“ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ”

สิ่งนึงของการได้ออกแบบบอร์ดเกม และ ได้ช่วยเทสเกมต่างๆ คือได้เรียนรู้ว่า “ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ”

ประมาณว่า กฎทำออกมาแล้วมีปัญหานิดหน่อย ก็ใส่กฎเพิ่มไปเพื่อปิดช่องโหว่
แต่ใส่ไปใส่มา กลายเป็นว่าเกมซับซ้อนวุ่นวายไปหมด ทำให้ผู้เล่นจะต้องจำกฎปลีกย่อยเพิ่มขึ้น

และ ที่สำคัญการเพิ่มกฎ ก็เพิ่มโอกาสในการที่กฎมันจะขัดกัน มีปัญหาให้แก้เพิ่มเข้าไปอีก

ทางออกแก้ที่ควรคือ ไปปรับกติกาตัวแรกให้เหมาะสม ไม่ขัดแย้ง พยายามทำให้ Simple ที่สุด ถ้าสับสนก็นึกย้อนว่าเราต้องการอะไรกันแน่ … มันคิดยากนะ แต่จบ

.

ตัวอย่างที่ดีของความผิดพลาด ที่การพยายามแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ คือ ระบบสอบเข้ามหาลัยของไทย

ตอนแรกกลัวเด็กเครียด ก็เลยมีระบบใหม่สอบสองครั้ง เลือกคะแนนที่ดีที่สุดมายื่น
สอบสองครั้ง แต่มหาลัยเปิดเวลาเดิม ทำให้ต้องสอบเร็วขึ้น กลายเป็นเด็กเรียนพิเศษหนักขึ้น ไม่ตั้งใจเรียนในห้อง

ก็เลยเพิ่มระบบให้เอาเกรดระหว่างเรียนม.ปลายมาคิดด้วย
ซักพักก็มีปัญหาว่าแต่ละโรงเรียนมีมาตราฐานเกรดไม่เท่ากัน …. ก็จัดสอบวัดมาตรฐานโรงเรียนเพิ่ม (สอบเยอะขึ้น)

ซักพักมหาลัยเริ่มไม่ชอบระบบสอบ เลยจัดสอบตรงเยอะขึ้น
เด็กๆไล่สอบตรงตามมหาลัยต่างๆ (สอบเยอะขึ้น) และ เพิ่มปัญหาสอบตรงติดได้แล้วแต่ไม่เอา ทำให้บางคณะเด็กเข้าเรียนไม่พอ

ก็เพิ่มกฏ ระบบ clearing house ต่างๆเข้ามา … และอื่นๆอีกมากมายที่ตามมา เล่าไม่ไหว

จนถึงทุกวันนี้ ต้องสอบ 20-30 วิชาใน ไม่กี่สิบวัน
สอบกันบ้าระห่ำ เหมือนลืมว่าตอนแรกไม่อยากให้เด็กเครียด

จนมีเด็กออกมาโวยวายว่าเครียดเกินไป มันเกินจำเป็นแล้ว ก็ไม่ฟัง

.

นั่นหล่ะครับ…สวัสดี


FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86


……………………………………….

รางวัลมีกี่ประเภท?

#Gamification ตอนที่17

ในการเล่นเกมต่างๆ และ ในเกมมิฟิเคช่ัน สิ่งนึงที่สำคัญมากคือ การให้รางวัล เพราะรางวัลนี้ถือว่าเป็น Motivator ที่ดีอย่างนึง ซึ่งโดยปรกติเราจะคิดถึงรางวัลที่เป็นสิ่งของ หรือ เงิน แต่ว่าจริงๆแล้วรางวับที่คนชอบมีมากกว่านั้นครับ

จากหนังสือ Gamification by Design ได้บอกว่า รางวัลนี้มี 4 อย่างเลยทีเดียวครับ เรียกย่อๆว่า SAPS

  1. Status (สถานะ)

สถานะคือสิ่งแสดงความแตกต่างกันของเรากับคนอื่น ซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อตำแหน่ง ยศ หรือ ฉายาบางอย่างก็ได้

  • Access (การเข้าถึง)

คือการให้สิทธิ์ผู้เล่นเข้าถึงอะไรบางอย่างที่พิเศษกว่าคนอื่น ประมาณว่าคนอื่นเข้าไม่ได้ ตัวอย่างนึงคือคือ เลาจ์ของสายการบินต่างๆ ที่คนจะเข้าได้ต้องเป็นสมาชิกก่อน แถมเข้าไปแล้วยังมีห้องสำหรับคนที่ถือบัตรพิเศษแยกเข้าไปอีก หรือ กระทั่งการมีแถว check in พิเศษไม่ต้องไปต่อแถวยาวๆ กับลูกค้าทั่วไป

  • Power (อำนาจ)

คือการให้อำนาจเพิ่มเติมแก่ผู้เล่น ต้องยอมรับครับ ว่าคนเรานี่ชอบที่จะได้รับอำนาจเหนือคนอื่น ตัวอย่างเช่นในระบบเว็บบอร์ดสมัยก่อน ที่พอใครมีอันดับสูงๆ ก็จะสามารถเข้าไปแก้ไขโพสต์ของคนอื่นได้

  • Stuff (สิ่งของ)

คือสิ่งของที่จับต้องได้ต่างๆ ไปจนถึงของที่จับต้องไม่ได้ อยากจะบอกว่า สิ่งของที่จับต้องไม่ได้นี้ไม่ควรมองข้ามนะครับ เพราะมีการศึกษาออกมาว่า สำหรับมนุษย์แล้ว สมองเรามีความสุขกับของที่จับต้องไม่ได้ พอๆกับของที่จับต้องได้ 555

ถามว่ารางวัลแบบไหนสำคัญที่สุด ก็มีบางคนบอกว่า ไล่จากบนลงล่างครับ แต่เอาเข้าจริงแล้วในการออกแบบเกมมิฟิเคชั่น ควรจะมีให้ครบทั้ง 4 แบบไปเลยจะดีที่สุดครับ


FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86

Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse

#Gamification ตอนที่16

ช่วงนี้มีแอฟใหม่กำลังดัง คือ Clubhouse ที่ทุกท่านคงรู้จักกันดีแล้ว ที่นี้พอผมได้เล่นแล้วก็พบว่าสนุกกว่าที่คิด

แต่ว่า สิ่งนึงที่ผมรู้สึกว่า Clubhouse ทำออกมาได้ดีมากคือ การสร้างความรู้สึก “อยาก” เล่น ไม่ว่าทำให้คนที่ไม่เคยเล่นได้อยากเล่น หรือ ทำให้รู้สึกอยากกลับเข้ามาเล่นซ้ำอีก

ก็พบว่ามันมีหลักการของ Gamification ซ่อนอยู่ ซึ่งตัวเด่นๆที่พบเห็นก็ตามนี้ครับ

  1. Access & Power

ขอเท้าความก่อน ว่าการให้รางวัลในเกมนั้นจริงแล้วไม่มีแต่การให้สิ่งของ แต่ว่าจริงแล้วมีถึง 4 รูปแบบ เรียกว่า SAPS ย่อมาจาก Status (สถานะ), Access (การเข้าถึง), Power (อำนาจ) and Stuff (สิ่งของ)

ซึ่ง SAPS นี้บางคนก็เรียกว่า framework of motivators ที่เป็น 4 สิ่งหลักที่จูงใจคนได้ สิ่งนี้แปลว่าอะไร แปลแบบง่ายๆได้ว่า จริงแล้วคนเราไม่ได้อยากได้สิ่งของเสมอไป การได้เข้าถึง (Access) บางสิ่งบางอย่างที่คนอื่นเข้าไม่ได้ มันก็สามารถจูงใจได้เช่นกัน

ซึ่งเราจะเห็นว่า Clubhouse นี่เล่นกับ Access (การเข้าถึง) และ Power (อำนาจ) อยู่พอสมควรเลย

2. The Scarcity Effect

คือความรู้สึกที่ว่า ความต้องการจะเพิ่มขึ้น เมื่อบางสิ่งบางอย่างนั้นหายาก หรือ มีจำนวนน้อยลง หรือ กระทั่งใกล้หมดเวลาแล้ว

ตัวอย่างเช่น เวลาเราจองห้องพักในแอป บางแอปก็จะมีตัวเลขบอกว่า ห้องที่เราสนใจตอนนี้เหลือ 3 ห้อง พอเวลาผ่านไปซักพักเลขก็จะอัพเดทว่าตอนนี้เหลือ 2 ห้อง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกอยากจอง อยากรีบซื้อ


ลองมาดูกันครับว่า Gamification 2 เทคนิคซ่อนอยู่ตรงไหนบ้าง

  • เริ่มตั้งแต่ Clubhouse ที่ตอนถ้าจะ “เข้า” เล่นได้มันต้องมี iOS ก่อนจะเข้าได้ก็ต้องรอเพื่อน Invite ซึ่งนี่คือการเล่นกับ [Access] [Scarcity]
  • พอเราเข้าได้ สิ่งแรกที่เราได้มาทันทีคือ เรา Invite เพื่อนได้ แต่ก็ Invite ได้จำกัดนะ ซึ่งคือ [Power] [Scarcity]
  • เราสามารถเข้าไปนั่งฟังคนดังๆพูดได้ [Access]
  • และเราสามารถยกมือถามคนพูดได้โดยตรง ซึ่งต่างจาก App อื่นที่อย่างมาก็ให้ฟังหรือพิมพ์ถาม [Power]
  • แต่ละห้องก็มีจำนวนคนฟังจำกัด เข้าไม่ทันก็อด [Access] [Scarcity]
  • บันทึกเสียงย้อนหลังไม่ได้ ถ้าไม่ว่างฟังตอนนั้นก็อด [Scarcity]

สรุปคือ Clubhouse หลักๆนั้นจะเล่นอยู่กับเทคนิค Gamification ด้าน การเข้าถึง (Access) และ และความหายาก (The Scarcity Effect)

นี่แปลว่าอะไร แปลว่าเราอาจจะรู้สึกว่าเราอยากเข้าไปเล่น Clubhouse ด้วยตัวเอง แต่จริงๆแล้ว Clubhouse ต่างหากที่ทำตัวให้น่าเล่น แล้วล่อให้เราอยากเข้าไปเล่น ก็ได้ครับ

บางทีนี่อาจจะเป็นความบังเอิญก็ได้นะ แต่ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่านักพัฒนาระดับโลกเค้าไม่ลืมคิดเรืื่องพวกนี้หรอกครับ เพราะ เรื่องนี้มันก็อยู่ใน The Hook Model

Gamification นี่จะเหมือนกับ The Hook Model ตรงที่ประเด็นในการสร้าง Motivation แต่ต่างกันหลักๆที่ Gamification จะเน้นการใช้เทคนิคเกม ส่วนThe Hook Model จะเป็นเรื่องTriggers

ไว้ตอนหน้าจะมาเล่าเรื่อง The Hook Model กับ SAPS โดยละเอียดให้ฟัง


FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86

Book Review: i never metaphor i didn’t like

i never metaphor i didn’t like

หนังสือว่าด้วยคำเปรียบเปรย อุปมาอุปมัยต่างๆ (สำนวนฝรั่งนะ) อ่านเพลินมาก สนุกดีหนังสือเริ่มจากสอนก่อนว่าคำเปรียบเปรยนี่มีไว้เพื่อทำให้ช่วยเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น แถมยังกระชับและสละสลวย หากเลือกการเปรียบเปรยดีๆ

ซึ่งการเปรียบเปรยนี้มี 3 ลักษณะคือ

1 Analogy

คือการเปรียบเทียบ ว่า 2 สิ่งที่ไม่เหมือนกัน มีอะไรที่เทียบเคียงกันได้ มักใช้ใช้เพื่อบรรยาย เช่น “Reading is to the mind, what exercise is to the body” หรือ “As soap is to the body, tears are to the soul.”

โครงสร้างก็ A is to B as C is to D

2 Metaphor

คือการเปรียบว่าอะไร “เป็น” อะไร วิธีนี้จะบอกไปเลยว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งนั้น ไปเลย เช่น “Worry is interest paid on trouble before it falls due.”

โครงสร้างก็ A is B

3 Simile

คือการเปรียบ “เหมือน” จะคล้ายๆกับ Metaphor ต่างที่ไม่บอกว่าเป็นแต่จะบอกว่าเหมือนแทน เช่น “Hard as Rock”

โครงสร้างก็ A Like/As Bค

วามดีงามของหนังสือคือ ไม่ได้เป็นวิชาการอะไรมาก บทย่อยต่างๆจะเน้นเป็นหมวดหมู่ของการเปรียบเทียบ เช่น ชีวิต ความรัก การหัวเราะ โน่นนั่นนี่ ว่าแต่ละคำมีการเปรียบเปรยอะไรบ้าง พร้อมคำอธิบายนิดหน่อยหนังสือเน้นสาดคำคมมาให้เรา

ซึ่งผมแล้วแล้วสนุกดี เพราะไม่ได้วิชาการมากไป

…………………………………..

คำคมที่ผมชอบก็เช่น

Some books are to be tasted, others to be swallowed, and some few to be chewed and digested.

The world is a book, and those who do not travel read only one page.

Holding on to anger is like grasping a hot coal with the intent of throwing it at someone else; you are the one who gets burned.

Don’t judge each day by the harvest you reap, but by the seeds you plant.

คือมีเยอะมากกกก

…………………………………..

สรุปหนังสือดี เหมาะสำหรับนักเขียน หรือ คนที่พูดบ่อยๆแล้วอยากจะหาสำนวน แต่ถ้าจะอ่านเอาวิชาการเทคนิคจริงจังคงไม่เหมาะ หนังสือจะเหมาะสำหรับไว้ต่อยอดไอเดีย หรือ จำมาใช้เลย

แต่ถ้าไม่สนใจตรงนี้ หรือ ต้องทำงานด้านนี้ ผมว่าไม่ต้องซื้อก็ได้นะ หาๆตัวอย่างดูจาก google ได้

แต่การใช้คำเปรียบเปรยนี่อยากให้ศึกษาไว้นิดนะ เพราะใช้ตัวอย่างผิดนี่ชีวิตเปลี่ยนเลย เช่นบอกว่างานตัวเองสำคัญเหมือนกระดาษทิชชู่ นี่ ไม่เวิร์คมากๆ อย่าทำ

……………………………………..

FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86

เทคนิคพื้นฐาน Gamification

#Gamification ตอนที่15

เกมมิฟิเคชั่นคือ การเอาเทคนิคของเกมมาปรับใช้

แต่ถ้าอ่านบทความที่ผมเขียนย้อนหลัง มันจะดูอ้อมๆไม่เข้าเทคนิคซักที คืออยากจะให้เข้าใจภาพรวมกันก่อน แต่คิดไปคิดมาเข้าประเด็นเลยก็ดี แล้วรายละเอียดย่อยๆ ค่อยทยอยเขียนเสริม เช่นพวก Reward คืออะไร มีกี่แบบ หรือ ผู้เล่นแบ่งได้กี่แบบ คนเวลาเล่นเกมมีกี่นิสัย เป็นต้น เพราะถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็จะรู้ว่าควรใช้เทคนิคไหนเมื่อไหร่ดี

เทคนิคของเกมมิฟิเคชั่นนี่ ถ้าเอาหลักๆ มันคือการเอาเทคนิคการ Feedback ของเกมมาใช้ครับ

Feedback คืออะไร มันคือการบอกผู้เล่นว่าที่เพิ่งทำไปมันดีหรือไม่ดีอย่างไร ผู้เล่นอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น เพื่อจูงใจให้ผู้เล่นอยากทำต่อ

Feedback ไม่ใช่การให้รางวัลนะ แต่คือการทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ และ ยังเป็นบอกผู้เล่นด้วยว่า พฤติกรรมให้เราส่งเสริม

เทคนิคพื้นฐานของเกมมิฟิเคชั่นเรียกสั้นว่าๆ PBL ย่อมากจาก Point, Badge and Leader Board


Point (แต้ม)

จริงๆแล้ว Point ไม่ได้มีไว้แข่งกัน แต่มีไว้บอกว่า พฤติกรรมของผู้เล่นมีค่าเท่าไหร่ คนออกแบบเกมให้ค่ากับพฤติกรรมนั้นแค่ไหน

นั่นคือ Point จะทำให้พฤติกรรมของผู้เล่นจับต้องได้ครับ

เราอยากให้ผู้เล่นทำอะไร ก็ให้ Point กับสิ่งนั้น อยากเน้นมากก็ให้ Point มาก ไม่อยากให้ทำก็ไม่ให้ Point หรือ กระทั่งลบ Point ไปเลยก็ได้ เช่น กำลังทำโปรแกรมเรียน online แล้วเรามองว่าชั่วโมงการนั่งเรียนสำคัญ เราก็อาจะให้ Point ทุก กี่ชม.ที่ได้นั่งเรียนไป หรือ หรือให้ Point เวลาทำข้อสอบผ่าน


Badge (เหรียญตรา)

ถ้านึกไม่ออก ลองนึกถึงเหรียญตราติดเสื้อลูกเสือ/เนตรนารี ก็ได้ครับ ที่เวลาเราทำภารกิจสำคัญบางอย่างสำเร็จ เราก็จะได้ Badge มา

หน้าที่ของ Badge คือ การเน้นย้ำผู้เล่นว่าพฤติกรรมอะไรสำคัญ

Badge จะต่างจาก Point ตรงที่ Badge จะได้เมื่อผู้เล่นได้ Achieve อะไรบางอย่างที่สำคัญ และ การได้ Badge นี่สนุกนะ จูงใจได้ดีเลย เพราะมันช่วย feedback ถึงการประสบความสำเร็จ เอาไว้อวดคนอื่นได้ด้วย ว่าเราทำอะไรได้ถึงไหนแล้ว

อย่างเช่น App ออกกำลังกาย ถ้าคุณวิ่งได้ครบ 10 กิโล ก็จะได้ Badge นึง แต่ถ้าวิ่งสะสมครบ 42.195 กิโลก็อาจได้ Badge ชื่อ Marathon ทำให้บางคนอาจลงทุนวิ่งต่ออีกหน่อยเพื่อให้ได้ Badge มาเก็บไว้อวดเพื่อนใน App


Leaderboard (ตารางอันดับ)

Leaderboard คือตารางอันดับ มีไว้เพื่อบอกว่า ผู้เล่นอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น

การจัดอันดับนี่หล่ะครับ กระตุ้นได้อย่างดีเลย เพราะการรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนมันจะช่วยให้ผู้เล่นเข้าใจภาพรวมของ

ผมรู้จักพี่คนนึง เป็นคนไม่ชอบออกกำลังกายแต่พอลง App วิ่งเท่านั้นหล่ะ วิ่งทุกเย็นเลย แกบอกว่า App มันมีจัดอันดับ แล้วแกอยู่ท้ายสุด แกว่ิ่งเพราะแค่ไม่อยากบ๊วย อายเค้า … แต่พอผ่านไปนานๆ พี่เค้าก็วิ่งได้เองทุกวันโดยไม่รู้ฝืนอีกต่อไป

แล้วถามว่าจะเอาอะไรมาจัดอันดับดี ก็ดูที่พฤติกรรมที่เราส่งเสริมครับ เราเน้นอะไรก็จัดอันดับสิ่งนั้น


PBL เป็นเทคนิคพื้นฐานนะครับ แต่จริงแล้วยังมีอย่างอื่นอีกเยอะมากกก ซึ่งบางแหล่งก็บอกว่า นอกจากนี้แล้วที่สำคัญๆก็มี Challenge กับ Progress Bar ซึ่งก็ไม่ผิดครับ เพราะจริงแล้วมัน support กัน

ปิดท้าย…. ถ้าจะจำง่ายๆก็ เทคนิคเกมมิิิฟิเคชั่น คือ การให้ Feedback ครับ Feedback เพื่อจูงใจให้อยากทำต่อ ด้วยหวังว่าต่อไปคนจะทำได้เองจนเป็นนิสัย และ สนุกกับสิ่งที่ทำ


FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86

Gamification คือ การคิดแบบ Game Designer

#Gamification ตอนที่14

อย่างที่ทุกท่านคงทราบกับอยู่แล้วว่าเกมมิฟิเคชั่น คือการเอาเทคนิค หรือ แนวคิดของเกม มาปรับใช้ในงานอื่นที่ไม่ใช่เกม

ซึ่งถ้าจะให้พูดอีกอย่าง เกมมิฟิเคชั่นก็คือการคิดแบบนักออกแบบเกม (Game Designer) นั่นเองครับ

แล้วการคิดแบบ Game Designer คืออะไร? แน่นอนมันเป็น mindset ไม่ใช่หมายความว่าคุณต้องเคยเป็นนักออกแบบเกม จริงๆ มากก่อน และ การคิดแบบนี้นักออกแบบเกม มันต่างจากการคิดของการเป็นนักเล่นเกม (Gamer)

จะว่าไปก็เหมือนๆกับ Design Thinking ครับ ที่เราไม่จำเป็นต้องเคยเป็นนักออกแบบ เราก็สามารถเอาแนวคิดไปปรับใช้ได้

แล้วมุมมองแบบนักออกแบบเกมคืออะไร มันก็มีหลักๆอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆคือ

  1. ทำอย่างไรให้คนอยากเล่นเกมของเรา? และ
  2. ทำอย่างไรให้คนเล่นเกมเราอย่างต่อเนื่อง?

อันนี้ก็เป็นเหมือนกันทั้งการออกแบบเกมต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่บอร์ดเกม

นั่นคือ พอเราจะเริ่มลองคิดแบบนักออกแบบเกม สิ่งแรกที่เราจะต้องคิดคือ มองคนที่เข้าร่วมกิจกรรมของเรา เป็น “Player” คิดว่าคนที่มาเข้าร่วมเป็นผู้เล่นเกม ที่เราบังคับไม่ได้ แต่เราต้องจูงใจให้เค้าอยากมาเล่น และ ทำให้เค้าอยากเล่นอย่างต่อเนื่อง

เราก็ต้องให้ Autonomy กับผู้เล่น ให้อิสระให้การเลือก ในการทำ ไม่ใช่บังคับให้เข้าร่วม รวมถึงเน้นที่การกระตุ้นจูงใจต่างๆ

อยากให้เน้นตรงนี้ครับ มองผู้เค้ารวมเป็น Player ที่เราไม่สามารถไปบังคับได้ แต่ต้องจูงใจและทำให้เค้าสนุกไปกับเรา ถ้าเข้าใจหลักการตรงนี้ได้ การเข้าใจ Gamification ก็ไม่ยากละครับ

เดี๋ยวต้องหน้าๆจะมาลงรายละเอียดของเทคนิคเกมมิฟิเคชั่นกันละนะ เขียนปูมาหลายตอนไม่ได้เริ่มซักที


FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86

Action Loop ในการออกแบบ Gamification

#Gamification ตอนที่13

เวลาเล่นเกม เคยสังเกตกันมั้ยครับว่า จริงๆแล้วเราทำ Action ซ้ำๆ วนไปเป็นรอบๆไม่รู้จบ

