท้จริง เพราะถ้าเราไม่สามารถสามารถความรู้สึกมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นได้ ก็ยากที่ Execution จะเกิดขึ้นได้จริง

แล้วจะสร้างได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ให้มีการประชุมทีม “เร็วๆ” เพื่ออัพเดทความคืบหน้า อาจจะเป็นอาทิตย์ละหนก็ได้ แล้วแต่งาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าอยู่ใน Flow ของงานตลอดเวลา รู้ความเคลื่อนไหวของงานว่าใกล้เป้าหมายหรือยัง

หลักๆคือเดิมทีเป้าหมายองค์กร จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องของผู้บริหาร ไม่ใช่เรื่องของพนักงาน ถ้าอยากจะ Execution ให้ประสบความสำเร็จ เราต้องสร้างความมีส่วนร่วมให้กับพนักงานให้ได้

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: