เกม Root กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหลังจากที่กำลังจะได้มีการแปลไทยโดย The Stronghold SIAM : Gateway to Board Games ซึ่งเกมนี้ผมชอบเป็นพิเศษตรงธีม ที่สะกัดเอาแก่นของเรื่องราวบางอย่างมาเล่าได้อย่างกำลังดี ไม่รู้สึกยัดเยียด คือจะเล่นเอาสนุก หรือ เอาธีมมาคุยถกเถียงกันต่อก็ได้ สำหรับท่านที่ยังไม่ค่อยรู้จักเกมนี้ ธีมหลักๆของเกมก็ ว่าด้วยสงครามแย่งชิงดินแดนของหมู่สัตว์ ที่มีแมวเป็นผู้ปกครองคนปัจจุบัน นกซึ่งเป็นราชวงศ์เก่าพยายามจะยึดอำนาจคืน มีสัตว์ป่าชาวบ้าน และ มีภาคเสริมที่เพิ่มกิ่งก่าเจ้าลัทธิ หรือ ตัวนากพ่อค้า . พอเกมนี้จะได้แปลไทย ก็มีน้องๆบางคนมาชวนคุยเกี่ยวกับเกมนี้ ในธีมการเมือง ซึ่งมันเข้ากับบ้านเราพอดี ก็ทำให้ผมหยุดคิดถึงมันไม่ได้ และ คิดว่า ถ้าใครอยากจะศึกษาต่อ ควรอ่านหนังสืออะไรดี ในมุมมองของผมนะครับ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรีย์คงไม่มีเล่มไหนเหมาะเท่าเล่มนี้แล้วในยุคนี้ สำหรับการต่อสู้กันของขั้วอำนาจ สิ่งเดียวที่แตกต่างกันของ หนังสือเล่มนี้ต่างจากเกม Root ตรงที่ Root นั้นมีบทบาทของประชาชน Animal Farmเมื่อเหล่าสัตว์ยึดฟาร์มจากมนุษย์และปกครองตัวเอง หนังสือบางๆแต่ทำให้เห็นภาพการฉ้อฉล และ วิธีการควบคุมประชาชนของท่านผู้ทำ 1984ว่าด้วยสังคมที่ถูกปกครองด้วยความหวาดกลัว เพราะรู้สึกว่าถูกจับตามองตลอดเวลาจนไม่กล้าทำอะไรContinue reading “5 หนังสือน่าอ่านประกอบการเล่นเกม Root”
Category Archives: Article
Princes of Florence
Princes of Florence อีกหนึ่งใน เกม Classic Euro Board Game ที่ดีย์ และ อยากให้ลองเล่นกันครับจำได้ว่าตอนที่ผมได้ฟังกฏครั้งแรก ก็รู้สึกว้าวเลย และ พอได้เล่นก็ยิ่งชอบ เกมนี้เป็นไม่กี่เกมที่ ผมยังบรรยากาศครั้งแรกที่เล่นได้อยู่เลย แบบว่ามันถูกจริตมาก . ธีมเกม เราเป็นเจ้าชายแห่งเมือง Florence ครับ เมืองแห่งศิลปะวิทยาการ เป้าหมายของเราคือ สร้างเมืองของเราให้สวยงามที่สุด และ โดนใจ ศิลปิน/ผู้รู้ต่างๆให้มาอยู่เมืองเรา เพื่อรังสรรค์ผลงานอันยิ่งใหญ่ โดยที่ยิ่งมีคนมาอยู่เยอะเราก็จะยิ่งได้แต้มเยอะ . กติกาคร่าวๆ เกมเล่น 7 รอบจบ แต่ละรอบมี 2 Phase เริ่มต้นมาแต่ละคนจะมีการ์ด Profession ที่จะเป็นศิลปิน นักปราชญ์ ที่เราต้องเชิญมาอยู่ในเมือง Phase ประมูล ง่ายๆ ตรงตัว ก็แข่งกันประมูลของ มีของ 7 อย่าง เช่น สระน้ำ แต่ละอย่างจะมีคนได้แค่คนเดียวContinue reading “Princes of Florence”
To-date Thinking vs To-go Thinking