ตัวอย่างง่ายๆคือเกม Pac Man ที่แต่ละด่านเราจะต้องไล่กินจุด วิ่งหนีผี แต่ถ้ากินจุดอันใหญ่ๆได้ เราจะได้เป็นฝ่ายไล่กินผี และ ผีจะหนีเรา เล่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะกินเม็ดเล็กๆหมด หรือเราโดนผีกินจนตายหมดทุกชีวิต

เป็นแบบนี้ทุกเกมครับ ทุกเกมมี Action ที่เป็น Loop หมด ซึ่งเค้าเรียกกว่า Core Gameplay Loop ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกม หรือบอร์ดเกม ซึ่ง Loop นี้เมื่อได้เล่นซ้ำๆ เกมก็จะเพิ่มความท้าทาย ซับซ้อนขึ้น แต่ Core Gameplay Loop ก็ยังเหมือนเดิม

ถามว่า Core Gameplay Loop นี้สำคัญอย่างไรในการออกแบบเกม?

ความสำคัญเพราะ นอกจากไว้ออกแบบผู้เล่นต้องทำอะไรบ้างแล้ว ยังไว้ช่วยให้นักออกแบบได้ประเมินว่า Action ตรงไหนของเกมที่ยังไม่สนุก จะได้หาทางปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือก เพิ่มการตัดสินใจ ใส่ Reward ลงไป หรือกระทั่งตัดออกไปเลยถ้าไม่เวิร์ค

ตัวอย่างเช่น เกมยิงปืนซอมบี้ ที่อาจจะมี Core Gameplay Loop เป็นว่า “เดินไปหาซอมบี้ –> ล๊อกเป้า –> ยิง” แล้วเราก็เดินไปหาซอมบี้ตัวใหม่แล้วยิงต่อ วนเป็น Loop ไปเรื่อยๆจนจบด่าน

โอเคแบบนี้อาจจะยังไม่ค่อยสนุก เราก็เพิ่มว่า เจอซอมบี้หลายตัว ต้องเลือกว่าจะยิงตัวไหนก่อนหลัง ซอมบี้เดินเซไปเซมาทำให้เล็งยาก หรือให้มีคนธรรดาวิ่งผ่านจอ เราห้ามยิง และ Loop หลังๆก็ทำให้ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

แล้วเกมมิฟิเคชั่นหล่ะ?

อย่างที่ทุกท่านทราบ เกมมิฟิเคชั่นคือ การใช้เทคนิคของเกมในการกระตุ้นจูงใจให้คนทำพฤติกรรมบางอย่าง

ดังนั้นเราต้องแตกกิจกรรมของเราให้ออกมาเป็น Action Loop เช่นเดียวกันครับ เพื่อประเมินดูว่าผู้เล่นต้องทำอะไรบ้าง ต้องตัดสินใจอะไรบ้าง ตรงไหนน่าเบื่อ ขั้นตอนไหนส่งผลต่อพฤติกรรมที่เราต้องการ

แล้วเราก็ใส่ Gamification ลงไปในจุดนั้นๆ เพื่อกระตุ้นจูงใจให้คนได้ทำ จนบรรลุเป้าหมาย

ยกตัว App ซื้อของออนไลน์ ที่ Action แรกสุดใน Action Loop นั้น คือ คนจิ้มเข้ามาใน App … ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะมี App อื่นเยอะแยะไปหมด ทำอย่างไรดีคนถึงจะเลือกจิ้มเข้ามาใน App เรา เราก็ต้องเลือกใส่ Gamification ลงไปทันทีหลังจากคนจิ้มเข้ามา

เช่น Login Bonus (ให้แต้มไปเลย สำหรับการเข้ามาครั้งแรกของวัน) หรือ จะมีวงล้อให้ปั่นเพื่อลุ้นว่าวันนี้จะรางวัลอะไร เป็นต้น

สรุปคือ เกมมิฟิเคชั่นคือการกระตุ้นจูงใจพฤติกรรม การทำ Action Loop จะทำให้รู้ได้ว่า ควรใส่เกมมิฟิเคชั่นลงไปในจุดไหน และ เมื่อไหร่ ครับ

เกมมิฟิเคชั่นไม่ใช่แค่การใส่เกมลงไปในกิจกรรมของเรา การใส่ผิดที่ผิดทางก็ไม่เกิดประโยชน์ครับ

FB: https://m.facebook.com/TrangCatan

YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbA

Blockdit: https://www.blockdit.com/pages/600d1f1c393e750cdef0bc86

3 ปัจจัยที่ทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ

#Gamification ตอนที่12

ไปเจอคลิป YouTube มาอันนึงครับ น่าสนใจดีเกี่ยวกับการวิจัยเรื่อง Gamification คือได้มีนักวิจัย พยายามศึกษาว่า การใช้ Gamification เมื่อเทียบกับวิธีปรกติ นี่จะให้ผลต่างกันมั้ย