To-date Thinking คือการคิดที่มองว่า เราได้ทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้างจนถึงปัจจุบัน เช่น ตอนนี้ทำโปรเจคไปแล้ว 40%To-go Thinking คือการคิดว่า เหลืออีกเท่าไหร่ถึงจะบรรลุเป้าหมาย เช่น ตอนนี้เหลืออีก 60% กว่าจะเสร็จโปรเจค งานวิจัยบอกว่า มุมมองแบบ To-go Thinking จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้ดีกว่า เพราะการคิดแบบแรกมันจะให้ความรู้สึกว่า เราประสบความสำเร็จบางส่วนแล้วเช่น ได้มีการทดลองว่า บอกนักศึกษาว่า เรียนจบไปแล้ว 48% กับ เหลือให้เรียนอีก 52% พบว่าแบบหลังนักศึกษาจะมีแรงจูงใจให้เรียนจนจบมากกว่า คือเค้าอธิบายว่า พอเรารู้สึกว่าได้สำเร็จอะไรบางอย่างมาระดับนึงแล้ว เราก็จะ balance ตัวเองด้วยการไปทำงานอื่นที่รู้สึกว่ายังไม่สำเร็จสุดท้ายก็อาจจะทำให้ไม่เสร็จอะไรซักอย่าง . ถ้าจะออกแบบเกม ก็แนะนำว่า ลองเปลี่ยนมุมมองไปบอกผู้เล่นว่าเหลืออีกเท่าไหร่ที่เค้าต้องทำ มันจะจูงใจกว่า บอกว่าเค้าสำเร็จมาแล้วเท่าไหร่น่าสนใจมาก. To-date Thinking มันดีตรงที่จะช่วยให้อุ่นใจ ให้สบายใจว่า ทุกวันนี้เราดีแล้ว [Being Good]แต่ To-go Thinking จะช่วยให้เราเดินต่อพัฒนาไปข้างหน้า [Getting Better] การคิดแบบ To-date ThinkingContinue reading “To-date Thinking vs To-go Thinking”
ย่อเพื่อกระโดด
วันก่อนเพิ่งค้นพบว่า ผมมีนิสัยอย่างนึงเวลาเล่นบอร์ดเกม คือ ยอมขาดทุน ยอมเสียเปรียบ ถ้าเราได้ Move ไปข้างหน้า หรือ ได้ยืนบน Position สำคัญบางอย่าง เช่น ในคาทาน ผมมักจะยอมเทรดขาดทุน เพื่อได้สร้างบ้าน ในจุดที่ตัวเองต้องการ คือแบบมีคนทักบ่อยว่าแลกเยอะๆแบบนี้จะคุ้มหรอ เพื่อบ้านหลังเดียว ฟังดูก็เป็นกลยุทธ์การเล่นเกมแบบมาตราฐานอ่ะนะ แต่นี้เป็นท่าหลักของผมเลย ใช้แทบทุกเกมที่ทำได้ เล่าทำไม คือเพิ่งมาสังเกตว่าผมใช้ท่านี้ในชีวิตจริงบ่อยมาก ถ้าเห็นว่าอะไรดี อะไรควรเอา ควรทำ ก็ยอมขาดทุนหรือลำบากเพื่อได้มา มีหลายคนทัก เช่น มันคุ้มหรอ ไม่เสียดายสิ่งที่ทำมาหรอ แต่ส่วนตัวรู้สึกว่า ถ้าไม่ยอมย่อ แล้วจะกระโดไปข้างหน้าได้ยังไง ที่น่าสนใจคือ ในชีวิตจริงมันตัดใจยากไง ว่าสิ่งที่ต้องเสียไปมันจะคุ้มมั้ย ชีวิตจริงเราไม่รู้อนาคตข้างหน้า เราคงต้องเชื่อมั่นใน Vision ของตัวเองว่าจุดที่กำลังไปมันสำคัญ มันคุ้มค่าเทรด ก็แปลกดีนะ ที่การเล่นเกมทำให้เข้าใจตัวเองได้มากขึ้น เลยอยากเล่าให้ฟัง เพราะตัวเองรู้สึก enlighten มาก เพื่อนๆมีท่าในเกม ที่ใช้ในชีวิตจริงบ้างมั้ยครับ 🙂 ……………………………………… FB: https://m.facebook.com/TrangCatan YouTube: https://youtube.com/channel/UCq2G7XyS9Q5dQXXrHPSLxbAContinue reading “ย่อเพื่อกระโดด”
“ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ”