ผลคือจากงานวิจัยหลายสิบชิ้นพบว่า มีทั้งที่ช่วยให้ได้ผลดีขึ้น แต่ก็มีบางงานวิจัยบอกว่ากลางๆไม่ช่วย และ บางงานบอกให้ผลแย่ลง

นั้นทำให้นักวิจัยได้กลับมาทบทวน ว่าจริงๆแล้วอาจจะตั้งคำถามผิด เลยตั้งคำถามใหม่ว่า

“อะไรคือปัจจัยที่ช่วยทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ”

ซึ่งเขาได้พบว่ามี 3 ข้อ … ดังนี้

1) System Quality – ระบบต้องทำออกมาให้เสถียร ดึงดูดและเหมาะสมกับคนเล่น เช่น ถ้าผู้เล่นเป็นวิศวกร ระบบมันก็ต้องแตกต่างจาก ระบบที่มีผู้เล่นเป็นศิลปิน

2) Learner Attributes – คือ ผู้เล่นหรือนักเรียนคนไหนมีประสบการณ์การเล่นเกมมาก่อนหรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็จะทำให้ Gamification มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ

3) Embedding Gamification into the right outcome – นั่นคือการเลือกใช้เทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แต้ม หรือ progress ลงไปในจุดที่เหมาะสม ที่จะกระตุ้นจูงใจให้ผู้เล่น/ผู้เรียน เกิดพฤติกรรม เกิด outcome ที่ต้องการ

ก็จะเห็นได้ว่า 2 ข้อแรกเกี่ยวกับคนเล่น และ ข้อ3 คือ outcome

ข้อ 3 นี่สำคัญมากนะ เพราะ Gamification จริงๆก็คือการใส่เทคนิคของเกมลงไป เพื่อจูงใจกระตุ้น ให้คนทำพฤติกรรม … ถ้าใส่ผิดที่มันก็ไม่เกิดผล

Book Review: Free to Focus

Free to Focus

หนังสีอดี เนื้อหาว่าด้วยแนวคิดในการจัดการเวลา หนังสือบอกว่า ทุกวันนี้เราคงทราบกันดีว่า มีข้อมูลมากหมายไหลเข้ามาในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็น ข่าวสาร อีเมล์ หรือ สื่อ Social Media ต่างๆ ซึ่งทำให้เรา Distract ได้ง่าย

นอกจากนี้เวลายังมีสิ่งมีค่า เพราะมีจำกัด หนังสือใช้คำว่า Zero Sum เพราะว่าเวลาที่เราเลือกทำอย่างนึงไป ก็เท่ากับว่าเราไม่ได้ทำอีกอย่าง

ดังนั้นเราต้อง Focus

แต่การจะ Focus ได้เราต้องเลือกก่อน เราต้องจัดลำดับความสำคัญว่าอะไรที่เราจะเน้น หนังสือใช้คำดีคำนึงคือ ถ้าเราให้ความสำคัญกับทุกอย่าง หรือหลายสิ่งเกินไป แปลว่าเรากำลังไม่ได้ความสำคัญกับอะไรเลย

“Productivity is not about getting more thing done; it is about getting the right thing done.”

นั่นคือคำถามแรกที่ควรถามตัวเองไม่ใช่ว่า จะทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ควรเป็น เราจำเป็นต้องสิ่งนี้หรือเปล่า

หนังสือได้แนะแนวทางมาเป็น 3 ขั้นตอนคือ

1 Stop

คือขั้นตอนของการเลือกว่าเราจะให้ความสำคัญกับอะไร

โดยหนังสือได้ให้สิ่งที่เรียกว่า Freedom Campass ซึ่งคือ เราควร หาว่าอะไรคือสิ่งที่เรามีทั้งความสามารถ (Proficiency) และ มีความชอบ (Passion) สิ่งนั้นคือดาวเหนือ คือทิศทางที่เราควรไป คือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ ซึ่งในที่ระหว่างที่เรายังไปไม่ถึงเราก็ควรลิสสิ่งที่ควรจะทำนั้นขึ้นมา แล้วค่อยๆเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น

แต่ว่าร่างกายและสมองก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ เราควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับการออกกำลังกายด้วย

2 Cut

คือการเริ่มค่อยๆตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นกับชีวิตออกไป ขั้นตอนนี้ยาก เพราะว่าเราต้องหัด Say No

โดยหนังสือได้แนะวิธีการ Say No ไว้ว่า มันมีเทคนิคคือ Yes-No-Yes รายละเอียดคร่าวๆคือ ให้เร่ิมจาก 1)YES คือให้บอกว่า ขอบคุณที่คิดถึงเรา ชมเค้า พูดให้คนฟังรู้สึกว่า เรายินดีกับงานกับสิ่งที่เค้าทำ 2) NO ให้ปฏิเสธไปว่า เรามีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่า แล้วค่อยบอกเหตุผลไปว่ายังไง 3)YES คือการเสนอทางออกอื่นให้กับคนที่มาหา เช่น บอกว่าอีกคนอาจช่วยได้ หรือ เสนอทางออกอื่นให้เค้า