สิ่งนึงของการได้ออกแบบบอร์ดเกม และ ได้ช่วยเทสเกมต่างๆ คือได้เรียนรู้ว่า “ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ” ประมาณว่า กฎทำออกมาแล้วมีปัญหานิดหน่อย ก็ใส่กฎเพิ่มไปเพื่อปิดช่องโหว่แต่ใส่ไปใส่มา กลายเป็นว่าเกมซับซ้อนวุ่นวายไปหมด ทำให้ผู้เล่นจะต้องจำกฎปลีกย่อยเพิ่มขึ้น และ ที่สำคัญการเพิ่มกฎ ก็เพิ่มโอกาสในการที่กฎมันจะขัดกัน มีปัญหาให้แก้เพิ่มเข้าไปอีก ทางออกแก้ที่ควรคือ ไปปรับกติกาตัวแรกให้เหมาะสม ไม่ขัดแย้ง พยายามทำให้ Simple ที่สุด ถ้าสับสนก็นึกย้อนว่าเราต้องการอะไรกันแน่ … มันคิดยากนะ แต่จบ . ตัวอย่างที่ดีของความผิดพลาด ที่การพยายามแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ คือ ระบบสอบเข้ามหาลัยของไทย ตอนแรกกลัวเด็กเครียด ก็เลยมีระบบใหม่สอบสองครั้ง เลือกคะแนนที่ดีที่สุดมายื่นสอบสองครั้ง แต่มหาลัยเปิดเวลาเดิม ทำให้ต้องสอบเร็วขึ้น กลายเป็นเด็กเรียนพิเศษหนักขึ้น ไม่ตั้งใจเรียนในห้อง ก็เลยเพิ่มระบบให้เอาเกรดระหว่างเรียนม.ปลายมาคิดด้วยซักพักก็มีปัญหาว่าแต่ละโรงเรียนมีมาตราฐานเกรดไม่เท่ากัน …. ก็จัดสอบวัดมาตรฐานโรงเรียนเพิ่ม (สอบเยอะขึ้น) ซักพักมหาลัยเริ่มไม่ชอบระบบสอบ เลยจัดสอบตรงเยอะขึ้นเด็กๆไล่สอบตรงตามมหาลัยต่างๆ (สอบเยอะขึ้น) และ เพิ่มปัญหาสอบตรงติดได้แล้วแต่ไม่เอา ทำให้บางคณะเด็กเข้าเรียนไม่พอ ก็เพิ่มกฏ ระบบ clearing house ต่างๆเข้ามา … และอื่นๆอีกมากมายที่ตามมา เล่าไม่ไหว จนถึงทุกวันนี้Continue reading ““ไม่ควรแก้กฎด้วยการเพิ่มกฎ””
Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse
#Gamification ตอนที่16 ช่วงนี้มีแอฟใหม่กำลังดัง คือ Clubhouse ที่ทุกท่านคงรู้จักกันดีแล้ว ที่นี้พอผมได้เล่นแล้วก็พบว่าสนุกกว่าที่คิด แต่ว่า สิ่งนึงที่ผมรู้สึกว่า Clubhouse ทำออกมาได้ดีมากคือ การสร้างความรู้สึก “อยาก” เล่น ไม่ว่าทำให้คนที่ไม่เคยเล่นได้อยากเล่น หรือ ทำให้รู้สึกอยากกลับเข้ามาเล่นซ้ำอีก ก็พบว่ามันมีหลักการของ Gamification ซ่อนอยู่ ซึ่งตัวเด่นๆที่พบเห็นก็ตามนี้ครับ Access & Power ขอเท้าความก่อน ว่าการให้รางวัลในเกมนั้นจริงแล้วไม่มีแต่การให้สิ่งของ แต่ว่าจริงแล้วมีถึง 4 รูปแบบ เรียกว่า SAPS ย่อมาจาก Status (สถานะ), Access (การเข้าถึง), Power (อำนาจ) and Stuff (สิ่งของ) ซึ่ง SAPS นี้บางคนก็เรียกว่า framework of motivators ที่เป็น 4 สิ่งหลักที่จูงใจคนได้ สิ่งนี้แปลว่าอะไร แปลแบบง่ายๆได้ว่า จริงแล้วคนเราไม่ได้อยากได้สิ่งของเสมอไป การได้เข้าถึง (Access)Continue reading “Gamification ที่ซ่อนใน Clubhouse”
Your Strategy Needs a Strategy
ช่วงนี้ผมกำลังศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาบุคคลากรเพื่อให้เป็นนักกลยุทธ์ (Strategist) คือผมมองว่ามันไม่ได้มีเพียงแค่การ แบ่งงานให้ทำ จัดการเรียนรู้ให้เป็นขั้นตอน แล้วก็วางแผนการฝึกอบรม แต่ผมมองว่าการเป็น Strategist มันต้องเน้นเรื่องแนวคิด มุมมอง ด้วย ฝรั่งเค้ามีการบอกไว้ว่า Strategic Thinking ต่างจาก Strategic Planningโดยเค้าบอกว่า Strategic Thinking จะเน้นที่การ connecting the dot (Synthesis) มากกว่าการ Finding the dot (Analysis) ที่เป็นงานด้าน Strategic Planning แต่การพัฒนา Strategist นี่มันก็ยาก ตรงที่มีหลายสูตรมากการจะเลือกมาซักสูตร ซักแนวทาง มันก็วิเคราะห์ ค่อยๆเลือกเพื่อที่จะอธิบายได้ว่า ทำไมเราเอาแนวทางนี้ … งานนี้ผมก็เลยยังทำไม่เสร็จซักที หาไปหามาก็เจอเกมสอน Strategy พบว่าน่าสนใจดี เลยเอามาเล่าให้ฟังกันคืองี้ เป็นเกมของ BCG บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ชื่อเกมว่า Your Strategy Needs a StrategyContinue reading “Your Strategy Needs a Strategy”
The Raise of Board Games
ไปเจอกราฟน่าสนใจ เลยเอามาเล่าให้ฟัง คือมีคนไปทำกราฟ จำนวนของบอร์ดเกมที่ผลิตขายต่อปีออกมาสรุปจากกราฟ เราจะเห็นว่า บอร์ดเกมเริ่มค่อยๆโตขึ้นตั้งแต่ปี 1950 จนกระทั่ง 1978 ได้มีการประกาศรางวัล Spiel des Jahres จำนวนบอร์ดเกมที่ผลิตต่อปีก็โตเร็วขึ้น จนมีจำนวนเพิ่ม 2 เท่าใน 10 ปี ต่อมาปี 1995 คาทานก็เกิดขึ้นมา ซึ่งเป็น 1 ในเกมที่ทำให้ Eurogame ได้แพร่หลายเป็นหนึ่งใน Hobby ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งหลังจากตอนนี้กราฟพุ่งหัวตั้งมาก จนถึงทุกวันนี้ กราฟก็ยังพุ่งไม่หยุด ตลาดบอร์ดเกมน่าจะยังไปได้อีกไกลมากกกกกก บ้านเราก็น่าจะมีศักยภาพไปได้อีกไกลเหมือนกัน ตอนนี้ก็มีหลายคนพยายามเอาบอร์ดเกมไปปรับใช้ในกิจกรรมที่หลากหลาย และ บอร์ดเกมก็เป็นที่ยอมรับมากขึ้น จำได้ว่าแต่ก่อนไม่มีใครรู้จักบอร์ดเกมเลย แต่ตอนนี้ก็มีคนรู้จักเยอะขึ้นมาก .. ตลาดยังโตได้อีก ค่อยๆเดินไปด้วยกันนะครับ อ่านเต็มๆได้ที่ลิ้งนี้ครับ https://medium.com/@Juliev/the-rise-of-board-games-a7074525a3ec
เรียนออกแบบบอร์ดเกมฟรี บน YouTube
คลาสฟรี สอนออกแบบ Euro Game ครับ มีหลายตอน เรียนกันจริงจังเลยเป็นคลาสสอนออกแบบบอร์ดเกม สำหรับนักศึกษา ออกแบบ video เกม ในคลิปหลังๆ มีวิเคราะห์เกม เช่น Puerto Rico และ ตอนท้าย สอนไปถึงการออกแบบ war game ท่านใดสนใจก็ไปนั่งเรียนได้ … คลาสจริงจังเลยผมนั่งฟังแล้วชอบนะ อ.แกดูเก๋าดี 55
เทคนิคเกม Ticket to Ride (USA)
ผมเคยทำการวิเคราะห์ Map ของเกม Ticket to Ride map USA ไว้ เลยลองบันทึกเก็บไว้ เผื่อท่านใดสนใจครับ