ง่ายๆคือ ปฏิเสธแบบหาทางออกให้คนที่มานั่นเอง

หนังสือยังบอกอีกว่า บางงานมันก็ตัดไม่ได้ เราก็ต้องหาวิธีทำให้มันง่าย เช่น ทำกิจกรรมให้เป็น Routine หาวิธี Automate หรือ Deligate ให้คนอื่น

3 Act

มาสู่ขั้นตอนการทำละ เค้าก็บอกว่าให้ทำเป็นเป็นพวก Weekly Review ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำในสัปดาห์นี้ แต่ละวันก็จัดอันดับว่า 3ส่ิงสำคัญที่ต้องทำในวันนี้คืออะไร

เท่าที่อ่านดูในส่วนนี้หนังสือจะเขียนพวกเทคนิคเล็กๆน้อยๆต่างๆให้ทำงานได้ซึ่งอ่านแล้วก็พบว่าทั่วๆไป ไม่ต่างจากเล่มอื่นนัก

สรุป ก็เป็นหนังสือดีอ่านได้ แต่ส่วนตัวแล้วถ้าใครอยากอ่านหนังสือแนวจัดการเวลา จัด Focus ให้ตัวเอง แนะนำเล่มอื่น เช่น One Thing, Eat That Frog หรือ GTD ผมว่าสองเล่มนี้เขียนดีกว่า แต่ว่าช่วงแรกๆเรื่องหลักคิด มุมมอง เล่มนี้เขียนได้โอเคมากๆเลย

Anchor: https://anchor.fm/trang-s/episodes/Beyond-Book-EP5-Free-to-Focus-epc8da

Book review: Corporate Confidential

Corporate Confidential

หนังสือว่าด้วยความลับที่องค์กรไม่อยากจะบอกคุณ และ คุณจะรับมืออย่างไร ซึ่งเนื้อหาจะแบ่งได้ประมาณ 3 ส่วนคือ ว่าด้วย HR ว่าจริงแล้ว HR ช่วยงานตรงไหนในองค์กร ถัดมาคือการทำงานกับทีม ซึ่งหนังสือจะเน้นการทำงานกับเจ้านายมากเป็นพิเศษ และ ส่วนสุดท้ายคือ เรื่องทั่วไป

คือหนังสือเขียนโดย อดีตผู้บริหารด้าน HR ขององค์กรแห่งหนึ่ง ซึ่งเค้าก็ได้เล่าความจริงของการทำงานต่างๆให้เราฟัง เช่นว่า จริงแล้วหน้าที่หลักของ HR คือ ปกป้องบริษัทจากพนักงาน

อ่านแล้วก็สะอึกและอึ้งในหลายๆส่วนเหมือนกัน

เหมือนว่า ได้เห็นความจริงบางอย่างออกมาตีแผ่ เช่นความลับไม่มีในโลก ดังนั้นเราไม่ควรเล่าความลับ หรือ ปัญหาส่วนตัวให้คนอื่นฟังโดยเฉพาะ HR หรือว่า เวลาทำงานกันในทีม แม้ว่าไอเดียของเราจะดีเลิศ คิดขึ้นเอง ก็ต้องเตรียมใจที่เจ้านายเราจะได้ Credit ด้วย

หนังสือไม่สอนให้เรามองในแง่ร้าย แต่เค้าบอกว่า นี่มันสัจธรรมของชีวิต โลกมันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น

ก็อ่านแล้วสนุกดี ได้ตอบคำถามในชีวิตบางคำถาม ก็อ่านได้เรื่อยๆครับ หนังไม่ได้ดีไม่ได้แย่มาก แต่เนื้อหามันแบบ จริงใจมาก ไม่มีกั๊กเลย ก็เหมาะสำหรับคนที่กำลังเริ่มงาน หรือ กำลังทำงานอยู่แล้วอยากจะปรับตัวให้เข้ากับองค์กร

ย้ำอีกที หนังสือได้ตีแผ่บางเรื่องที่เราคิดไม่ถึง หนังสือไม่ได้สอนให้มองในแง่ร้าย หรือ ศิโรราบ แต่สอนให้เห็นตามจริง เพื่อเราจะได้ปฏิบัติอย่างเหมาะสม

ปล. ตอนนี้ก็ปรับไมค์ใหม่ละ เสียงใน padcast น่าจะดีขึ้น พี่น้องมีคอมเมนท์ว่าไงกันบ้างครับ

Anchor: https://anchor.fm/trang-s/episodes/Beyond-Book-EP4-Corporate-Confidential-epb0m6